3 ก.พ. 2023 เวลา 12:07 • ประวัติศาสตร์

ไทมไลน์ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ยูเครน-รัสเซีย (ฉบับย่อ) ช่วงที่ 2 ศตวรรษที่ 18 – 19

กำเนิดจักรวรรดิรัสเซีย-ซาริน่ามหาราชองค์แรก-สงครามนโปเลียน-กำเนิดขบวนการชาตินิยมยูเครน
  • เท้าความตอนที่แล้ว (ช่วงที่ 1 คริสต์ศตวรรษที่ 9 – 17)
ตั้งแต่ “ยุคกลาง” จนถึงปัจจุบัน ชาวไวกิ้ง มองโกล ลิทัวเนีย โปแลนด์ รัสเซีย ออตโตมาน สวีเดน ฝรั่งเศส ออสเตรีย เยอรมัน โรมาเนีย และเชโกสโลวาเกีย ต่างยกทัพเข้ามาในดินแดนยูเครนปัจจุบัน โดยบางกลุ่มได้ปกครองอยู่นานกว่ากลุ่มอื่น
  • คริสต์ศตวรรษที่ 9: ยุคก่อร่างสร้างตัวของจักรวรรดิเคียฟรุส ซึ่งมีเชื้อสายชาวไวกิ้งเดินทางลงมาเพื่อปกครองในพื้นที่ มีปฐมกษัตริย์คือ “พระเจ้ารูลิก” ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ “กรุงเคียฟ” (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของยูเครน)
  • คริสต์ศตวรรษที่ 10: จักรววรรดิเคียฟรุสถึงจุดสูงสุด มีการสร้าง “วิหารเซนต์โซเฟีย” ในกรุงเคียฟ
  • คริสต์ศตวรรษที่ 13: จักรวรรดิเคียฟรุสล่มสลาย โดยการรุกรานของมองโกล และได้มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ “มอสโก” เป็นจุดเริ่มต้นของ “อาณาจักรมอสโก”
  • คริสต์ศตวรรษที่ 15: ยุคอาณาจักรมอสโก “ปลดแอก” จากมองโกล ในสมัยพระเจ้าอีวานที่ 3
  • คริสต์ศตวรรษที่ 16-17: เกิดการแย่งชิงอำนาจเหนือแผ่นดินส่วนที่เป็นประเทศยูเครนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ระหว่าง กองทัพรัสเซีย-เครือจักรภพโปแลนด์ลิทัวเนีย-ออตโตมัน-คอซแซค (หรือเรียกว่ากลุ่มกบฏชาวยูเครน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มรักชาติชาวยูเครนทำการแยกตัวออกจากรัสเซียในอีกร้อยกว่าปีถัดมา)
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ช่วงที่ 1 คริสต์ศตวรรษที่ 9 – 17 ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ
มาติดตามอ่านต่อช่วงที่ 2 คริสต์ศตวรรษที่ 18 – 19 ได้เลยครับ
  • คริสต์ศตวรรษ 18 (ช่วงต้น) กำเนิดและยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิรัสเซีย
  • ค.ศ. 1682 ซาร์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ได้สืบทอดบัลลังก์ต่อและเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในประวัติศาสตร์รัสเซีย คือ “พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1”
Peter the Great เครดิตภาพ: http://www.saint-petersburg.com/royal-family/peter-the-great
พระองค์เห็นว่าอาณาจักรรัสเซียยังล้าหลังมากหากเทียบกับชาติยุโรปอื่นๆในขณะนั้น จึงพยายามปฏิรูปประเทศทั้งในแง่การปกครอง อุตสาหกรรม การค้า การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ด้านสังคมและวัฒนธรรม
  • ทรงรับสั่งให้ชนชั้นสูงโกนหนวดเคราทิ้ง หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดนถูกเก็บภาษี
1
  • ประกาศให้ใช้ปฏิทินจูเลียน (ปฏิทินสากลโดยนับวันขึ้นปีใหม่คือ 1 ม.ค.) และการประดับตกแต่งต้นคริสต์มาส
1
  • เปลี่ยนการแต่งกายให้เข้าสู่สากลจากเสื้อคลุมยาวรุ่มร่าม มาเป็นชุดแบบตะวันตก
  • ด้านการศึกษา
