27 ม.ค. 2023 เวลา 02:03 • ความคิดเห็น

ผู้นำที่ผู้ตามต้องการ คือคนที่เข้าใจคนอื่น

วันก่อนมีโอกาส ตั้งใจดูสัมภาษณ์ของคุณพิธา ในรายการคำนี้ดี ทาง YouTube สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ น่าจะเป็นสัมภาษณ์ที่สะท้อนตัวตนของผู้นำได้ดีมาก เลยจับประเด็นมาเรียบเรียงความดีงามบนเพจ ในรายการมีคลังคำศัพท์ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ความสละสลวยของภาษาอังกฤษ
1) บทสัมภาษณ์ชุดนี้ ทำให้เราเห็นว่า การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมากแค่ไหน เพราะการศึกษาดีกรีปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้สะท้อนวิธีคิดของ Leadership ในแบบของเขาที่ผ่านการเรียนรู้ ประสบการณ์ และบ่มเพาะตัวตนมาจนเป็นตัวเขาในทุกวันนี้
2) ถ้าคุณเป็นผู้นำ ก็อยากให้ได้มองเห็นสไตล์ที่น่าสนใจ ในความเป็นผู้นำแบบพิธา คือการเป็นผู้นำ ที่ "ทำให้ลูกน้องมีตัวตน" เราจะเห็นได้จากพรรคก้าวไกล ส.ส. ทุกคนเก่งมาก และโดดเด่นในสภา ลูกน้องในพรรคของเขา ได้รับการให้โอกาสฉายแสง และโดดเด่นไม่แพ้ตัวเขาเลย ใครที่สนใจเรื่องไหน ประเด็นอะไร สามารถขยี้ในนโยบายที่อยากผลักดัน และพัฒนาตนเองได้จนเป็นเลิศ ซึ่งนับว่าเขาเป็นผู้นำที่ให้โอกาสลูกน้องจริงๆแบบที่เขาพูด
3) คำว่า 'Servant Leadership' ก็คือคำตรงข้ามความเป็นเจ้านายแบบหัวหน้าคน (Boss) ที่เน้นสั่งการ บัญชาการแบบทหาร แต่กลับกลายเป็นมนุษย์สาย support ปั้นผู้ตามให้ขึ้นมาเป็นผู้นำ รับฟังลูกน้อง และไม่ต้องการเป็น one man dominance แบบกูเก่งคนเดียวก็พอ ยิ่งทำให้ตัวตนของเขามีเสน่ห์ในการบริหารทีมงานมากๆ
4) เรามองว่าการเข้าใจธรรมชาติ และความต้องการลูกน้อง ทำให้คนเป็นผู้นำแตกต่างและโดดเด่น แต่กว่าจะเป็นผู้นำที่เข้าใจคนอื่นได้จริงๆ ต้อง start จากนิสัยของการเป็นนักฟัง และตั้งคำถามที่ฉลาด มันทำให้เขาสามารถเข้าถึง และพัฒนาลูกน้องได้ตรงจุดมากขึ้น เพราะอ่านใจลูกน้องและมองความต้องการของคนอื่นออก เมื่อรับฟังปัญหา และพยายามทำความเข้าใจคนอื่นอยู่เสมอ
5) ในแง่ของการเป็นหัวหน้าคน หรือผู้นำที่ดี จริงๆแล้วตัวเราอยู่ใน status ที่คนให้คุณค่าเรามากอยู่แล้ว ด้วยตำแหน่งหน้าที่ แต่เรามีหน้าที่ทำให้ลูกน้องของเราที่เก่งกว่าเรา ในด้านที่เราไม่ถนัด ทำให้เขาได้ฉายแสงโคตรๆ และทำให้เขาแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ที่สุด มันจะยิ่งทำให้ฟันเฟืองของทีมเดินไปข้างหน้า ในขณะที่ทีมงานเก่งขึ้นเรื่อยๆ งานจะ smooth กว่าผู้นำที่เก่งอยู่คนเดียว แต่ลูกน้องห่วย เพราะตัวเองจะเหนื่อย และไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ เพราะติดสลักการพัฒนาคนที่ยังก้าวตามตัวเองไม่ทัน
6) ถ้าเราเข้าใจลูกน้อง เราจะรู้ว่าคนไหน เราจะพัฒนาเขาด้วยวิธีไหน บางคนเรา input แบบที่ทำให้เขาเก่ง โดยการเข้าไปพัฒนาเขาใกล้ชิด หรือบางคนไม่ต้องออกแรงมาก เพราะเขามีความพร้อมจะฉายแสงอยู่แล้ว การที่เราปรับ style ของความเป้นผู้นำให้เหมาะกับลูกน้อง คือการ customize ตัวเองให้เหมาะกับคนที่เราต้องสื่อสารด้วย และทำให้เรามีเสน่ห์ในการเป็นผู้นำ เพราะเราอ่านเกมคนอื่น และเป็นคนที่มีศิลปะในการปกครองคนจากทักษะของการ adaptation ตัวเองให้เหมาะกับแต่ละคนที่เราต้องการพัฒนา
7) การมองปัญหาของลูกน้องเป็นปัญหาของตัวเอง ปัญหาจึงจะถูกแก้ ความใส่ใจในลูกน้อง และมี empathy ต่อคนอื่น ยิ่งทำให้ลูกน้องเกิดความรัก ความศรัทธาในตัวตน และมันได้ทั้งงาน และได้ใจคน การไม่ทิ้งลูกน้องให้เผชิญปัญหาลำพังยิ่งทำให้เราเข้าถึงเขา และพัฒนาเขาได้ง่ายขึ้น
เพราะเราได้สัมผัสลูกน้องแบบลงไปดูงานเอง ไม่ใช่นั่งอยู่หอคอย รอที่จะออกคำสั่งไปวันๆ แต่ร่วมเข้าไปแก้ปัญหา ลุยไปกับเขา มันทำให้เขาแก้ปัญหาได้สำเร็จ เกิดความก้าวหน้าพัฒนาตัวเอง และขึ้นมาเป็นผู้นำที่ดี เมื่อเห็นแบบอย่างที่เก่งและดี ในแบบที่เขาควรเป็น
วันนี้คุณล่ะ เป็นผู้นำแบบไหนกันนะ?
IG : Tootsyreview
TW : ThinkTalkLoud
#ตุ๊ดส์review
#ThinkTalkLoud
โฆษณา