16 ม.ค. 2023 เวลา 15:36 • ครอบครัว & เด็ก
ผมมองว่า
1) “leadership”
ตอนผมเป็นเด็กๆ ทุกๆเช้าที่ตื่นขึ้นมาเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
ผมสังเกตเห็นว่าญาติๆในบ้านจะกระตือรือร้นทำงานบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมทำอาหาร และปัดกวาดทำความสะอาดบ้านในตอนเช้าตรู่
เมื่อผมโตขึ้นผมก็อยากจะช่วยเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในบ้านโดยการทำภารกิจที่ผมพอจะทำได้ เช่น
-ผมจะปัดฝุ่นหน้ากระจกรถด้วย “ไม้ขนไก่” แต่สมัยนั้นยังไม่มี “ผ้าใยสังเคราะห์” ที่ใช้เช็ดกระจกรถได้ดีเหมือนในสมัยนี้ แต่ผมก็ใช้ไม้ขนไก่อันเดิมปัดฝุ่นกระจกรถทุกเช้า
-ผมจะเปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อตรวจดูระดับ “นำ้หล่อเย็น” ของหม้อนำ้รถโตโยต้าของบ้านเรา และทำการเติมน้ำหากมีนำ้น้อยไป
-ผมจะกวาดบริเวณหน้าบ้านและโรงจอดรถทุกเช้า
งานบ้านเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ นำมาซึ่งการทำงานบ้านอื่นๆ เช่น การซักผ้ารีดผ้า, การปัดกวาดเช็ดถู
แต่สิ่งสำคัญคือ “ผมเรียนรู้ที่จะเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของบ้าน” ซึ่งเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุดแล้ว
และหากเรามองในภาพที่กว้างขึ้น ก็จะเห็นได้ว่า
“เราเรียนรู้จากความเป็นผู้นำของสมาชิกในครอบครัวของเราก่อนที่เราจะได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในสังคมที่กว้างออกไปเมื่อเราโตขึ้น”
และหากเราเป็นสมาชิกที่มี “คุณค่า” ด้วยความรู้ความสามารถ “สังคม” ก็จะมอบตำแหน่ง “ผู้เล่นทรงคุณค่า” หรือ
“The most valuable players” ให้กับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ต่างจากที่วงการกีฬาอาชีพระดับโลกได้มอบตำแหน่งนี้ให้กับนักกีฬาอาชีพในทุกวงการในทุกๆปี
ดังนั้นในฐานะ “ผู้ปกครอง” เราสามารถเป็น “แบบอย่างของผู้นำ” ที่เด็กในบ้านสามารถเรียนรู้เพื่อก้าวตามได้อย่างถูกทาง
2) “Self-awareness”
ผมมองว่า “การู้จักตัวเอง” (self awareness) และ “ความพึงพอใจ / ความภาคภูมิใจ” และ “ความรู้สึกขอบคุณที่ได้เป็นตัวเอง” (gratitude) คือ “รากฐาน” (foundation) ของ “ความสุข” ที่ยั่งยืน (sustainable) เพราะ “ปัจจัยภายนอก” เช่น “ทรัพย์สินเงินทอง, ยศศักดิ์, อำนาจวาสนา” เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง ต้องต่อสู้แย่งชิงเพื่อให้ได้มาและต้อง “หวงแหน” รักษาไว้
แต่ “การได้เป็นตัวเอง” และ “ความพึงพอใจ” ในการได้เป็นตัวเอง จะอยู่กับเราไปตราบนานเท่านาน โดยไม่ขึ้นกับปัจจัยภายนอกแต่อย่างใด!
ถึงจุดนี้ ผมสามารถบอกได้ว่า
curiosity & hunger —>passion & obsession —> fulfilment —> happiness
ซึ่งสิ่งที่ผมคาดหวังว่าจะได้มาคือ “การเติมเต็ม” หรือ “fulfilment” ที่ผมต้องฝ่าฟันอุปสรรค, ความยากลำบาก, การถูกปฏิเสธ ฯลฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ผมอยากรู้อยากเห็น หรือ “curiosity” เป็น “เข็มทิศ” นำการเดินทางจาก “ความไม่รู้” ไปสู่ “ความรู้” ที่ผมต้องการ
ดังนั้นในฐานะผู้ปกครอง เราจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กๆได้มีโอกาสได้แสวงหาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ที่พวกเขาสามารถทำความรู้จักกับตัวเองได้มากขึ้น
เพราะผมเชื่อใว่า “fulfilment” หรือ การเติมเต็มของชีวิตที่มีพื้นฐานคือ “self-awareness” หรือ การได้รู้จักกับตัวเองและได้เป็นตัวของตัวเอง จะนำไปสู่ “long-lasting happiness” คือ ความสุขที่ยาวนานและยั่งยืน โดยไม่ต้องพึ่งพา “ชื่อเสียง, อำนาจวาสนา, ทรัพย์สินเงินทอง” ที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รู้จักตัวเอง มักแย่งชิงกันอย่างที่เราได้เห็นผ่านสื่อต่างๆ!
