29 เม.ย. 2023 เวลา 00:09 • ธุรกิจ

CHIP WAR ศัตรูของศัตรูคือมิตรกับเส้นทางการเติบโตในอุตสาหกรรมชิปของเกาหลีใต้

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลังสงครามของญี่ปุ่นให้กลายเป็นประเทศเจ้าตลาดของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์
1
องค์กรธุรกิจของสหรัฐฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ให้กับนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายในวอชิงตันได้ทำการรับรองว่าบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sony สามารถที่จะเข้ามาค้าขายในตลาดสหรัฐฯ ได้อย่างเสรี
3
จุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่นให้เป็นประเทศแห่งนายทุนประชาธิปไตยเริ่มทำงาน แต่ชาวอเมริกันบางคนถามว่ามันทำงานได้ดีเกินไปหรือไม่ กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพธุรกิจของญี่ปุ่นดูเหมือนจะบ่อนทำลายความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอเมริกาในท้ายที่สุด
2
นั่นเองที่ทำให้อเมริกาต้องมองหาทางเลือกใหม่โดยเล็งไปที่ประเทศอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวกจากการไปตั้งฐานการผลิตชิปของอเมริกา
2
หากย้อนกลับไปยุคหลังสงครามโลก มันแทบจินตนาการไม่ออกเลยว่าเกาหลีใต้ในยุคนั้นสภาพแย่ขนาดไหน บ้านเมืองเต็มไปด้วยซากปรักหักพังจากสงคราม ผู้คนก็ไร้ซึงการศึกษา พวกเขาต้องเจอกับการยึดครองแบบกดขี่มาอย่างยาวนาน ไม่สามารถที่จะปลดแอกตัวเองออกมาได้
4
แต่ทว่าจุดเปลี่ยนก็คือหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าไปมีบทบาท ซึ่งเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าไปช่วยเหลือประเทศไหนก็มีส่วนในการเข้าไปพัฒนาประเทศนั้นๆ ตามไปด้วย
2
Lee Byung-Chul ผู้ก่อตั้งซัมซุงซึ่งแต่เดิมทีทำธุรกิจเล็กๆ เป็นธุรกิจค้าของชำ ปลาแห้ง หรือแม้กระทั่งขายผักโดยเป็นการนำผลผลิตจากเกาหลีและส่งไปยังจีนตอนเหนือเพื่อป้อนให้กับเหล่าทหารญี่ปุ่นในช่วงยุคสงครามเกาหลี
เกาหลีเป็นประเทศที่ยากจนไม่มีอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีอะไรเลย แต่ Lee เองมีความฝันที่จะสร้างธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศของพวกเขา
Lee ได้เริ่มขยายธุรกิจหลังสงครามโดยที่ทำสิ่งต่างๆเพื่อผลประโยชน์ของประเทศทำให้เหล่านักการเมืองก็หันมาสนับสนุน Lee ในการผลักดันให้กิจการของเขาเติบโตขึ้น ขยายธุรกิจไปตั้งแต่การแปรรูปหนัง สิ่งทอ ปุ๋ย การก่อสร้าง การธนาคาร รวมถึงธุรกิจด้านประกันภัย
2
ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจของเกาหลีก็เริ่มเฟื่องฟูในช่วงปี 1960 และปี 1970 แต่ Lee มีความฝันที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นต้องการที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเขาได้เฝ้าดูบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโตชิบาและฟูจิตสึซึ่งครองตลาดชิป DRAM ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980
3
สถานการณ์ในเกาหลีใต้เองก็คล้ายๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นยุคสร้างชาติขึ้นมาใหม่ นั่นก็คือทางสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ทุนสนับสนุนในการสร้างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี ชาวเกาหลีจำนวนมากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐหรือได้รับการฝึกอบรมในเกาหลีโดยอาจารย์ที่มีการศึกษาในสหรัฐฯ
3
แม้ว่าการที่จะก้าวข้ามจากประเทศยากจนไปเป็นประเทศที่ใช้แรงงานทักษะสูงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าการผลิตชิปเป็นเรื่องที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นอย่างมาก แต่ว่า Lee เองก็ไม่เคยย่อท้อ
3
ในปี 1982 เขาได้ไปเยี่ยมชมโรงงานของ Hewlett Packard (HP) แล้วก็ประหลาดใจมากกับเทคโนโลยีของบริษัทซึ่งหาก HP สามารถเติบโตจากอู่ซ่อมรถไปสู่ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีได้ แน่นอนว่าร้านขายปลาและผักอย่างซัมซุงก็ สามารถทำได้เช่นกันเพราะว่าหากเข้าไปสู่อุตสาหกรรมชั้นสูงอย่างเซมิคอนดักเตอร์พวกเขาก็สามารถเปลี่ยนสภาพกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงได้ เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
