22 ม.ค. 2023 เวลา 00:45 • ปรัชญา

งานยุ่ง เอาลูกไปฝากเลี้ยง สุดท้าย .......

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล Ph.D., LLL
สามี 58 CEO องค์กรธุรกิจใหญ่
ภรรยา 56 ผู้อำนวยการระดับสูงองค์กรภาครัฐ
เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ทั้งคู่ก็ได้ลูกสาวคนแรกและคนเดียว
งานยุ่งมาก เดินทางบ่อย มีประชุมเกือบทุกวัน
การมีลูกคนแรกในวัยนี้ที่หน้าที่การงานกำลังสดใสก้าวหน้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก
ทุกวันต้องขับรถกว่าเกือบชั่วโมงเพื่อนำลูกสาวไปฝากย่าให้ช่วยดูแล
แล้วรับกลับในตอนเย็นซึ่งเป็นเรื่องที่หนักมาก
เหตุการณ์เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณหนึ่งปี ทั้งคู่รู้สึกเหนื่อยมาก
จึงไปขอความช่วยเหลือเพื่อนบ้านให้ดูแลและมีค่าตอบแทนให้
เพื่อนคนนี้ก็ใจดี รักเด็ก รับปากจะดูแลให้อย่างดี
ทีนี้ชีวิตก็ง่ายขึ้น เช้าๆ ก็เดินไปส่งลูกสาวที่บ้านเพื่อน แล้วเย็นๆ ก็มารับกลับ
ชีวิตทุกคนรู้สึกดีขึ้น
เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างนี้สักพักนึง
แล้วเย็นวันนึง ขณะที่กำลังจะรับลูกสาวกลับบ้าน
ลูกสาวร้องว่าไม่อยากกลับ อยากอยู่ที่นี่ต่อ
เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้ทุกวัน
แล้ววันนึง พ่อแม่คู่นี้ก็ตามใจ เพราะดูลูกสาวเธอมีความสุขดี ทั้งคู่ก็เหนื่อยมาก
และเพื่อนบ้านคนนี้ก็รักเด็กเหมือนกับลูกตัวเอง
เขาเล่าว่านับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาเกือบ 12 ปี ลูกสาวคนนี้ไม่ได้กลับบ้านอีกเลย
กลายเป็นลูกของบ้านนี้ไปและมีความสุขดีด้วย
ทั้งสองนึกถึงเรื่องนี้ทีไร มันรู้สึกเจ็บปวดใจอย่างยิ่ง
เสียใจมากที่ต้องสูญเสียลูกสาวคนเดียวนี้ไป
เขาไม่เคยให้อภัยตัวเอง และกล่าวโทษตำหนิตนเองว่าคือต้นเหตุ
ความรู้สึกผิดนี้มันถูกเก็บสะสมและบั่นทอนความรู้สึก
ทำให้ขาดความเชื่อมั่น ภายในถดถอย ไม่มีความสุข
หากย้อนเวลาได้ เขาอยากกลับไปแก้ตัว
มีเวลาให้ลูกสาว แล้วจะเลี้ยงดูอย่างดี
ไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิด
แต่หากมีความพลาดพลั้งเกิดขึ้น แล้วท่านรู้สึกผิด
สร้างเป็นปมลบในใจ นั่นคือ “ปมด้อย”
ปมความรู้สึกผิดนี้ มันฝังรากลึกติดแน่น เกาะกัดกินใจ แกะไม่ออก
นำไปสู่เส้นใยอารมณ์ที่เปราะบาง อ่อนไหว
และนี่คือตัวฉุดรั้งศักยภาพให้ถดถอย
หากเกิดที่บ้าน ครอบครัวก็ไม่มีความสุข
หากเกิดที่องค์กร ทีมงานก็ขาดความเข้มแข็ง
แล้วท่านมีทางออกอย่างไร
ทฤษฎีเส้นใยอารมณ์ EMOTIONAL FIBER THEORY ศาสตร์แห่งความมั่นคงภายใน
Hipot การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ
(Integral Human Potential Transformation)
4 มิติ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน
#ปมด้อย #ความรู้สึกผิด #ซึมเศร้า #คุณค่า #ความเชื่อมั่น #อารมณ์ #ความเข้าใจ #การยอมรับ #การให้อภัย #ความมั่นคงทางอารมณ์ #EQ #พลิกฟื้นตนเอง
โฆษณา