  • ทรงยกเลิกธรรมเนียมเทเรม ทำให้สตรีทุกชนชั้นได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา และหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะคุยกันก่อนแต่งงานได้
  • ทรงดัดแปลงอักษรภาษาสลาฟ (รัสเซีย) ให้ใกล้เคียงตัวอักษรลาตินและกรีก
1
  • ทรงริเริ่มการออกหนังสือพิมพ์ จัดตั้งโรงเรียนสามัญครั้งแรก
Battle of Poltava เครดิตภาพ: http://www.saint-petersburg.com/royal-family/peter-the-great
  • ค.ศ. 1700 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับสวีเดน เรียกว่า “Battle of Poltava” (สมรภูมิโปลตาวา) พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 นำทัพ
2
  • ค.ศ. 1703 มีการสร้างมหานครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และได้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรในปี ค.ศ. 1712
  • ค.ศ. 1708 “รัสเซีย” ได้รับชัยชนะและสามารถควบคุมเหนือดินแดนส่วนที่เป็นยูเครนตะวันออกในปัจจุบัน เกิดในช่วงระหว่างสงคราม Great Northern โดย “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 12 แห่งสวีเดน” ต้องเดินทัพอ้อมเข้าสู่ดินแดนที่เป็นยูเครน ซึ่งเป็นโชคร้ายของพระองค์ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนจากผู้นำหลักของ “กลุ่มคอซแซค” ในเวลานั้น (แม้ว่าคอสแซคคนอื่นจะต่อสู้อยู่ฝั่งรัสเซีย)
ในปีต่อมา กองกำลังของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 12 ถูกบดขยี้ใน “สมรภูมิโปลตาวา” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัสเซียยึดครองดินแดนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของแผ่นดินยูเครนตะวันออกในปัจจุบัน ซึ่งนักประวัติศาสตร์นับว่าเป็น “การกำเนิดของจักรวรรดิรัสเซีย”
  • ค.ศ. 1721 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 ทรงรบได้ชัยชนะเหนือสวีเดน สามารถยึดครองดินแดนส่วนที่เป็น “ลัตเวีย” กับ “เอสโตเนีย” ในปัจจุบันไว้ได้ ทำให้สามารถตั้งฐานกองเรือริมฝั่งทะเลบอลติกได้และยังใช้เป็นเส้นทางการเดินเรือทำการค้าต่อไปได้ด้วย และพระองค์ยังได้รับสมญานามว่า “Peter the Great” หรือ “พระเจ้าปีเตอร์มหาราช”
  • ค.ศ. 1724 พระเจ้าปีเตอร์มหาราชสวรรคต
  • คริสต์ศตวรรษ 18 (ช่วงปลาย) ซาริน่ามหาราชองค์แรก (ซาร์ที่เป็นผู้หญิงองค์แรกที่ได้ยกย่องเป็นมหาราช)
1
  • ค.ศ. 1762 พระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ 2 (Catherine II) อดีตพระชายาของพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 (Petr III) ซาร์องค์ก่อนหน้า ขึ้นครองราชย์ต่อโดยการทำรัฐประหาร เนื่องจาก Peter III มีนิสัยเกียจคร้าน ติดเหล้า เอาแต่ใจ ไม่สนใจบริหารประเทศ ที่สำคัญมีใจเข้าฝักใฝ่ฝ่ายเยอรมัน
ขณะนั้นรัสเซียกำลังเข้าร่วมสงครามที่เรียกว่า “สงคราม 7 ปี” กับประเทศอื่นๆในยุโรปเพื่อต่อต้านเยอรมันอยู่ และ Peter III ถูกลอบสังหารใน 8 วันให้หลังจากการสละบัลลังก์และถูกยึดอำนาจ
1
Catherine II – ภาพวาดสีน้ำมันโดย Dmitry Levitsky, 1782 เครดิตภาพ: https://www.britannica.com/biography/Catherine-the-Great
