30 ธ.ค. 2022 เวลา 06:35 • การศึกษา
ลุกก็โอ้ยเดินก็โอ้ย!!,,,เวลาทำงานนั่งนานๆหลายๆคนก็จะมีอาการเป็นแบบนี้พวกเรารู้จักกันดีกับอาการพวกนี้เรามักจะเรียกว่าอาการออฟฟิศซินโดมหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานเนื่องจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆนั่นเอง
แต่เดิมโลกนี้เราอาจจะรู้จักกันในนามอีกชื่อหนึ่งก็คือโรคที่เกิดจากการทำงานซ้ำซาก (occupation overuse syndrome) ซึ่งสำหรับโลกตัวนี้มันจะถูกเรียกในมุมมองที่กว้างกว่า บางคนก็เรียกว่าโรค RSI repetition, strained injury)
ซึ่งหมายถึงสภาพหรือกลุ่มอาการที่รู้สึกไม่สะดวกสบายในการปฏิบัติงานหรือการเจ็บป่วยของพวกกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆเนื่องจากต้องทำงานซ้ำซากโดยอาจจะมีหรือไม่มีบาดแผลก็ได้
โรคที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากเกิดจากการปฎิบัติงานหรือเคลื่อนไหวซ้ำๆการปฎิบัติงานหรือเคลื่อนไหวโดยอริยาบทและท่าทางที่ฝืนร่างกายตามปกติหรือการออกแรงเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานอาจจะมีปัจจัยด้านจิตวิทยาและสังคมรวมถึงความเครียดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานก็มีส่วนก่อให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้
สภาพการทำงานบางอย่างสามารถระบุได้อย่างชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้ทางการแพทย์ว่าเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากแต่ก็อย่างว่าอาจจะมีอีกหลายกรณีที่เราเองก็ไม่ทราบถึงสาเหตุของการก่อให้เกิดโรคนี้ด้วยโรคที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับพนักงานในหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลเครื่องจักรพนักงานในกระบวนการผลิตแม่บ้านทำความสะอาด พนักงานพิมพ์ดีด เสมียนหรือแม้แต่นักดนตรีทั่วๆไป
โดยทั่วไปแล้วการป้องกันโรคหรือเกิดจากการทำงานซ้ำซากในอุตสาหกรรมจะเป็นหน้าที่ของนายจ้างซึ่งมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยแก่ลูกจ้างในขณะที่พนักงานเองก็ควรจะมีบทบาทในการรับผิดชอบให้ความร่วมมือกับนายจ้างอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตามนโยบายควรจะมีการดำเนินการขึ้นโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานควรมีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหารหัวหน้างานพนักงานหรือคณะกรรมการความปลอดภัยที่เรารู้จักกันในชื่อ คปอ.ริ่มวางแผนและทำการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้พนักงานบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายในการจัดกิจกรรมลดการเกิดโรคจากการทำงานซ้ำซาก
อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหานี้จะต้องมองถึงจุดสมดุลย์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นควรจะมีงบประมาณที่เหมาะสม
อาจเริ่มต้นด้วยการสำรวจการทำงานของพนักงานดูกระบวนการทำงานการใช้เครื่องมือและขั้นตอนทำงานต่างๆของพนักงานว่ามีการใช้อากัปกิริยาที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักการยศาสตร์หรือไม่
พูดคุยและปรับเปลี่ยนท่าทางเหมาะสมซึ่งวิธีการอาจจะเริ่มต้นง่ายๆเพียงแค่ใช้ที่วางพักเท้า แผ่นรองปูพื้นเพื่อปรับระดับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่งปฎิบัติงานของพนักงานการปรับระดับเก้าอี้ทำงานให้มีความสูงพอดีกับพื้นผิวชิ้นงานที่พนักงานต้องทำงานด้วยในระดับที่เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้งบประมาณน้อยมากแต่ได้ผลประโยชน์กับบริษัทและตัวพนักงานเอง
ต่อมาเมื่อเริ่มปฎิบัติงานแล้วสิ่งถัดไปควรจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมคือการจัดวางผังการปฎิบัติงานคือวางอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ในระดับเอื้อมถึงพนักงานไม่จำเป็นต้องก้มเอี้ยวตัวเพื่อไปจับชิ้นงานเข้ามาทำงาน
ในขั้นตอนนี้อาจจะเป็นภาระแก่เจ้าของพื้นที่หัวหน้างานมากขึ้นกว่าการปรับปรุงในตอนแรกเพราะว่าจำเป็นจะต้องวางผังและซื้ออุปกรณ์เสริมเพื่อให้การจัดวางผังการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างหนึ่งที่หัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยต้องคำนึงถึงคือการจัดภาระงานให้เหมาะสมซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ควรจะพิจารณาคือน้ำหนักของวัตถุ/ขนาดของวัตถุ/ที่ตั้งของวัตถุ/ความยากลำบากในการดันดึงวัตถุเป็นต้น
อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงคือหน้าจอครบอุปกรณ์ต่างๆควรจะเลือกตำแหน่งอุปกรณ์ควบคุมให้เหมาะสมในการนั่งทำงานของโอปะเรเตอร์หรือผู้ควบคุมเครื่องจักร ด้วยปุ่มกดและตำแหน่งต่างๆต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมผู้ควบคุมเครื่องจักรไม่จำเป็นจะต้องโยกตัวพื่อไปกดปุ่มแต่อย่างใด
ปกรณ์และเครื่องมือในการใช้งานเช่นแปลงขัดประแจ เป็นต้น ควรใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมถ้าพนักงานอยู่ในท่วงท่าที่ต้องใช้อุปกรณ์ในมุมที่ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ได้ถนัดควรหาซื้ออุปกรณ์มาเสริม
สุดท้ายแล้วเมื่อเรามีการเปลี่ยนแปลงต่างๆการใช้อุปกรณ์ใหม่ เครื่องมือใหม่หรือแม้แต่การจัดปุ่มกดอุปกรณ์ควบคุมต่างๆจะต้องให้ความรู้และมีการฝึกอบรมให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้อุปกรณ์นั้นๆหรือการจัดวางหน้างานที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา
โฆษณา