25 ม.ค. 2023 เวลา 00:00 • ไลฟ์สไตล์

เข้าใจความต่าง! ทำไม? คน Gen Z ถึงอยู่ร่วมกับคน Gen อื่นยาก

Generation Gap หรือ ช่องว่างระหว่างวัย คือ ความแตกต่างของความคิดเห็น ความเชื่อ ค่านิยมหรือทัศนคติระหว่างคนรุ่นหนึ่งกับอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ช่องว่างระหว่างคนหนุ่มสาวกับพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งและการสื่อสารที่ซับซ้อนจน
2
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการ ความคาดหวัง การวางแผน และการเตรียมตัวของประชากรวัยทำงาน ต่างรุ่นอายุ และรูปแบบการอยู่อาศัยต่อชีวิตในวัยสูงอายุ โดยการเก็บข้อมูลออนไลน์ในปี 2564 จากประชากร อายุ 18-59 ปี จำนวน 1,734 ราย พบว่าคนแต่ละช่วงวัยจะมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยคน Gen X (อายุ 42-59 ปี) ต้องการเกษียณสโลว์ไลฟ์ กับบั้นปลายที่มีอยู่ ขณะที่ Gen Y (อายุ 27-41 ปี ) อนาคตยังอีกไกล ขอไปเที่ยวก่อน และคน Gen Z ( อายุ 18-26 ปี) ชีวิตต้องใช้ ต้องไปให้สุด
2
ส่วนการทำงานในแต่ละกลุ่มนั้น 1ใน3 ของคนGen Z คิดจะหยุดทำงานก่อนอายุ 60 ปี การเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีอิสรภาพในการทำงานและการเงิน ส่วนคน Gen X เกินครึ่ง คิดทำงานหลังอายุ 60 ปี
ด้วยมุมมองการใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่ Gen Z ที่เติบโตมาในยุคเทคโนโลยีที่ทันสมัย เด็กในยุคนี้อาจจะจินตนาการไม่ออกเลยว่าโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตนั้นจะอยู่ได้อย่างไร แถมยังยกให้สมาร์ทโฟนเป็นอวัยวะของชาว Gen-Z จนถูกเรียกว่า Digital in their DNA
1
คนเจนนี้ติดโลกออนไลน์และรับข้อมูลข่าวสารมากมายอย่างรวดเร็ว ทันโลกและวิเคราะห์สถิติเรื่องต่างๆ เพื่อคาดการณ์อนาคตได้เร็ว ตัดสินใจทำอะไรอย่างรวดเร็ว ไม่ชอบรอคอย แต่ก็เป็นคนที่กลัวอนาคต จึงมักหาข้อมูลมาเปรียบเทียบและป้องกัน เช่น เรียนอะไรไม่ตกงาน อาชีพอะไรมั่นคง นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าจะเลือกงานที่เงินดีมากกว่าที่ชอบจริงๆ คน Gen-Z จะเปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น
5
ทำความรู้จัก Baby Boomer และ GenZ
จากการมองเห็นในโลกดิจิทัล จึงเปิดกว้างในการยอมรับความแตกต่าง มีแนวโน้มที่จะปรับทัศนคติได้ดี ไม่แบ่งแยกชนชั้น สีผิว ศาสนา หรือประเพณีที่แตกต่าง แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นมนุษย์หลายงาน เพราะความอดทนต่ำ ต้องการคำอธิบายมากขึ้น ต้องมีเหตุผล ต้องรู้สึกว่าได้เข้าใจกับทุกเรื่องในชีวิต
3
ส่วนการเรียนรู้ของคน Gen Z จะหาความรู้ได้ทุกที่ เกลียดการเรียนแบบบรรยาย ก็ชอบข้อมูลแนวกราฟ ภาพ สถิติชัดเจน เน้นข้อมูลสั้นๆ ที่เข้าใจง่ายๆ เพราะจดจำข้อมูลได้ดีจากข้อมูลสั้นๆ ตามแบบฉบับโลกออนไลน์
2
ขณะที่คนยุค Baby Boomer หรือ Gen B คือคนมีอายุประมาณ 60 ขึ้นไป ลักษณะนิสัยจะเป็นคนจริงจัง เคร่งครัดเรื่องขนมธรรมเนียนประเพณี เป็นเจ้าคนนายคน ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงาน มีความอดทนสูง ประหยัดอดออม ซึ่งมักถูกจัดเป็นพวก "อนุรักษนิยม" ลักษณะร่วมของคนเจนนี้คือ จริงจัง ทุ่มเทชีวิตให้งาน อดทน อดออม ชอบงานมั่นคง ภักดีต่อองค์กร และให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่พลเมือง ทำให้ความคิด ลักษณะการใช้ชีวิตแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัวมักเกิดกับผู้สูงอายุและลูกหลาน พ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง ด้วยคนในครอบครัวไม่มีเวลาให้กัน ไม่ยอมรับความเห็นของแต่ละฝ่าย ต่างคิดว่าตนเองถูก ไม่ปรึกษาพูดคุยกันเมื่อมีปัญหาจึงเป็นต้นเหตุของความห่างเหิน
3
ยิ่งครอบครัวไทยในปัจจุบันมีลักษณะเป็น “ครัวเรือนข้ามรุ่น” มากขึ้น โดยในบ้านมีเพียงคน 2 รุ่น คือ คนรุ่นปู่ย่าตายายกับคนรุ่นหลานอาศัยอยู่ด้วยกัน
แก้ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว
จากสถิติพบว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีครัวเรือนข้ามรุ่นถึงร้อยละ 15 อีกทั้งในอนาคตเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ จะมีจำนวนประชากรอายุมากกว่า 60 ปีจำนวนมากกว่าเด็ก ทำให้คนหนุ่มสาวจำเป็นต้องแบกรับหน้าที่ดูแล ทั้งหมดอาจเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ช่องว่างระหว่างวัยในบ้านกว้างขึ้นได้ ความเข้าใจกันของคนต่างรุ่นจึงมีความสำคัญ
สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว คือ
เข้าใจและยอมรับ : แม้จะอยู่ในครอบครัวเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันได้ ด้วยเติบโตมาในสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณตาคุณยาย หรือลูกหลาน ต้องเข้าใจและนับถือตัวตนกันและกัน ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางในทุกสถานการณ์ สมาชิกในบ้านแต่ละคนจึงควรเปิดใจยอมรับ และเคารพในความแตกต่าง
รับฟังความเห็น : การเป็นผู้ฟังที่ดีกว่าเดิมทำให้เป็นผู้ใหญ่น่าเคารพ และลูกหลานน่าเอ็นดู รวมทั้งให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาอย่างเป็นกลาง โดยไม่ลืมคิดถึงมุมมองของอีกฝ่ายอย่างเปิดใจด้วย ผู้สูงวัยที่ทำตัวสมวัย ไม่ทำตัวเป็นศูนย์กลาง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง สามารถเป็นต้นแบบให้ลูกหลาน ทำให้ลูกหลานอยากเข้าหา พูดคุย ปรึกษาได้ และเกิดเป็นปฏิสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
เปิดประตูโลกส่วนตัว : การมีโลกส่วนตัวสูงยิ่งทำให้มีการเว้นระยะห่างจากกันขึ้นเรื่อย ๆ สมาชิกในครอบครัวจึงควรแบ่งปันโลกของตัวเองให้อีกฝ่ายได้รับรู้และเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ลูกหลานชวนคุณตาคุณยายมาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือพ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กในบ้านเข้าวัดทำบุญร่วมกัน
6
กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ : การสร้างหรือทำกิจกรรมร่วมกันสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ ทำให้สามารถพูดคุยในเรื่องเดียวกันได้ การใช้เวลาร่วมกันช่วยให้ได้เรียนรู้ตัวตนกันและกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องการถมช่องว่างระหว่างวัยในบ้านเป็นหน้าที่ของคนทุกวัยในครอบครัวที่ต้องช่วยกัน
2
โฆษณา