3) “free-to-fail”
การพัฒนาชีวิตมันเปรียบเหมือนการทำเหมืองทองคำครับ
คือ การจะได้ “ความเป็นตัวเอง” นั้นก็ต้องผ่านการ “ค้นหา” และ “ตั้งคำถาม” มาก่อน
เมื่อค้นพบตัวเองแล้ว ก็ต้องผ่านการ “ขัดเกลา” เพื่อกำจัด “สิ่งปนเปื้อน” ที่ “ไม่ใช่ตัวเอง” ออกไป คล้ายกับแร่ทองคำที่ต้องผ่านการเผาด้วยความร้อนสูงๆ เพื่อกำจัดสินแร่เจือปนชนิดอื่นๆ (impurities) ออกไป ถ้าเป็นคนคือการผ่านร้อนผ่านหนาว (the furnace of life)
โดยประสบการณ์ในการใช้ชีวิตจะขัดเกลา “ความเป็นตัวเอง” ให้ชัดเจนขึ้นทีละนิดๆ และ “ความพอใจ” ในความเป็นตัวของเราเอง จะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเราเป็นตัวเองอย่างที่เรา
อยากจะเป็นหรือไม่
และเมื่อไหร่ที่ “เราพอใจและมีความสุขกับการเป็นตัวของเราเอง” เมื่อนั้น “ความมั่นใจ” ก็จะปรากฎขึ้น
และเมื่อ “ความมั่นใจ” ปรากฎขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ “เสน่ห์” ของคนๆนั้นครับ!
และในฐานะผู้ปกครอง เราควรสนับสนุนให้เด็กๆได้ก้าวออกไปสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่หากแม้พวกเขาจะทำผิดพลาดหรือยังทำไม่สำเร็จ เราก็สามารถช่วยให้แนวทางพวกเขาในความพยายามครั้งต่อๆไป
post นี้ของผมอาจมีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ให้ได้ครับ
4) “how do people change?”
”to make profound changes in your life you need either inspiration or desperation.”
Anthony Robbins,
คือมีเพียงสองสิ่งที่ทรงพลังพอที่จะผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งถ้าไม่ใช่ inspiration ก็เป็น desperation
ดังนั้นเด็กๆในความดูแลของเรา จะเปลี่ยนแปลงชีวิตไปในทางที่ดีขึ้นได้ก็ด้วยสองเหตุผลข้างต้น
เราจึงควรพิจารณาว่า ในฐานะผู้ปกครอง เราสามารถที่จะให้ inspiration หรือ ให้คำแนะนำก่อนที่จะต้องไปถึงจุดที่เป็น desperation
5) ทุกวันนี้ ผมกลับมาดูแล “พระในบ้าน”
ทักษะงานบ้านของผมตั้งแต่วัยเด็กจึงยังมีประโยชน์และจะทวีความสำคัญมากขึ้น เมื่อสังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2023 นี้
post นี้ของผมถูกกลั่นกรองจากประสบการณ์จริงในการดูแลผู้สูงอายุ เพราะเมื่อใดที่คุณดูแลตัวเองได้ คุณก็สามานถดูแลผู้อื่นได้!
6) “A life well lived”
ในฐานะผู้ปกครอง เราอยากให้เด็กๆใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์
ผมจึงอยากมอบคำกล่าวที่ผมชื่นชอบให้ดังนี้
“If a man has not found something worth dying for, he is not fit to live."
Martin Luther King Jr.,
7) “Comfort Zone”
และถ้าคุณอยากให้แนวทางในการเดินทางออกจาก CZ ของเด็กๆ เพื่อความเจริญเติบโตทางจิตใจ
post นี้ของผมอาจเป็นประโยชน์ครับ
โฆษณา