9 ธ.ค. 2022 เวลา 02:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
✅Morning Update 09.12.2022
Asia
1.ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียโดยรวมปรับตัวผสมผสาน โดยยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยที่ส่งต่อ sentiment มาจากตลาดหุ้นสหรัฐในคืนวันก่อนหน้า แต่บางตลาด เช่น ฮ่องกง และ จีน กลับมาบวกได้หลังมีความคืบหน้าในการผ่อนคลายนโยบาย zero-covid ให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลง โดยลดช่วงลบขึ้นมาหลังจากปรับตัวลงไปในช่วงเช้าจากตัวเลข GDP ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2565 โดยหดตัวลงเพียง -0.8% จากที่คาดไว้ -1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดย Topix ปิดที่ 1,941.50 จุด (-0.35%)
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดลบเป็นวันที่ 5 เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ในขณะที่เงินวอนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดย Kospi ปิดที่ 2,371.08 จุด (-0.49%)
ตลาดหุ้นจีน และฮ่องกงปรับตัวขึ้น จากข่าวรัฐบาลฮ่องกงประกาศในวันที่ 8 ธ.ค. ว่า จะปรับลดระยะเวลาการกักตัวผู้ป่วยโควิด-19 และผู้สัมผัสใกล้ชิด จาก 7 วัน เป็น 5 วัน รวมถึงข้อบังคับสำหรับผู้เดินทางเข้าฮ่องกงที่ต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธีการตรวจแบบเร่งด่วนติดต่อกันทุกวัน ก็ปรับลดลงจาก 7 วันเป็น 5 วัน โดยดัชนีปิดตลาดดังนี้ CSI300 3,959.18 (+0.02%) / HSCEI 6,666.77 (+3.63%) / และ HSI 19,450.23 (+3.38%)
ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างซึมตัว โดยมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และเป็นการชะลอลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวอีกครั้ง โดย SET index ปิดที่ 1,620.49 จุด (-0.11%)
ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นจากแรงซื้อเก็งกำไร การกลับตัวของดัชนีส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องจากการร่วงลงอย่างรุนแรงเมื่อสองวันที่ผ่านมา กระตุ้นให้นักลงทุนบางส่วนเพิ่มสัดส่วนหุ้นในพอร์ตการลงทุน โดย VNI index ปิดที่ 1,050.53 จุด (+0.91%)
Europe
2. ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน โดยถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ นักลงทุนยังชะลอการซื้อหุ้น เนื่องจากวิตกเกี่ยวกับการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางรายใหญ่ในสัปดาห์หน้า โดย STOXX 600 ปิดที่ 435.48 จุด (-0.17%)
US
3.ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนมองว่าการเพิ่มขึ้นของตัวเลขการว่างงานบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในสหรัฐเริ่มคลายความร้อนแรง อาจเป็นแรงหนุนให้เฟดผ่อนคันเร่งในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยดัชนีปิดตลาดดังนี้ Dow Jones; 33,781.48 (+183.56) จุด (+0.55%) / S&P 500; 3,963.51 (+29.59) จุด (+0.75%) / และ Nasdaq 100; 11,637.50 (+140.10) จุด (+1.22%)
4. หุ้นที่ Outperform ตลาด 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ หุ้นกลุ่ม Information Technology (+1.59%) หุ้นกลุ่มกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย +1.05%
และหุ้นกลุ่ม Health Care (+0.89%)
หุ้นที่ Underperform ตลาด 3 อันดับสูงสุด ได้แก่ หุ้นกลุ่มสื่อสาร (-0.50%) กลุ่มพลังงาน (-0.46%) และกลุ่มการเงิน (+0.15%)
5. กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 230,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. ขณะเดียวกัน จำนวนชาวอเมริกันที่ยังคงขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 62,000 ราย สู่ระดับ 1.67 ล้านราย
6. ธนาคารกลางชั้นนำของโลก 3 แห่งจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมในวันที่ 13-14 ธ.ค. ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะจัดการประชุมตรงกันในวันที่ 15 ธ.ค. นักวิเคราะห์และตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่า FED, ECB และ BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.50% ในการประชุมรอบนี้
7. CME Fedwatch ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พิจารณาความเห็นของนักลงทุนต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดบ่งชี้ว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ (75.8%) ยังคงมองว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50%
8.หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ปรับตัวขึ้น / หุ้น Innovation ปรับตัวขึ้น / หุ้น Semiconductor ปรับตัวขึ้น / ETF ด้าน Technology & Innovation ปรับตัวขึ้น / ADRs หรือหุ้นจีนและเอเชียที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น
9. S&P500 VIX Index ปรับตัวลง ปิดที่ 22.29 จุด / Nasdaq 100 VIX ปรับตัวลง ปิดที่ 27.59 จุด
10. Bond Yield หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.10 bps ปิดที่ 3.489%
11. ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 104.790 จุด / ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 34.705 บาทต่อดอลลาร์
12. ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 1,801.15 ดอลลาร์ต่อออนซ์ +3.30 $/oz. (+0.18%)
13. ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลดลง โดยล่าสุดอยู่ที่ 76.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (-0.03%) ด้าน WTI ปิดที่ 71.79 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (-0.31%)
14. ราคาบิทคอยน์ปรับตัวขึ้น โดยราคาล่าสุดของบิทคอยน์อยู่ที่ 17,225.6 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
ที่มาภาพ :
#LHBankAdvisory

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา