คำถามจาก คุณรายธรรม เรื่อง จิตอยู่ส่วนใดของสัมมาทิฏฐิ บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 18-6-2565
คำถาม
กราบนมัสการครับหลวงพ่อ🙏เมื่อวานได้ฟังธรรมที่หลวงพ่อแสดงในตอน เรากล่าว เจตนาว่าเป็นกรรม "พระศาสดาตรัสไว้ คือ อย่างไร ? ผมมีข้อสงสัยในอริยมรรคมีองค์ 8 ที่จิตเริ่มก่อน หลวงพ่อแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้ง เริ่มที่สัมมาสัมกัปปะส่วนจิต สัมมาวาจาส่วนวาจา สัมมากัมมันตะส่วนกาย ผมจึงมีข้อสงสัยว่าสัมมาทิฏฐิคือส่วนใดครับหลวงพ่อ 🙏
คำตอบ
ธรรม คือ จิต มโน วิญญาณ รู้แล้วนะ
การปฏิบัติธรรม คือปฏิบัติที่ จิต มโน วิญญาณ นะ
สัมมาทิฏฐิ คือส่วนของจิต ที่เป็นเบื้องต้น
เป็นประธานในธรรมทั้งปวงอีก คือ จิต ฯ ที่มีความเห็นถูกต้องแล้ว ๑
จึงกระทำการดับทุกข์ที่จิตฯ ที่ สัมมาสังกัปปะ ต่อไปและอื่นๆตามลำดับ
เหมือนเราหิวข้าว ก็รู้ว่าหิวข้าว จึงกระทำเพื่อให้ได้กินข้าว และเมื่อกินข้าวแล้ว ก็รู้ว่ากินข้าวแล้ว เป็นส่วนตัวเราทุกลำดับ เรื่องความทุกข์ และความดับทุกข์นี้ เป็นเรื่องของจิตฯเท่านั้น
คุณรายธรรม มีคำถามต่อไปอีกว่า
ธรรม คือ จิต มโน วิญญาณ รับทราบแล้วครับหลวงพ่อ🙏 ในข้อสงสัยนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อ ได้เห็นอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องสัมมาทิฏฐิ คำตอบนี้ ทำให้ย้อนกลับไปเห็นในเรื่อง สัมมาทิฏฐิเบื้องต้น กับสัมมาทิฏฐิเฉพาะ ได้แจ่มชัดขึ้น
กราบขอพระคุณในความอนุเคราะห์ครับหลวงพ่อ
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณ cool giru เรื่อง สมาธิในชีวิตประจำวัน บันทึกคำถามเมื่อวันที่ 19-6-2565
คำถาม(มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณ cool giru)
สมาธิ ที่ถูกต้อง อย่างพระพุทธเจ้า คือ การมี สัมมาสมาธิ การมีสติ อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกอิริยาบถ มีสติ เข้าใจธรรม รู้ทุกข์ตามเป็นจริง นี่คือ การทำสมาธิ ที่แท้จริง นี่คือ สัมมาสมาธิ อย่างพระพุทธเจ้า แบบนี้ ผิดถูกอย่างไรครับ หลวงพ่อ กราบ สาธุ ครับ
คำตอบ(คำตอบมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)
ดำเนินชีวิตตามปกติ อย่างรู้ว่า นี่คือทุกข์ หรือเหตุเกิดทุกข์ รู้ว่า มีคุณ คือเราต้องดู ฟัง ดม กิน สัมผัส รับรู้ฯตามปกติ(นี่คือคุณ)
รู้ว่ามีโทษ ที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายฯ
รู้ความดับ ด้วยโพธิปักขิยธรรม(คือการดับทุกข์)
รู้อุบายเครื่องออกฯ คือทุกข์เกิดที่อายตนะ ๖ ก็ต้องดับที่นี่ ด้วยอริยสัจจ ๔ หรือโพธิปักขิยธรรมเท่านั้น
จึงจะได้สัมมาสมาธิ คือสภาวะที่พ้นจากทุกขฺในวัฏฏะ
คุณ cool giru ตอบรับพระอาจารย์
สาธุ ครับ
จบการบันทึก
คำถามจาก คุณรายธรรม เรื่องโ ส มุฏฐัสสติ กาลัง
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 21-6-2565
คำถาม
กราบนมัสการหลวงพ่อ🙏 ได้ฟังธรรมหลวงพ่อแสดงแล้วมีความเข้าใจในธรรมแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มีข้อสงสัยใคร่รู้ผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ความสงสัยในครั้งนี้เป็นคำว่า โส มุฏฐัสสติ กาลัง เธอมีสติหลงลืม
คำๆนี้ มีหมายความว่าอย่างไรครับหลวงพ่อ เพราะปัจจุบันมีความเข้าใจว่า สิ่งที่หลงลืมเป็นส่วนของสัญญา แต่โดยส่วนตัวทราบจากหลวงพ่อแล้วว่าสัญญาคือความรับรู้ แต่เพื่อไม่เป็นการเดา ขอความเมตตาหลวงพ่อให้ความอนุเคราะห์ครับ🙏
คำตอบ
โส มุฏฺฐสฺสติ กาลัง คือ ธรรมที่ได้ฟัง เนืองๆ จำติดปาก จำขึ้นใจ แทงตลอดด้วยทิฏฐิแล้ว ในชาตินั้นๆ พอเธอตายไป เธอลืมนั้นๆหมดเลย กลับมาเกิดใหม่ ก็ยังลืมอยู่ อาจจะหลายชาติ ก็ยังลืมอยู่ แต่พอเหตุปัจจัยประชุมกัน ให้ถึงอานิสงส์ ๔ ประการจากการฟังแล้ว
๑ บทธรรมนั้นปรากฏแก่เธอเอง
หรือระลึกขึ้นได้เอง เช่นพระพุทธเจ้าตรัสรู้
๒ ฟังภิกษุผู้มีฤทธิ์แสดงธรรมแก่กันอยู่ เธอรู้ตามได้ทันที
๓ ระลึกเองไม่ได้ , ฟังภิกษุผู้มีฤทธิ์ฯ ก็ไม่รู้ตาม
แต่ฟังเทวบุตรแสดงธรรมแก่เทพฯแล้ว รู้ตามได้
๔ ทั้ง ๓ อาการนั้นไม่เกิด แต่มีคนผู้รู้ธรรมแล้วไปบอกว่า นี้คือธรรมถูกต้อง เขาจะรู้ตามได้
คำว่าลืม คือลืมหมดเลย แต่จะได้อานิสงส์ ๔ นี้ในภายหลังเองดังนี้
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า (มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์) ท่านมีเค้าลางในส่วนนี้ไหม? (ข้อ ๓ )
วิธีอื่นจะไม่มีใครบรรลุธรรมได้เลย นอกจาก ๔ วิธี นี้ ๔ อานิสงส์ นี้
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์
ผมเห็นชัดว่ามีเค้าลางในข้อ3 บ้างครับหลวงพ่อ ผมระลึกบทธรรมเองไม่ได้ อ่านพระไตรปิฎกไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อได้ฟังหลวงพ่อแล้วเข้าใจในธรรมได้ชัดเจนในส่วนที่หลวงพ่ออธิบาย
เมื่อเหตุปัจจัยประชุมพร้อมจะขอความอนุเคราะห์หลวงพ่อตรวจสอบความถูกต้องให้ในภายหลังครับ ขอคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ข้อสงสัยใคร่รู้ครับ 🙏
พระอาจารย์ตอบกลับ คุณรายธรรมว่า