พระจักรพรรดินีแคเธอรีนที่ 2 ทรงก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์รัสเซีย และได้รับยกย่องเป็นมหาราชองค์แรกที่เป็นผู้หญิง (ซาริน่า) ด้วยเหตุผลต่างๆคือ
  • ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซียถึง 34 ปี
  • ช่วงต้นของรัชสมัยพระองค์มีการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งที่เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนในอดีต เพื่อสร้างความสงบสุขในประเทศ และลบข้อกังหาในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ตัวอย่างเช่น ปี ค.ศ. 1764 โปแลนด์มีปัญหาเรื่องเขตแดนและมีกลุ่มอำนาจสามกลุ่มรอบด้านเข้าหมายยึดครอง พระองค์เลยส่งและแต่งตั้งคนรักเก่าของพระองค์ให้ไปปกครองที่โปแลนด์ เพื่อยุติเรื่องดังกล่าว
2
  • ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจตามแบบอย่าง Peter the Great และมีขุนนางที่มีความสามารถในสมัยนั้นมากมาย ทำให้พระองค์ทรงครอบครองอาณาเขตหลายดินแดน โดยได้แผ่ขยายอาณาเขตไปอีกราว 520,000 ตารางกิโลเมตร ว่ากันว่าพระนางทรงมีความสนิทสนมกับขุนนางเหล่านั้นมาก เป็นประเด็นที่ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่อื้อฉาวในเรื่อง ความมากรักของพระนาง
  • ทรงมีเมตตานำเบี้ยกำนัน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แจกจ่ายให้ชาวไร่ ชาวนา
  • ยกเลิกภาษีที่ไม่จำเป็น เช่น ภาษีขนมปัง
  • ทรงคิดวางรากฐานในการยกเลิกระบบทาสติดที่ดิน (Serf) แต่ก็ยังล้มเหลวในรัชสมัย และเกิดเหตุการณ์กบฏปูกาชอฟ หรือสงครามชาวนาที่เกิดจากความไม่พอใจของกลุ่ม Serf ช่วง 1773-1775 แต่ก็มีการประกาศยกเลิกระบบทาสดังกล่าวในยุคต่อมา (อีกประมาณเกือบ 100 ปีถัดมา) คือรัชสมัยของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2
1
  • ค.ศ. 1783 “จักรพรรดินีแคทเธอรีนมหาราช” ได้ทำการผนวกคาบสมุทรไครเมียเข้ากับจักรวรรดิรัสเซีย หลังจากทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันหลายครั้ง การผนวกคาบสมุทรไครเมียทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเข้าถึงทะเลดำ
1
ในเวลาไล่เลี่ยกัน พระองค์ก็สามารถสลายรัฐอิสระ Hetmanate ของ “กลุ่มคอซแซค” ลงได้
เครดิตภาพ: Crimea Historical Society
  • ค.ศ. 1789 ในช่วงปลายของรัชสมัยของพระนาง เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ทำให้เกิดความสั่นคลอนในราชอาณาจักรต่างๆของยุโรป รวมถึงจักรวรรดิรัสเซียด้วย (การปฏิวัติของประชาชน จากความไม่พอใจในระบอบกษัตริย์) และสุดท้ายก็เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในปี 1793 คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกสั่งประหารด้วยกิโยติน ด้วยข้อหาทรยศต่อชาติ เนื่องจากพระองค์ทรงวางแผนร่วมมือกับต่างชาติเพื่อต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ
  • ค.ศ. 1795 จักรวรรดิรัสเซียภายใต้ Catherine II The Great สามารถยึดครองดินแดนที่เป็นประเทศยูเครนในปัจจุบันได้เป็นส่วนใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มเครือจักรภพโปแลนด์ลิทัวเนียได้หมดอิทธิพลลงในภูมิภาคดังกล่าว และมีการแบ่งเค้กดินแดนที่เป็นยูเครนปัจจุบันออกเป็นของ จักรวรรดิปรัสเซีย-ออสเตรีย-รัสเซีย ซึ่งรัสเซียได้ดินแดนเป็นส่วนใหญ่
1
  • ค.ศ. 1796 Catherine II The Great สวรรคต ทรงเป็นจักรพรรดินีองค์สุดท้ายของรัสเซีย เพราะภายหลังโอรสของนาง “แกรนด์ดยุค พอล” หรือ Paul I (โอรสของพระองค์กับ Peter III) ทรงยกเลิกไม่ให้สตรีขึ้นมามีอำนาจในเวลาต่อมา
  • คริสต์ศตวรรษ 19 (ช่วงต้น) สงครามนโปเลียน
  • ค.ศ. 1801 พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 (Alexander I) ขึ้นครองราชย์ต่อจาก Paul I
  • ค.ศ. 1812 มิตรภาพระหว่าง “นโปเลียน” แห่งฝรั่งเศสกับ “พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1” เกิดความแตกร้าว เมื่อ Alexander I เปิดสัมพันธภาพทางการค้าครั้งใหม่กับอังกฤษ ดังนั้นนโปเลียนจึงตัดสินใจทำลายรัสเซีย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1812 นโปเลียนนำกองทัพบุกรัสเซียด้วยกำลังทหารมากกว่า 500,000 คน โดย 1 ใน 3 เป็นทหารฝรั่งเศสที่เหลือ นอกนั้นเป็นทหารจากประเทศในความปกครองของฝรั่งเศส จึงมีการเรียกกองทัพนโปเลียนครั้งนี้ว่า “กองทัพ 20 ชาติ”
ภาพวาดสงครามนโปเลียน ฝรั่งเศสบุกรัสเซีย เครดิต: Wikipedia
  • ภาพซ้าย-บน: “กองทัพนโปเลียน” บุกรัสเซีย โดยรัสเซียใช้วิธีถอยหล่นมาเรื่อยๆ จากเมืองเล็กรอบๆเข้ามายังกรุงมอสโก
  • ภาพขวา-บน: กันยายน 1812 “กองทัพนโปเลียน” บุกมาถึงมอสโก ทาง Alexander I ใช้กลอุบายอพยพผู้คนออกจากมอสโกให้หมดจนเป็นเมืองร้าง แล้วเผาเมืองทิ้งจนไม่มีเสบียงอาหารเหลือ ทำให้ทหารของกองทัพนโปเลียนอดอยาก
  • ภาพซ้ายและขวา-ล่าง: ผ่านไปหนึ่งเดือน “นโปเลียน” รู้ถึงอันตรายร้ายแรงกำลังคืบคลานเข้ามา จึงมีคำสั่งถอนทัพออกจากมอสโกกลับฝรั่งเศสซึ่งเป็นระยะทาง 500 ไมล์
เมื่อฤดูหนาวมาถึงกองทหารม้าคอสแซคของรัสเซียก็ปรากฏตัวขึ้นและคอยไล่ติดตามการถอนตัวของทหารฝรั่งเศส ซ้ำกับความหนาวรุนแรง การขาดอาหาร ทำให้ทหารของกองทัพนโปเลียนตายเป็นจำนวนมาก เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยมาถึง 40,000 คน ที่รอดกลับมาและอยู่ในสภาพอิดโรย โดยนโปเลียนได้หนีไปโดยเดินทางล่วงหน้าแล้วเพื่อหาทางจัดตั้งกองทัพขึ้นมาใหม่
1
ข่าวเรื่องนโปเลียนสิ้นกำลังรบแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว หลายชาติในยุโรปจึงจับอาวุธเพื่อปลดแอกตัวเองจากการปกครองของฝรั่งเศส Alexander I จึงได้รับยกย่องว่าเป็น “ผู้ปลดปล่อยยุโรป”
1
ภาพวาด Alexander I โดย Franz Kruger ในพระราชวังฤดูหนาว กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เครดิตภาพ: Wikipedia
  • ค.ศ. 1825 Alexander I สวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท โดยทายาทของพระองค์ล้วนสิ้นพระชนม์ไปหมดก่อนหน้า ทำให้บัลลังก์รัสเซียตกเป็นของพระอนุชาของพระองค์แทน ซึ่งก็คือแกรนด์ดยุกนีโคลัส และได้เป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (Nicholas I)
เดือนธันวาคมในปีเดียวกันที่ขึ้นครองราชย์ มีการก่อจลาจลเกิดขึ้นใจกลางเมือง เนื่องจากความไม่พอใจในการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ เรียกว่า “กบฏธันวาคม” หรือ “Decembrist uprising” สุดท้ายก็สงบลงได้โดยการปราบปรามผู้ต่อต้าน
  • คริสต์ศตวรรษ 19 (ช่วงกลางถึงปลาย) กำเนิดขบวนการชาตินิยมยูเครน
