25 ม.ค. 2023 เวลา 23:00 • ธุรกิจ

4 เรื่องที่ต้องทำก่อนจะให้องค์กร Data-driven

Data-driven เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในยุคนี้ และองค์กรทุก ๆ ขนาด ในทุก ๆ อุตสาหกรรมต่างพากันมุ่งหน้าไปในทิศทางของ Data เหล่าองค์กรต่างพากันลงทุนไปกับการสร้างฐานข้อมูล และพัฒนาเทคโนโลยีองค์กร แต่ท้ายที่สุดอาจจะต้องพบกับความจริงที่ว่าความท้าทายที่สุดในการทำให้องค์กร Data-driven กลับกลายเป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร
แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่านี่คือยุคที่ทุกอย่างต้องถูกขับเคลื่อนด้วย Data แต่รายงานจาก Gartner ในปี 2019 กลับพบว่ามีองค์กรเพียง 20% เท่านั้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากงานของ Data ได้จริง และแม้ว่าความน่าผิดหวังนี้จะมีสาเหตุมาได้จากหลายปัจจัย แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดโดยอิงจาก Gartner ก็คือการที่องค์กรขาด data culture หรือการใช้ข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ปัญหาที่แม้แต่องค์กรใหญ่ ๆ หลายแห่งก็ยังคงประสบ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะแม้ว่า Data จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในธุรกิจ เรามักจะให้คุณค่ากับมันมากจนลืมไปว่าเครื่องมืออย่างไรก็คือเครื่องมือ และสิ่งสำคัญคือผู้ใช้ และไม่ใช้เพียงคนเพียงกลุ่มเดียวแต่ต้องเป็นทั้งองค์กร และนั่นทำให้ Data Culture หรือการที่คนทั้งองค์กรมีบรรทัดฐานเดียวกันในด้านของข้อมูล สื่อสารด้วยข้อมูลด้วยกันทั้งองค์กร คือสิ่งสำคัญ
และต่อไปนี้คือ 4 วิธีการหลักในการที่องค์กรควรทำก่อนจะลงทุนใน Data
1. หาจุดเริ่มต้นที่ดี
ในการที่จะใช้ข้อมูลได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการมีจุดประสงค์ของการใช้ก่อน และจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างหนึ่งคือการโฟกัสไปกับการสร้างคุณค่า และความไว้วางใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ เพราะในการที่องค์กรจะให้การบริการที่มีประสิทธิภาพได้นั้น การมีข้อมูลที่เป็นตัวอ้างอิงได้คือสิ่งจำเป็น นั่นทำให้การเริ่มต้นใช้ข้อมูลกับตรงนี้คือจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด พร้อม ๆ กับจุดเริ่มต้นในมุมอื่น ๆ ได้แก่
• เริ่มต้นจากข้างบน หรือจาก C-level ลงมา ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางการเติบโต ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงผู้นำต้องใช้ Data ในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะฟังดูง่ายแต่ในทางปฏิบัตินั้น Ego มักจะทำให้เราลืมเรื่องนี้ได้ง่าย เพราะมันนั่นหมายถึงว่าแม้ว่าจะเป็นไอเดียของ CEO ก็ตามถ้าเด็กฝึกงานมี Data มาลบล้างก็ต้องฟัง
• ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูล หรือ data literacy เพราะองค์ความรู้นี้จะช่วยเปิดโอกาสให้องค์กรถามคำถามได้ตรงจุด มองเห็นข้อมูลในเชิงลึก และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูลที่มี
ในการนำข้อมูลมาพัฒนางานได้นั้นต้องอาศัยคุณภาพของข้อมูลที่เราวัด โดยหลักการสำคัญคือการวัดนั้นทำให้เรามองเห็น และการมองเห็นนั้นทำให้มันได้รับการพัฒนา และในทางกลับกันนั่นหมายความว่าการพัฒนาอะไรก็ตามต้องอาศัยข้อมูลที่มีคุณภาพ จากวิธีการวัดที่มีคุณภาพ
ดังนั้นองค์กรจึงควรโฟกัสกับการออกแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ให้ตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการจะรู้ โดยมีตัวแปรน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะการพยายามเก็บข้อมูลในหลาย ๆ ด้านจนเยอะเกินไป เพราะนั่นนำไปสู่ความสับสนจากข้อมูลที่เยอะเกินไปจนใช้ยากเป็นผลลัพท์ที่ตรงกับข้ามกับการพยายามให้พนักงานใช้ข้อมูลได้
3. เน้นฉันทามติมากกว่าลำดับขั้น
อีกประเด็นที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นข้อมูลคือการต้องเปลี่ยนวิธีการตัดสินใจภายในองค์กรจากการอิงลำดับขั้น ให้เป็นการตัดสินใจโดยการลงมติ ฝ่ายเพราะการตัดสินใจด้วย consensus นั้นต้องอาศัยความรู้ที่มาจากข้อมูล ในขณะที่การตัดสินใจด้วยลำดับนั้นอาศัยลำดับขั้น และความอาวุโส และนั่นนำมาซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยหลักการที่จะช่วยให้การใช้ลงมตินั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• มีผู้เชี่ยวชาญในด้านที่กำลังตัดสินใจอยู่ด้วย
• ก่อนตัดสินใจชวนกันตั้งคำถามไปยังจุดประสงค์ คุณภาพของข้อมูล และ bias ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
4. อาศัยใช้เทคโนโลยีมาช่วย
แม้ว่าเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่หัวใจของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการใช้ข้อมูล แต่มันก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้วัฒนธรรมองค์กรที่เราต้องการเกิดขึ้นได้ และบทบาทสำคัญของเทคโลโลยีคือการให้ความรวดเร็ว และรวดเร็ว ที่ทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดและขยายตัวได้ง่ายขึ้น
ทั้งหมดนี้คือ 4 อย่างที่ทำได้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่พนักงานใช้ข้อมูลในการทำงานเป็นหลัก และเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนที่จะเริ่มลงทุนใด ๆ กับงาน Data เพราะถ้าหากองค์กรขาด Data Culture แล้วจะทำให้องค์กรพลาดโอกาสในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาผลลัพท์ทางธุรกิจ ที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้องค์กรหลายแห่งล้มเหลวในการใช้ประโยชน์จาก Data แม้จะลงทุนไปกับเทคโนโลยีไปมหาศาลแล้วก็ตาม
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.
โฆษณา