"อานิสงส์ ข้อที่ ๒ นั้น อาตมาใช้กำลังสติหาจนทั่วโลกแล้ว มีเพียงคนที่อาตมาได้รู้จักนี้เท่านั้น วิธีตรวจไม่ยากเลย คือ ใครเห็นขันธ์ ๕ เป็นร่างกายคน , นั่งสมาธิ ฯลฯ นั้นล่ะ ไม่ได้ข้อ ๒ ล่ะ"
คุณรายธรรม สนทนากลับพระอาจารย์ ว่า
เห็นตามหลวงพ่อแสดง นอกจากจะยังไม่เคยเห็นใครแสดง ขันธ์5 เป็นบทธรรมย่อของปฏิจจสมุปบาทแล้ว
ยังไม่เคยเห็นใครปฏิบัติธรรมโดยไม่นั่งสมาธิเลย
แม้จะเอ่ยธรรมของพระศาสดาแต่พอปฏิบัติกลับนั่งสมาธิ
ซึ่งผมเห็นชัดแล้วว่าการนั่งสมาธิไม่ทำให้ใครบรรลุธรรมได้เลย ไม่มีในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ โดยผมเทียบเคียงจากอินทรียภาวนาสูตร
ทั้งหมดที่ได้เห็นชัดก็ด้วยจากการฟังธรรมในพระศาสดาจากหลวงพ่อแสดง
ซึ่งก็เห็นว่าเป็นธรรมที่ ลึกซึ้ง เห็นตามได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดเดาไม่ได้ บัญฑิตพึงรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง คือไม่ง่ายเลยสำหรับผู้ที่ไม่เคยฟังธรรมนี้มาก่อนเนืองๆ จำติดปาก จำขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิมาก่อนจะรู้ตามเห็นตามได้ เนื่องจากเป็นธรรมในพระศาสดาที่ปรากฏเป็นของลึก
ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์แสดงธรรมให้เห็นโดยแจ่มชัดครับ🙏
พระอาจารย์ สนทนากลับคุณรายธรรมว่า
คนที่เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นร่างกายคน หรือนั่งสมาธิ เดินจงกรม ธุดงค์ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรมคราวๆละ ๓ วัน ดังนี้เหล่านี้ ไม่ถึงอานิสงส์ข้อ ๒ หรือ ข้อใดๆเลย ถ้าไม่เห็นธรรมที่ถูกต้องก่อน แม้จะแสนนาน
คุณรายธรรม สนทนากลับพระอาจารย์ ว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณรายธรรม)
รับทราบเห็นตามหลวงพ่อ คนเห็นขันธ์ 5 เป็นร่างกายมนุษย์ เป็นความเห็นผิดในธรรมของพระศาสดา หรือ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ธุดงค์ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรมคราวๆละ ๓ วัน เป็นอิทธิปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องของปุถุชน หลวงพ่อได้แสดงให้ได้เห็นอย่างเจ่มชัด ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ธรรมครับ🙏
จบการบันทึก
คำถามใหม่จากคุณ Yongyuth เรื่อง ความใคร่รู้ในการย่อบทธรรมปฏิจจสมุปบาท บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 24-6-2565
คำถาม