  • ค.ศ. 1848-1849 ช่วงปลายรัชสมัยของ Nicholas I การปฏิวัติโดยกลุ่มปัญญาชนในยุโรปมีอิทธิพลสูงในรัสเซีย พระองค์ดำเนินนโยบายต่างประเทศล้มเหลว ทำให้เกิดการแบ่งแยกแบ่งฝ่ายและนำมาซึ่ง “สงครามไครเมีย”
  • ค.ศ. 1853 เกิด “สงครามไครเมีย” ฝ่ายรัสเซียสู้รบอย่างโดดเดี่ยวกับจักรวรรดิออตโตมันที่มีฝรั่งเศส อังกฤษ ซาร์ดิเนีย เป็นพันธมิตร และรัสเซียพ่ายแพ้ไปในที่สุด และมีการทำสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1856
  • ค.ศ. 1855 พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 (Alexander II) ขึ้นครองราชย์ต่อจาก Nicholas I ซึ่งสวรรคต
  • ค.ศ. 1861 Alexander II ได้รับสมญานามว่า “ซาร์ผู้ปลดปล่อย” เพราะพระองค์ทรงประกาศเลิกทาสติดที่ดิน (Serf)
ช่วงนี้เกิด “ขบวนการชาตินิยม” เกิดขึ้นทั่วยุโรป รวมถึงใน “ยูเครน” โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก “กลุ่มกบฏคอซแซค” ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17
ภาพวาดสีน้ำมันมีชื่อโดย Ilya Repin (1844–1930) แสดงถึงกลุ่มกบฏคอซแซคในปี 1676 เครดิตภาพ: Wikimedia Commons
ผู้บุกเบิกที่สนับสนุนเอกราชของชาวยูเครน เริ่มรวบรวมประมวลและส่งเสริมการใช้ “ภาษายูเครน” โดยเน้นย้ำถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างจากรัสเซียของ “ยูเครน” โดยได้เรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวยูเครน” เป็นครั้งแรก
มีการเรียกร้องให้มีการปกครองตนเอง รัสเซียตอบโต้ด้วยมาตรการปราบปรามหลายขนาน รวมถึงคำสั่งห้ามตีพิมพ์หนังสือและหนังสือพิมพ์ที่มีภาษายูเครน
“ไม่เคยมีภาษาของชาว Little Russia ไม่มีอยู่จริง และจะไม่มีอยู่จริง ภาษาถิ่นที่คนทั่วไปพูดเป็นภาษาเดียวกับภาษารัสเซีย” คำสั่งของรัสเซียประกาศในทศวรรษที่ 1860
บทความและเรียบเรียงโดย Right SaRa
3rd Feb 2023
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
Catherine the Great and the Development of a Modern Russian Sovereignty, 1762-1796 By Thomas Lucius Lowish (A dissertation submitted in partial satisfaction of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy in History in the Graduate Division of the University of California, Berkeley)
ธนู แก้วโอภาส, ประวัติศาสตร์โลก-พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2542) หน้า 452-453
  • เครดิตภาพปก:
ซ้าย-บน: Scene from the battle of Poltava, in a painting from the collection of the State Tretyakov Gallery, Moscow - Fine Art Images/Heritage Images/Getty Images
ขวา-บน: Catherine The Great, annexed Crimea, painted by Stefano Torelli, 1772, Oil On Canvas/Wikimedia Commons
ซ้าย-ล่าง: the Battle of Three Emperors: Napoleon, Alexander I and Francis II - one of the major events of the Napoleonic Wars - Francois Gerard/Wikipedia
ขวา-ล่าง: Ukrainian Nationalist Movement in 1800s, Lesya Ukrainka (Left) writer and socialist activist, Taras Shevchenko (Right) the famous rebel poet – Ukraine Solidarity Campaign
โฆษณา