28 ธ.ค. 2022 เวลา 11:56 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Healthcare ธุรกิจที่ไม่มีวันตาย

หากชีวิตนี้ต้องเลือกเป็นเจ้าของธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ระหว่างธุรกิจที่มีแววว่าจะถูกดิสรัปต์อยู่ตลอดเวลา กับธุรกิจที่แข็งแกร่ง และเป็นธุรกิจที่มีผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของเรา
เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ย่อมเลือกอย่างหลัง และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจ “Healthcare” คือหนึ่งในธุรกิจนั้น
แล้วโมเดลธุรกิจ Healthcare มีความน่าสนใจอย่างไร ทำไมถึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม ? วันนี้ KTAM จะสรุปให้ฟัง..
จากการรายงานของ องค์การอนามัยโลก (WHO) วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการคาดการณ์ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2568-2593 ว่า สัดส่วนประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 12% เป็น 22% และเมื่อเข้าสู่วงจรผู้สูงอายุแล้ว ก็หลีกหนีไม่พ้นโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมา หรือในบางครั้ง ไม่ต้องรอให้แก่ก่อน เราก็อาจต้องเผชิญกับโรคร้ายที่ไม่มีใครคาดคิด
โดยเฉพาะการมาของโควิด 19 ที่เปรียบเสมือนตัวเร่งให้ผู้คนหันมาสนใจสุขภาพของตัวเองมากขึ้น เพราะข้อมูลจากทาง BBC วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565 ได้เปิดเผยว่าจำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว อาจสูงกว่าสถิติที่ทางการเคยรายงานไว้ถึง 3 เท่า หรือมากกว่า 18.2 ล้านคน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ในเมื่อผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพกันมากขึ้น จึงไม่แปลกที่บรรดาธุรกิจ Healthcare จะเปล่งประกายเฉิดฉายขึ้นมาท่ามกลางสายตาของนักลงทุนทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ Healthcare ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นระยะ ๆ จนเราสามารถแบ่งหมวดธุรกิจได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่
  • Pharmaceutical (ธุรกิจผลิต และจำหน่ายยา)
อุตสาหกรรมยา สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ตามการอ้างอิงจากเว็บไซต์ Wongkarnpat คือ
1. ยาต้นตำรับ (Original drug) คือยาที่ผ่านการวิจัย พัฒนา และทดลอง จนแน่ใจได้ว่าสามารถเอามาใช้กับคนได้
2. ยาสามัญ (Generic drug) คือยาที่ถูกพัฒนามาจากยาต้นแบบอีกที หรือพูดอีกอย่างก็คือ เป็นยาที่ลอกเลียนสูตรยาต้นแบบ เมื่อยาเหล่านั้นหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว
  • Biotechnology (ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ)
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bio.org ได้อธิบายความหมายของ “Biotechnology” ไว้ว่า เป็นการค้นคว้าวิจัยถึงสิ่งมีชีวิต เพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค และการผลิต Antibody ที่ใช้สำหรับวินิจฉัยโรค และใช้เพื่อเยียวยารักษาผู้ป่วย
  • Healthcare Equipment & Supplies (ธุรกิจผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์)
เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นปัจจัยสำคัญทางด้านการแพทย์ เพราะถ้าไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านี้ แพทย์ก็ไม่อาจรักษาคนไข้ได้
ทั้งนี้ ธุรกิจผลิตเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
  • 1.
    อุปกรณ์ใช้แล้วทิ้ง เช่น เข็มฉีดยา และถุงมือยาง
  • 2.
    อุปกรณ์ใช้คงทน เช่น รถเข็น เตียงคนไข้ และเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยโรคต่าง ๆ
  • 3.
    น้ำยาวินิจฉัยโรค เช่น น้ำยาที่เอาไว้ใช้ในห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
  • Healthcare Provider (ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน)
โรงพยาบาลเอกชน เป็นโรงพยาบาลที่มักจะมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และให้บริการทางสุขภาพแทบจะครบทุกวงจร และเป็นธุรกิจ Healthcare อีกหนึ่งแขนงที่มีการเติบโตสวนทางธุรกิจอื่น ๆ ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19
จากการรายงานของ Krungthai COMPASS วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ระบุว่า ภาพรวมรายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยปี พ.ศ. 2565 ได้ขยายตัวจากปี พ.ศ. 2564 ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 และความต้องการรักษาโรคอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2566 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 19.8% เมื่อเทียบกับปีนี้
  • Healthcare Insurance (ธุรกิจประกันสุขภาพ)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน ต้นทุนด้านการรักษาทางการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผู้คนเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้นทุนด้านราคาที่สูง โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคเฉพาะทาง
อีกทั้ง หากต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ก็ทำให้มีรายจ่ายมากขึ้น และยังขาดรายได้จากการทำงาน ที่สำคัญคือ โรคภัยไข้เจ็บก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยไม่เลือกวัย เมื่อเป็นเช่นนี้ ธุรกิจประกันสุขภาพจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้
จากข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจ Healthcare ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คงทำให้เราได้เห็นว่า ธุรกิจดังกล่าวอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และอย่างน้อย เราก็อาจมีแนวโน้มที่จำเป็นต้องใช้บริการไม่กลุ่มใดก็กลุ่มหนึ่ง
จึงกล่าวได้ว่า Healthcare อาจเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจ ที่จะอยู่คู่มวลมนุษย์ไปอีกยาวนาน หรือพูดอีกอย่างก็คือ Healthcare เป็นธุรกิจที่ยากต่อการถูกดิสรัปชันนั่นเอง..
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจตั้งคำถามว่า ถ้าเราสนใจลงทุนในธุรกิจนี้ จะเริ่มต้นอย่างไรดี ในเมื่อธุรกิจ Healthcare นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะทาง อีกทั้งยังมีบริษัทจำนวนมากที่ทำธุรกิจด้าน Healthcare
คำตอบคือ.. เราสามารถลงทุนเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้าน Healthcare ชั้นนำระดับโลกได้ ผ่านกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ
โดยกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ ฟันด์ ชนิดสะสมมูลค่า (KT-HEALTHCARE-A), ชนิดเพื่อการออม (KT-HEALTHCARE-SSF) และ ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-HEALTHCARE- RMF) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยของกองทุน Janus Henderson Global Life Sciences Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ การดำเนินชีวิต ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยสัดส่วนการลงทุนใน 5 บริษัทอันดับแรกของกองทุนนี้ ได้แก่
  • UnitedHealth Group Inc.
  • AstraZeneca PLC
  • AbbVie Inc.
  • Eli Lilly & Co.
  • Merck & Co., Inc.
*ข้อมูลจาก Janus Henderson วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KT-HEALTHCARE-A สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3YG6CGw
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KT-HEALTHCARE-RMF สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3P9brSB
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KT-HEALTHCARE-SSF สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://bit.ly/3VcXki7
*ข้อมูลของกองทุนล่าสุด เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565
☎ สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 𝟎𝟐-𝟔𝟖𝟔-𝟔𝟏𝟎𝟎 กด 𝟗
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า
เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมเพื่อการออม และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา