17 ธ.ค. 2022 เวลา 08:53 • คริปโทเคอร์เรนซี
เกิดอะไรขึ้นในโลก…ทำไมบิตคอยน์จึงต้องมีตัวตนถือกำเนิดขึ้นมา?
[ตอนที่ 1 : Basic Bitcoin the series]
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2007 - 2009 เป็นช่วงวิกฤต Subprime ที่เล่นงานเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา สถาบันการเงินปล่อยกู้สินเชื่อสำหรับซื้อบ้านดอกเบี้ยต่ำ ผู้กู้ไม่ต้องมีทรัพย์สินมาค้ำประกันการกู้ ประชาชนจำนวนมากกู้เงินมาซื้อบ้านไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย แต่เพื่อลงทุนและเก็งกำไร เกิดการใช้อัตราเร่งทางการเงินเกินตัว (over-leveraged)
ราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้นตามแรงซื้อ เกิดฟองสบู่ นักเก็งกำไรที่กะจะทำกำไรจากการขายบ้านโดยการซื้อถูกขายแพง ไม่สามารถหาผู้ซื้อได้ ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถหาเงินมาผ่อนได้ เงินจม ต้องการหนีตายโดยการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเอาตัวรอด ขายออกได้บ้างไม่ได้บ้างขายขาดทุนบ้าง เกิดหนี้เสียในระบบสูงขึ้น(NPL)
มูลค่าของอสังหาที่มีแต่ผู้คนคิดว่าราคาจะต้องแพงขึ้นอย่างเดียว กลับถูกวิกฤตนี้เล่นงานทำให้ราคาตกต่ำลง ผู้คนเริ่มไม่เชื่อมั่น แห่ถอนเงินออกจากสถาบันการเงิน เกิดสภาวะเงินฝืด
ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ บทสรุปของวิกฤต Subprime
สถาบันการเงินไม่สามารถเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยจากสินเชื่อได้ กระทบกันทั่วหน้าทั้งผู้เล่นรายใหญ่และรายย่อย ตัวอย่างเช่น Lehman brother ต้องล้มละลาย ในเวลานั้นธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED หรือ Federal reserve) ตัดสินใจพิมพ์เงินอัดฉีด (QE)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เงินกลับกระจายไม่ทั่วถึง เป็นที่รู้กันว่าเงินที่พิมพ์ออกมาถูกนำไปใช้อุ้มสถาบันการเงินและธุรกิจบางประเภทไม่ให้ล้ม เพราะถ้าหากล้มจะกระเทือนต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง (ธุรกิจประเภท Too big to fail)
เงินที่ถูกพิมพ์ขึ้นในช่วงปี 2010 ระหว่างวิกฤต Subprime นี้ประมาณ 600 billion USD
เงินที่ถูกผลิตออกมานี้ควรจะกระจายไปทั่วถึงประชาชนทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกันเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย แต่ความจริงอันโหดร้ายในโลกการเงินมันไม่สวยหรูอย่างนั้น
เงินที่ถูกผลิตขึ้นจะเข้าไปสู่มือของคนบางกลุ่มที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตเงินก่อนเสมอเงินเหล่านี้ก็จะไหลเข้าไปซื้อสินทรัพย์เพื่อการลงทุนเช่นหุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์เก็งกำไรเช่นสินค้าโภคภัณฑ์(น้ำมัน ทองคำ อาหาร) ทำให้ราคาสินค้าหลายๆรายการแพงขึ้น กว่าเงินจะไหลไปถึงประชาชน ประชาชนก็ได้รับผล"ต้องใช้เงินมากขึ้นในการดำรงชีวิตให้ได้แบบเดิมไปแล้ว"
จะซื้อข้าวกินก็ต้องจ่ายแพงขึ้น จะเติมน้ำมันก็ต้องจ่ายแพงขึ้น จะซื้อหุ้น/สินทรัพย์ลงทุนก็ต้องจ่ายแพงขึ้น ในขณะที่ผู้ที่ได้เข้าถึงเงินผลิตใหม่ก่อนไม่ต้องซวยเท่า ทั้งหมดนี้เรียกว่า Cantillon effect
ทั้งหมดนี้คือความโหดร้ายในโลกการเงินที่มีตัวกลางคอยควบคุมจำนวนเงินในระบบ และความไม่ยุติธรรมในการกระจายเงินที่ถูกผลิตใหม่ โดยเหตุการณ์การพิมพ์เงินเพื่ออุ้มบางหน่วยงานไม่ให้ล้มครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นครั้งที่สอง
Chancellor on the brink of second bailout for banks
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำลังเตรียมพิมพ์เงินครั้งที่สอง เพื่ออุ้มธนาคารไม่ให้ล้ม
ฟังดูเหมือนจะไม่มีความหวังที่เศรษฐกิจจะต้องอยู่ภายใต้ระบบธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งขึ้นมาแค่ช่วงปี 1970 ในขณะนั้นมีความพยายามในการสร้างเงินสกุลใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางใดๆมาควบคุม ให้อิสระแก่ผู้ที่ต้องการใช้งานมันอย่างสมัครใจ เงินที่ได้ชื่อว่าผู้ถือครองคือเจ้าของที่แท้จริง มีหลายๆโปรเจคที่พังล้มเหลวไป มีการลองผิดลองถูกมากมาย กว่าจะออกมาเป็นบิตคอยน์
ตอนต่อไป ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า"เงิน" คืออะไร
ไว้พบกันครั้งหน้าครับ
สวัสดีครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา