แท้จริงแล้ว
ความแตกแยก ยุติได้ ด้วยการเลือกตั้ง
3
แท้จริงแล้ว
การเลือกตั้งไม่มีส่วนสร้างความแตกแยก เพราะถือว่าเป็นฉันทามติของประชาชน จริงๆแล้วควรจะเป็นเช่นนั้นเสมอ
ถ้าหากเราจะพูดกันอย่างตรงไปตรงมา
โดยเอาเนื้อแท้มาพูดกันเลย ไม่อ้อมค้อม ไม่โกหกแล้วล่ะก็ เราก็จะต้องมองย้อนไปในอดีต ในอดีตเมื่อมีการเลือกตั้งทีไร ส่วนมากจะเป็นฝ่ายเสรีนิยมที่ได้รับชัยชนะเสมอ และจะเข้ามามีอำนาจจากความยินยอมของประชาชนด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ส่วนฝ่ายอำนาจนิยมจะเข้ามามีอำนาจได้โดยการยึดอำนาจเสมอ หรือสร้างวิธีการทางโครงสร้างในการขัดขวางฝ่ายเสรีนิยม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนกติกาใหม่ หรือสร้างโครงสร้างใหม่ก็ตาม และเมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้ง ฝ่ายเสรีนิยมก็ยังชนะอยู่ดี
3
แตกแยกเพราะไม่เคารพกติกา แตกแยกเพราะไม่เคารพฉันทามติของประชาชน แตกแยกเพราะกติกาและโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ที่เขียนกฎหมายเข้าข้างขั้วที่มีอำนาจเดิม
2
ทหารมักเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพื่อใช้อำนาจกองกำลังในนามที่มีอาวุธอยู่ในมือ เพื่อใช้ในการบีบบังคับฝ่ายเสรีนิยมทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เสียงส่วนใหญ่นั้นถอยไป
ในประวัติศาสตร์ไทยมีแต่ความรุนแรง ในอดีตก็ไม่เคยมีความสามัคคี มีแต่ความนองเลือด มีแต่ความสูญเสีย นักศึกษาล้มตาย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นและเว้นระยะห่างกันเป็นช่วงๆ เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายอำนาจนิยมเข้ามาแทรกแซง จะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นทันที แล้วเมื่อไหร่ก็ตามที่นายกรัฐมนตรีได้รับความนิยมสูงสุดจนกลายเป็นพรรคมหาชนเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็จะเกิดการต่อต้านจากกลุ่มอำนาจนิยมเพื่อลดทอนความนิยมลง ราวกับว่าเหมือนไปเบียดบังรัศมีใครบางคนของบ้านเมืองในยุคสมัยนั้น จึงแย่งชิงศรัทธา ความรัก แย่งชิงความนิยม
2
วิธีแก้ไข
สร้างการศึกษาทางการเมืองให้กับประชาชนทุกคน ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้และความเข้าใจทางการเมืองอย่างถ่องแท้ มักจะคิดว่าการเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่ใกล้ตัว มักคิดว่า ไม่ว่าใครจะเป็นผู้นำก็ตาม สุดท้ายแล้วฉันก็ยังยากจน แล้วต้องไปทำมาหากินเหมือนเดิมอยู่ดี มันจึงเกิดเป็นช่องโหว่ในการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การรับจ้างขนคนไปเลือกตั้งต่างๆที่เราเคยเห็นตามข่าว
1
เอาทหารออกจากการเมืองให้เบ็ดเสร็จ
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตลอด 90 ปีที่ผ่านมา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ทหารและกองทัพได้เข้ามาแทรกแซงและทำลายพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งจากการแทรกแซงที่โจ่งแจ้งที่สุดของกองทัพอย่างการทำรัฐประหารและการสืบทอดอำนาจที่ตามมา
อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทหารและกองทัพยังคงมีอิทธิพลทางการเมือง ผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือน ในหลายกระบวนการตัดสินใจ ทั้งในเชิงความความสัมพันธ์ เชิงอำนาจ ตลอดจนในมิติของธุรกิจการเมือง หรือแม้กระทั่งความเป็นอำนาจนิยมของระบบทหารไทย ซึ่งส่งผลลบต่อประเด็นที่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1
ยกเลิกอำนาจพิเศษของกองทัพที่อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนที่มาจากเสียงของประชาชน (เช่น สภากลาโหมที่มีอำนาจเหนือรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบายทางการทหาร บอร์ดแต่งตั้งนายพลที่ประกอบไปด้วยนายทหารเป็นส่วนใหญ่)
1
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทย เพราะมีที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หากแต่ออกแบบมาเพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารและระบอบประยุทธ์ อีกทั้งยังถูกเขียนโดยคนไม่กี่คนที่ คสช. แต่งตั้งอันเป็นผลให้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2560 มีการขยายอำนาจของสถาบันทางการเมืองที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่ยึดโยงกับ คสช. และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ
4
นอกจากนั้นแล้วกระบวนการประชามติในปี 2559 ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานประชาธิปไตย เพราะไม่ได้เปิดให้ทั้งสองฝ่ายรณรงค์ได้อย่างเท่าเทียมกัน มีคำถามพ่วงที่กำกวมและชี้นำ และเกิดขึ้นในสภาวะที่ประชาชนถูกบีบว่าหากไม่รับร่าง คณะรัฐประหารจะอยู่ในอำนาจต่อและจะไม่มีการเลือกตั้ง
2
เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ระหว่างการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเน้นการรื้อกลไกที่ถูกใช้ในการสืบทอดอำนาจ
  • 1.
    ยกเลิกวุฒิสภาของ คสช. ทำให้รัฐสภาเป็นของประชาชน อำนาจ-ที่มามีความชอบธรรม
  • 2.
    ศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ ทำให้เป็นกลาง มีระบบตรวจสอบที่ยึดโยงกับประชาชน
  • 3.
    ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้นโยบายเท่าทันโลก และกำจัดข้ออ้างในการไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
วิธีแก้ไขความแตกแยกทั้งหมดทั้งมวล ก็คือการมีประชาธิปไตยที่เต็มใบ เพราะจะแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างหมดจด เสร็จสิ้น บริบูรณ์ ทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างถาวร ตลอดชั่วกัลปาวสาน เหมือนกับประเทศเกาหลีใต้ที่เขาทำสำเร็จไงล่ะ
6
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 18
    โฆษณา