3
Bill Hewlett and Dave Packard สร้าง HP ขึ้นมาจากโรงรถ (CR : Kid News)
การที่ฝันของ Lee จะเป็นจริงก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแน่นอนว่าเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ด้วยความที่มีคอนเนคชั่นที่ดีมากๆ กับหน่วยงานรัฐบาลอยู่แล้วทางรัฐบาลก็ยืนยันที่จะสนับสนุน Lee ในการเดิมพันในการผลิตชิปของซัมซุง และถือเป็นการเดิมพันในการสร้างชาติใหม่สู่ยุคความรุ่งเรืองอีกด้วย
2
สถานการณ์ของการแข่งขันธุรกิจชิปกับญี่ปุ่นทำให้อเมริกามองว่าเกาหลีน่าจะเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพมากๆ เพราะว่าพวกเขามีแรงงานที่ต้นทุนต่ำกว่าทางญี่ปุ่นด้วยซ้ำ ซึ่งในท้ายที่สุดเกาหลีก็อาจจะตัดราคาเหล่าผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น
2
Intel เองก็เริ่มที่จะสนับสนุนให้ผู้ผลิต DRAM ของเกาหลีลุกขึ้นมาต่อสู้ซึ่งเป็นการนำโดยซัมซุงนั่นเอง โดยมีการสร้างกิจการร่วมค้ากับทางซัมซุงขายชิปที่ซัมซุงผลิตภายใต้แบรนด์ของ Intel และยังช่วยเหลืออุตสาหกรรมชิปของเกาหลีรวมถึงลดภัยคุกคามของญี่ปุ่นต่อซิลิคอนวัลเลย์
5
ในเรื่องต้นทุนที่เกาหลีได้เปรียบญี่ปุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทเกาหลีอย่างซัมซุงก็มีโอกาสที่จะชนะในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดได้
1
ฝั่งสหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นเพียงแค่ตลาดสำหรับชิป DRAM ของเกาหลีใต้เท่านั้นเพราะว่าผู้ผลิตในซิลิคอนวัลเลย์เองก็มีการส่งต่อเทคโนโลยีให้กับซัมซุงด้วย เพราะว่าตอนนั้นมีการแข่งขันจากญี่ปุ่นเอง ทำให้บริษัทอเมริกันส่วนใหญ่ใกล้จะล่มสลายเต็มทีจึงได้ถ่ายโอนเทคโนโลยีชั้นสูงไปยังเกาหลี
1
Lee จึงได้ออกใบอนุญาตการออกแบบสำหรับชิป 64K DRAM ของ Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งมันเป็นทางลัดที่สำคัญมากๆของซัมซุงในการก้าวขึ้นมากลายเป็นมหาอำนาจทางด้านเซมิคอนดักเตอร์ แถมมันเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวของทางสหรัฐอเมริการวมถึงบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์
4
Micron ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหน่วยความจำซึ่งตอนนั้นขาดเงินทุนเป็นอย่างมาก (CR: MarketWatch)
พวกเขายินดีที่จะร่วมงานกับบริษัทเกาหลีเพื่อช่วยตัดราคาคู่แข่งจากญี่ปุ่นและช่วยทำให้เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของโลก รวมถึงความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯกับญี่ปุ่นทำให้เกาหลีใต้ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ไปเต็ม ๆ
2
ทางวอชิงตันเองก็ขู่จะเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทของญี่ปุ่น เว้นแต่ทางญี่ปุ่นจะยุติการทุ่มตลาดนั่นก็คือการขายชิป DRAM ราคาถูกในตลาดสหรัฐอเมริกา
ในปี 1986 ทางญี่ปุ่นก็ตกลงที่จะจำกัดการขายชิปไปยังสหรัฐฯ แล้วก็สัญญาว่าจะไม่ขายในราคาที่ต่ำซึ่งเป็นการเปิดช่องให้บริษัทเกาหลีขายชิป DRAM ได้มากขึ้นในราคาที่สูงขึ้น พร้อมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเกาหลี
แม้ชาวอเมริกันจะไม่ได้ตั้งใจให้ข้อตกลงดังกล่าวเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทเกาหลีแต่ว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาก็รู้สึกดีมากกว่าที่ได้เห็นใครก็ตามที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นผลิตชิปที่พวกเขาต้องการ
5
ซึ่งตรรกะทั้งหมดทั้งมวลมันเป็นที่เข้าใจได้ง่ายมากๆ ดังที่ Jerry Sanders ผู้ก่อตั้ง AMD บริษัทชิปชั้นนำของโลกในปัจจุบัน ได้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนี้ไว้ว่า “ศัตรูของศัตรูก็คือมิตรของฉัน” นั่นเองครับผม
5
References :
เรียบเรียงจากหนังสือ Chip War: The Fight for the World’s Most Critical Technology โดย Chris Miller
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา