3 ก.พ. 2023 เวลา 02:42 • ข่าว

ข้อเท็จจริง “ปลาเก๋าหยก” จากปากกรมประมง เรื่องนี้มีคำตอบ

การเปิดตัว “ปลาเก๋าหยก” ของซีพีเอฟ นั่น ถือว่าได้ผล ทำให้สังคมโซเชียลมีเดีย มีความคิดเห็นในเรื่องนี้ 2 มุมมอง คือ
  • 1.
    กลัวเล็ดลอดไปตามแหล่งธรรมชาติ (คาดเดาว่า ไม่มีข้อมูลรายละเอียดข้อเท็จจริงการขออนุญาต)
  • 2.
    มองว่าหากขออนุญาตแล้ว สามารถทำได้ เพราะการขออนุญาตเป็นการปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขต่างๆ
จากความคิดเห็นมุ่งไปต่างๆ นานา ร้อนไปถึงกรมประมงต้องออกมาชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่าง ก่อนมาทำความรู้จักกันมากขึ้น “ปลาเก๋าหยก” เดิมชื่อว่า “Jade Perch” ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scortum barcoo เป็นปลาน้ำจืด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา แต่ต่อมามีการแพร่พันธุ์ไปที่ออสเตรเลียและถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ปลากรันช์จากแม่น้ำบาโค” (Barcoo grunter)
ซึ่งเป็นแม่น้ำในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากชื่อไม่เหมาะจะนำมาเป็นเครื่องหมายการค้า ปลากรันช์จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “เจดเพิร์ช” หรือปลาเพิร์ชหยก เนื่องจากมันมีลำตัวที่มีสีเหลือบเขียว ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อ “เก๋าหยก” เมื่อนำเข้ามาขายในไทย เพื่อให้คนไทยเรียกได้ง่ายขึ้น
เพราะ “ปลาเก๋าหยก” คือ 1 ใน เอเลียนสปีชีส์ ต้องห้ามลงสู่แหล่งน้ำธรรมในราชอาณาจักรไทย คือ สัตว์ต่างถิ่นที่เข้ามารุกรานการดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์ในท้องถิ่นเดิม รวมทั้งยับยั้งการสืบพันธุ์ของสัตว์ท้องถิ่นชนิดนั้นๆ เมื่อสัตว์ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ก็นำไปสู่การสูญพันธุ์และส่งผลให้ระบบนิเวศล่มสลาย รวมถึงมีผลกระทบในวงกว้างมาถึงมนุษย์
ข้อมูลจาก นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมงกล่าวว่า การขออนุญาตเพาะเลี้ยง “ปลาเก๋าหยก” ภายใต้การดูแลของซีพีเอฟ นั่น เป็นการขออนุญาตให้นำมาทดลองเลี้ยงได้ แต่ห้ามเพะเลี้ยง เพื่อการจำหน่ายลูกพันธุ์ เพื่อป้องกันการเล็ดลอดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ (อ้างอิงจาก พ.ร.ก. การประมง พ.ศ. 2560 มาตรา 65)
ถือว่า “ไม่ผิด” ปฏิบัติตามเงื่อนไขการขออนุญาตชัดเจน การกระทำของซีพีเป็นการเลี้ยงและนำไปทดลองตลาด ซึ่งก็ได้ขออนุญาตมาด้วยเช่นกัน ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมนั่น อยู่ระหว่างสรุปเพิ่มเติม ซึ่งทาง กรมประมงจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
สำหรับการเข้ามาตีตลาดในประเทศไทยของปลาเก๋าหยกนั้น เริ่มตั้งแต่ประมาณ 10 ปี ที่แล้ว โดยมันสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายเพราะเป็นปลาที่แข็งแรง เนื้อขาวนุ่ม หนังบาง มีไขมันแทรกในเนื้อ มีคุณค่าทางโภชนาการมาก แต่ก็มีราคาค่อนข้างสูง มักนิยมนำไปนึ่งให้สุกก่อนรับประทาน และไม่สามารถกินแบบดิบได้ แต่หลังจากนั้น กรมประมง ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ได้ออกประกาศห้ามเพาะเลี้ยงปลาเก๋าหยกเนื่องจากพบว่าพวกมันเป็นเอเลียนสปีชีส์
ล่าสุดปลาเก๋าหยกถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ปลาหยก” และถูกนำเสนอจากทั้งผู้ประกอบการและงานนิทรรศการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นว่า เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ของไทย
และเป็นปลาที่เหมาะแก่การทำอาหารได้หลากหลายเมนู มีคุณค่าทางโภชนาการทางด้าน DHA และ คอลลาเจน มากกว่าปลาแซลมอน และระบบการเลี้ยงเป็นระบบปิด ถือว่า มีการลงทุนสูงมากกว่าการเลี้ยงเศรษฐกิจชนิดอื่น หากจะนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งให้กับเกษตรกรได้ในอนาคต
โฆษณา