16 พ.ค. 2023 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์

7 ความเสี่ยงหลังวัยเกษียณ เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ สังคมผู้สูงวัย อย่างเต็มตัว

เชื่อว่าหลาย ๆ คนยังอาจคิดว่าชีวิตหลังเกษียณนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว จึงไม่ได้เริ่มวางแผนการเงิน หรือลืมที่จะบริหารความเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต จนทำให้ชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุข และไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
วันนี้ เอไอเอ จะมาแชร์ข้อมูลเรื่อง “ความเสี่ยงหลังเกษียณ” ที่เราทุกคนต้องเจอว่ามีอะไรกันบ้าง จะได้เริ่มวางแผนเตรียมรับมือรองรับความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่อาจกระทบกับร่างกาย ทรัพย์สิน และจิตใจ
1. ความเสี่ยงจากการมีอายุยืนจัดว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด สมมติว่าคุณไม่ได้มีอายุที่ยืนยาว เช่น หลังจากเกษียณแล้ว มีชีวิตอยู่ได้เพียง 1-2 ปี ถึงแม้ในช่วงนั้นอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นแค่ไหน หรือตลาดหุ้นจะเป็นขาลงอย่างยาวนาน ก็ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตเพราะอายุสั้น ตรงกันข้ามถ้ามีอายุยืนยาวจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก
2. ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อความเสี่ยงที่กำลังเป็นประเด็นในสังคมทุกวันนี้ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ใช้เงินเท่าเดิมในการซื้อสินค้าหรือบริการ แต่จะได้สินค้าและบริการที่มีปริมาณลดลง ดังนั้นการวางแผนเกษียณต้องคิดถึงเรื่อง “ผลกระทบจากเงินเฟ้อ” ด้วย
3. ความเสี่ยงจากการถอนเงินมากเกินไปการถอนเงินออกมาใช้มากเกินไป จะทำให้เงินหมดลงอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้ไม่มีเงินใช้หลังเกษียณ ทุกครั้งก่อนกดเงินจึงต้องใช้สติคิดให้รอบคอบ และดูความจำเป็นก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้ใช้จ่ายเงินไปอย่างฟุ่มเฟือย จนเงินหมดก่อนเวลาอันควร
4. ความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลจากสถิติพบว่าอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยสูงถึง 8 - 9% หรือเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุก ๆ 8-9 ปี ลองมาคำนวณกันดูว่า เวลาป่วยหลังเกษียณเราจะมีเงินจ่ายค่ารักษาหรือไม่ โดยเฉพาะหากป่วยเป็นโรคร้ายแรง ที่ต้องใช้วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นแนะนำให้ทำประกันสุขภาพที่สามารถให้ความคุ้มครองยาวนาน และครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลไว้จะดีกว่า
5. ความเสี่ยงจากสภาวะพึ่งพิง นอนติดเตียงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงในช่วงสุดท้ายของชีวิต การเจ็บป่วยหนักถึงขั้นนอนติดเตียง จะมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่มหาศาล และเป็นภาระของคนในครอบครัว จากสถิติพบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสตกอยู่ในสภาวะนี้สูงถึง 70%
6. ความเสี่ยงที่เกิดจากความสามารถในการคิดวิเคราะห์ลดลง และความเสี่ยงจากการถูกล่อลวงทางการเงินเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะจะลดลงไปอย่างมากจากความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ รวมถึงยังมีความเสี่ยงในการถูกหลอกลวงทางการเงิน โดยคนกลุ่มนี้มักจะตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ ทั้งจากบุคคลภายนอก ไม่เว้นแม้แต่บุคคลในครอบครัว
7. ความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดเงิน และความเสี่ยงจากลำดับของผลตอบแทนการลงทุนย่อมตามมาด้วยความเสี่ยงอยู่แล้ว เมื่อถึงวัยเกษียณ หากเราถอนเงินออกมาจากตลาดหุ้นที่เป็นช่วงขาลง จะส่งผลให้เงินส่วนนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว และอาจส่งผลให้เงินหมดก่อนเวลาอันควรได้ มีงานวิจัยสรุปผลว่า ในช่วงเวลา 5-10 ปีก่อนและหลังเกษียณ ไม่ควรถอนเงินหากตลาดเป็นช่วงขาลงโดยเด็ดขาด!
ถึงแม้ประเทศไทยในทุกวันนี้จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว แต่ถ้าเราเริ่มศึกษาและวางแผนความเสี่ยงหลังเกษียณได้อย่างรอบคอบ รับรองว่าชีวิตหลังเกษียณจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขได้อย่างแน่นอนครับ
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/topics/6322a4b8ae66c7433c8d5007
โฆษณา