กราบนมัสการสาธุๆๆพระอาจารย์​ ที่แสดงในเนื้อธรรมฯทำให้กระผมกระจ่างขึ้น​ และอยากถามพระอาจารย์่ว่า"ปฏิจจฯย่อลงมาคือขันธ์ 5​ ย่ออีกคือสติปัฏฐาน 4​ ย่ออีกคือ​ วิตก, วิจาร​ และย่ออีกคือ​ ธัมมวิจัยยะ​ คำว่า" ธัมมวิจัยย"เวลาปฏิบัติธรรม(รักษาอุโบสถศีลฯ)​ตอนไหน? น้อมกราบนมัสการสาธุๆๆพระอาจารย์โปรดเมตตาให้กระผมด้วยครับ
คำตอบ
ใช่ปฏิจฺจสมุปฺบาท นั้น เป็นบทธรรมหลัก โดยละเอียด และถูกย่อลงเป็นขันธ์ ๕ ย่อลงเป็นสติปัฏฐาน ๔ ย่อลงเป็นวิตกวิจาร และธมฺมวิจยสมฺโพชฌงค์ ตามลำดับ และทุกคนต้องรู้ตามพระศาสดาในฐานะพระอริยะ จึงจะถือว่ารู้ถ้วนตามธรรมพระศาสดา
ท่านจะรู้ได้ว่า ปฏิจฺจฯ นั้น มีสายเกิด สายดับ
แต่พอดับทุกข์ในโพธิฯ จะไม่เห็นปฏิจฺฯ เลย
แต่จะเห็นสติ ฯ ๔ นั่นล่ะเป็นจุดสังเกต
ถ้ารู้จริงแล้วจะเห็นได้ทั้งหมด
(โอกาสต่อไปอาตมาจะแสดงให้ดูจนหมดนะ)
ตอนนี้มีญาติบางส่วนมาทำความรู้เรื่องนี้โดยตรงที่วัดอยู่ และอาตมาอยากให้ความรู้เกิดกับบุคคลผู้อยากรู้โดยตรงอยู่ก่อน จึงแสดงเฉพาะผู้ที่มาฟังตรงๆเท่านั้น(เพื่อป้องกันครูอาจารย์มักมาก ฯ ด้วย)
เห็นท่านใส้ใจในอุโปสถศีลยิ่ง ธรรมของพระศาสดานั้น ต้องรู้ความจริงว่า คนเรานั้น ต้องเดิน ยืน นั่ง นอน ดู ฟัง ดม กิน สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ เพื่อเป็นอาหาร เพื่อความดำรงอยู่ของชีวิต ตรงนั้นล่ะที่เป็นความรู้อันยิ่งของพระศาสดา คือ ต้องกระทำการดำเนินชีวิตปกติ อย่างมีความสุข แต่ต้องพ้นทุกข์จากวัฏฏะด้วย ตรงนี้ จึงประกาศอริยสัจจ ๔ ขึ้นไว้ให้เราปฏิบัติตาม เหมือนท่านทำได้ผลแล้ว
ตรงนี้ ตัวคุณยงยุทธ เองต้องเห็นก่อน เมื่อเห็นมีศรัทธาแล้วจึงเอาตนเข้าสู่ฐานะที่ไปปฏิบัติอยู่นี้ จึงจะเกิดผล โดยปฏิบัติตามหลักธรรมโดยลำดับด้วย
ไม่ใช่ไปเพื่อให้ได้ทำ แต่ไม่รู้ทำอะไร เพื่ออะไร
ดังนี้เรียกว่ารู้ไม่จริง ปฏิบัติก็เกิดผลที่ไม่จริง
ถึงเกิดผลจริง ก็บอกตนเองไม่ได้ว่า จริง หรือไม่
ดังนั้น จึงต้องหาผู้รู้ หาครูที่แท้จริงเท่านั้น
รายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาทนั้น ค่อยศึกษาและต้องศึกษา ถ้าไม่ศึกษาจะเหมือนท่านพระอานนท์ และคนทั่วไป นั่นล่ะ
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า
เข้าพรรษานี้งานทั้งหมด อาจจะถูกเก็บลงก่อน เพราะงานศาสนาของพระศาสดานี้เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งจะต้องเป็นไปในองค์ธรรมจริงๆ จึงเคยถามท่านว่า ท่านอยู่ไกลไหม ? นั่นล่ะ
จบการบันทึก
คำถามใหม่จากคุณ Praphard เรื่อง การทำอานาปานสติ บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 25-6-2565
คำถาม (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณ Praphard)
กราบนมัสการพระอาจารย์และขออนุญาตพระอาจารย์น่ะครับ ผมขอเสริมนิดหน่อยเผื่อมีประโยชน์
เท่าที่มีประสบการณ์ในการทรงฌานในรูปแบบอนาปานสติในการกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้าออก. ลมหายใจเข้าสั้นรู้ ออกสั้นรู้ แต่ต้องประกอบด้วยอริยสัจสี่และโพธิปักขิยธรรมเป็นบาทเป็นสาระ เหมือนการทำฌานที่ถูกต้องตามธรรมแบบอื่นๆ และกาย เวทนา จิตและธรรมก็ยังปรากฏเหมือนภาวะปกติ วิญญาณก็ยังคงเที่ยวไปเหมือนเดิม
ซึ่งสมัยนี้ผู้ปฏิบัติจะพลาดตรงสาระสำคัญของอนาปา คือธรรมที่ชื่อว่าอริยสัจสี่และโพธิปักขิยธรรม ซึ่งธรรมสองส่วนนี้ปัจจุบันไม่มีใครน้อมมาเป็นสาระอีกแล้ว แต่บางคนกลับสามารถระลึกธรรมตรงนี้ได้เอง จึงปฏิบัติการละได้โดยชอบ กระทำอนาปานสติได้ตรงตามธรรมและยังสามารถเข้าถึงฌานต่างๆได้ประจักษ์แก่ตนเอง
ส่วนตัวเห็นว่า อนาปาสามารถเข้าถึงปฐมฌานและฌานที่ยิ่งๆขึ้นไป ได้เร็วกว่าการทรงในอริยบทอื่นๆนัก เพราะอนาปานสติจะมีจุดเด่นตรงที่อาศัยการทรงสติอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นการทรงสติในลักษณะของอริยกันตศีลต่อ กาย เวทนา จิต และธรรมจึงมีความต่อเนื่อง บริสุทธิ์ ตลอดการพิจารณาเพื่อละนั้น
มีการกระทำการดับทุกข์ตลอดในการทรงอนาปา. เหมาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ค่อนข้างมีศีลสมบูรณ์ทางกาย วาจาใจ และมีสัมมาทิฏฐิที่ดีมาก่อนแล้วในเรื่องของวิญญาณและนิวรณ์
คำตอบ
ตอบคุณเฉพาะคำความที่ ๒ ว่า การทำฌานของพระศาสดา"มีวิธีเดียวเท่านั้น" ไม่มีอื่นๆ
คุณ Praphard อธิบายต่อพระอาจารย์ว่า
(มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณ Praphard)
เป็นวิธีเดียวข้อนั้นเห็นจริง เห็นสมควรเหมือนพระอาจารย์กล่าว สาระสำคัญคืออริยสัจและโพธิปักขิยธรรม ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิตรงแล้ว จะเห็นตรงกันในข้อนี้ ตนเห็นว่าอนาปานี้...จะเหมาะกับผู้ที่มีกิจภาระในชีวิตประจำวันน้อย มีเวลามาก เหมือนพระภิกษุ สามเณร อย่างมีนัยยะ เหมือนเป็นเครื่องทรงอยู่ ส่วนของฆราวาสก็เป็นผู้ที่ทำกิจเล็กกิจใหญ่ ทำนั่นทำนี่แต่ก็ทรงกระทำฌานได้ตามเครื่องอยู่ของตนๆได้
พระอาจารย์ ตอบกลับ คุณPraphard ว่า
วิธีเดียวนั้นล่ะ ทั่งเดิน ยืน นั่ง นอน ดู ฟัง ดม กิน สัมผัส รับรู้ธรรม ทำการทำงาน อยู่ในสภาวะไหนก็วิธีเดียว ไม่แยกอานาปนสติอะไรเลย เพราะทั้ง สติปัฏฐาน ทั้งอานาปนสติ ทั่งกายคตาสติ ทำด้วยอริยสัจจ ๔ หรือ โพธิปักขิยธรรมเท่านั้น แม้พระศาสดากระทำอยู่ขณะจะปรินิพพาน ก็วิธีเดียวกันนี้
คุณ Praphard อธิบายต่อพระอาจารย์ว่า
(มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณ Praphard)
จริงตามนั้นครับพระอาจารย์ ผมก็เห็นว่าธรรมสองส่วนนี้คือ อริยสัจและโพธิปักขิยธรรม ต้องเข้าใจแล้ว ถึงจะกระทำฌานได้ตรงตามธรรม ความเข้าใจผม อนาปาเหมือนเป็นเครื่องทรงอยู่อย่างหนึ่ง เป็นอริยบทหนึ่ง แต่ก็เหมือนเดิมธรรมคืออริยสัจสี่และโพธิปักขิยธรรมก็ทรงอยู่ เป็นสาระของการกระทำฌานเช่นเดิม
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณนะ เรื่อง ขณะหลวงพ่อแสดงธรรมหลวงพ่ออยู่ในฌานหรือไม่
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 27-6-2565
คำถาม
ตอนที่กำลังนั่งสนทนาธรรมกัน หลวงตาอยู่ในฌาณหรือไม่ครับ😊
คำตอบ(คำตอบมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)
การทำฌานนั้น กระทำเมื่อเกิดทุกข์
เมื่อเห็นเหตุแห่งทุกข์
กระทำนิโรธ(ทั้งสมถะ หรือวิปัสสนา ด้วยการทำฌาน)
ด้วยอริยมรรค ๘(โพธิปักขิยธรรม)
แต่ถ้าไม่มีเหตุแห่งทุกข์ ไม่ต้องทำฌาน
ซึ่งการทำฌานนั้น ผู้ทำเป็น ทำได้แล้วนั้น จะเป็น จาตุนนํ ฌานานํ ฯ คือ ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ลำบากนั้นฯ การทำฌานนั้น จะจำกัดด้วยเวลาไม่ได้ จะจบด้วยกำหนดเวลาไม่ได้ ทำจบ ก็คือ ทำจบ ยังไม่จบก็รู้ว่ายังไม่จบและต้องทำต่อ
แต่ไม่เคร่งคุม เหมือนจับนกคุ้มแน่นไป นกตาย
และไม่ปล่อยหลวม เพราะนกจะบินหนี
แต่จับพอดี จึงจะอยู่ได้ทั้งนกและผู้จับ
หลวงตา ทำเมื่อมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุ ไม่ทำ
เพราะไม่มีทุกข์อะไรที่ต้องดับ
นั้นเป็นเพราะว่า ทุกข์ที่มีก่อนนั้นเราดับด้วยสมถะแล้ว
ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในทำนองเดียวกันนั้น เราทำวิปัสสนาแล้ว ดังนี้
คุณนะ ถามพระอาจารย์ต่อไปอีกว่า
ดังที่หลวงตาได้อธิบายมานั้น หลวงตาอธิบายจากประสบการณ์ส่วนตัว
หรือมีพระสูตรรองรับครับ ถ้ามีพระสูตรรองรับขอความกรุณาบอกพระสูตรให้ผมได้ไปศึกษาเพื่อความแจ่มแจ้งด้วยครับ
คุณชวลิต ร่วมสนทนาธรรมกับ คุณนะ ว่า
ขออนุญาตนะครับ คุณนะ จากที่ผมได้ฟังภันเตมานั้น
ฐานะอย่างพวกเรา คือ การฟังครับ จะไปศึกษาตามไตรปิฎกเอง ไม่ใช่ฐานะครับ
คนที่จะรู้ตามไตรปิฎกได้คือผู้ที่มีฐานะ มีอุปนิสัยในชาติปางก่อนครับ
ฐานะเช่นกระผมคือฟังต่อจากผู้ที่รู้ตามธรรมในพระไตรปิฏกครับ มาเถิดครับ เรามาช่วยกันให้ถึงฐานะยิ่งๆขึ้นไปครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
คุณนะ ตอบกลับ คุณชวลิต ว่า
อ้าว รู้จักผมด้วยหรือครับ ผมนึกไม่ออก
จำได้ว่าเคยเจอหลวงตากับศิษย์พี่ปิยชาติ แต่คุณชวลิต ผมจำไม่ได้ครับ
พระอาจารย์ตอบกลับคำถาม คุณนะ ดังนี้ว่า
อุปกฺกิเลสสูตร เล่ม ๑๔
เทวทหสูตรที่ ๑ เล่ม ๑๔
อื่นๆในเล่ม ๑๔ จนอินทรืยภาวนาสูตร ก็เล่ม ๑๔
พระสูตรใดที่มีคำว่า ฌาตุนนํ ฯ ดังนี้นั้นล่ะ
คือพระสูตรที่บอกว่า ได้ตามปรารถนาได้ไม่ยากในการทำฌาน
เมื่อมีเหตุเกิดทุกข์เกิดขึ้น ศึกษาดูเถิด
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า
ตอบคำถามที่ว่า ส่วนตัวหรือนั่น
ทำไม่ได้ พูดไม่ได้ และไม่เป็นตามลำดับได้เลย
อ้อ ลืมบอกไปว่า การทำฌานที่ละเอียดสุด
คือ อนุปทสูตร เล่ม ๑๔
ถ้าใครทำตามนี้ไม่ได้ คนนั้นไม่รู้จักฌาน ทำฌานไม่ได้ด้วย
คุณนะ ตอบกลับพระอาจารย์ ว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณนะ)
ผมเข้าใจที่คุณชวลิตสื่อครับ ก็เลยถามกลับไปว่ารู้จักกันหรือ ส่วนอนุปทสูตร ผมรู้จักดี และผมก็ยังสงสัยที่หลวงตากล่าวว่า กระทำฌาณ ได้ฌาณ มันจะไปทำไปได้ ได้อย่างไร
และตามพระสูตรที่หลวงตาให้มาก็ไม่ได้มีการรองรับดังที่หลวงตากล่าวว่า หลวงตา ทำฌาณเมื่อมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุ ไม่ทำ เพราะไม่มีทุกข์อะไรที่ต้องดับ นั้นเป็นเพราะว่า ทุกข์ที่มีก่อนนั้นเราดับด้วยสมถะแล้ว ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นมาทำนองเดียวกันนั้น เราทำวิปัสสนาแล้ว ดังนี้ ต้องมีการทำฌาณและหยุดทำฌาณหรือครับ
พระอาจารย์ ตอบคุณนะ ดังนี้
การทำฌาน คือ การดับทุกข์ เมื่อไม่มีทุกข์ ก็ไม่ต้องดับ
เหมือนนักดับเพลิง ไม่มีไฟไหม้ ก็ไม่ต้องดับ
ถ้ามีไฟเกิด เขาก็ดับ
ฌาน คือ ดังนี้
คุณนะ ถามพระอาจารย์ต่อไปอีกว่า
และ อนุปทสูตร ก็ไม่มีคำตรัสจากพระพุทธองค์แม้แต่คำเดียวว่า สารีบุตรกระทำฌาณ สารีบุตรกระทำการดับทุกข์ ... จะมีก็แต่คำว่า รู้แจ้ง รู้ชัด มีกล่าวถึงการกระทำเพียงอย่างเดียวคือ "มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน" .... รายละเอียดเหล่านี้ หลวงตาโปรดช่วยพิจารณาด้วยครับ เพื่อความหมดจดแห่งธรรมที่จะส่งต่อสืบไป
พระอาจารย์ ตอบ คุณนะ ดังนี้
อนุปทสูตร คือขั้นตอนการทำฌาน ๑ - ๔ อรูปฌาน
๕ - ๘ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
ทำไมจึงว่า ไม่มีการทำฌานหนอ ?
พระอาจารย์ อธิบายต่อไปอีกว่า
ถ้าคุณดูไม่ออก แล้วใครจะดูออกหนอ
ทั้งๆที่บอกแล้ว ว่านี่คือการทำฌาน ก็ยังบอกไม่มี
ถ้าอย่างนั้นก็เป็นดังคำศาสดาแล้วล่ะ
อญฺญตฺถาทิฏฐิเกนฯลฯ เอาไว้มีโอกาสภายหลังค่อยว่ากัน ปิยชาติ เขาจะฟังคืนนี้
คุณนะ ถามพระอาจารย์ต่อไปอีกว่า
อนุปทสูตร คือลำดับบทแห่งการเห็นแจ้งธรรม(ฌาณ)
กล่าวถึงองค์ประกอบและปัจจัยอันนำมาซึ่งการ รู้แจ้งฌาณ เมื่อองค์ประกอบครบการเห็นแจ้งฌาณจึงปรากฎ ทำไมหลวงตายังยืนยันว่าเป็นขั้นตอนการกระทำฌาณอยู่อีก อะไรมันผลักดันให้กระทำหนอ?
คุณชวลิต ได้ตอบกลับคุณนะ ว่า
ไม่รู้จักกันครับ ผมเห็นเหตุอาจจะสนทนากันในธรรมได้ งั้นกระผมขออภัยด้วยครับ
พระอาจารย์ ตอบ คุณนะ ดังนี้
นี่ล่ะคือขั้นตอนของการทำฌาน
อาตมา นี่ล่ะจะประกาศการทำฌานตามนี้
ส่วนคุณเห็นอย่างไร นั้นอีกเรื่องหนึ่ง
อาตมา หรือใครในโลกก็ทำอะไรคุณไม่ได้(หรอก)
และน่าจะยืนยันได้ว่ามีอาตมาคนเดียวนี่ล่ะที่พูดเรื่องนี้
พระศาสดาตรัสว่า เพื่อความอยู่เป็นสุขให้เราต่างคนต่างอยู่เถิดดังนี้
คุณนะ ตอบกลับ พระอาจารย์
ยาว~~~เลย พระคุณท่าน 🙏สาธุ 😅
จบการบันทึก
คำถามใหม่จากคุณ Preecha เรื่องคำว่าเอกัคคตา ความหมายเหมือนสมาธิหรือไม่
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 28-6-2565
คำถาม
ในช่วงเวลา 15.20 ของคริป คำว่า เอกะคะตา จิตเป็นหนึ่ง ความหมายเหมือนกับคำว่า สมาธิ ไหมครับ เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ อธิบายด้วยครับ
คำตอบ
วิธีตรวจจิต ตามลำดับในจิต ๑๖ ขั้น
ท่านใช้สมาหิต จิตตั้งมั่น หรือสมาธิ
ได้แล้วจึงจิตวิมุติ ดังนี้
ตอบว่า ใช่
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณชวลิต เรื่อง กรรม
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 29-6-2565
คำถาม
กราบ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ ภันเต กระผมมีปัญหาว่า เป็นคนมีนิสัย ชอบอวด ชอบโชว์ เกิดจากเหตุใด และจะแก้ไขได้อย่างไรครับ ๑
อีกเรื่อง คือ ภรรยาของกระผมมีทุกข์มาก เพราะพี่ชายของเธอฆ่าตัวตาย เธอปริวิตก และอยากรู้ว่า ผู้ที่กระทำกรรมแบบนี้ เขาจะต้องตกอบายอย่างเดียวเลย หรือต้องตายแบบนั้นเดิมๆซ้ำๆ เหตุที่คิดเช่นนั้นเพราะชาวโลกกล่าวกันอย่างนั้น ๑
จริงๆปัญหานี้ผมใคร่ครวญดูแล้วก็ไม่น่าถาม แต่เป็นเพราะคิดว่า อาจจะเป็นเหตุที่ทำให้ภรรยาของกระผม ได้สนใจในภันเต และเธออาจจะได้ฟังธรรม นี้จะเป็นประโยชน์กับ กระผมและครอบครัวของกระผมมากๆ จึงขอความอนุเคราะห์จากภันเต ด้วยครับ
คำตอบ
ข้อ ๑ ถ้าพูดถึงผลแห่งกรรมเป็นได้ทั้งจากกรรมเก่า
ที่ชอบแสดงออกอย่างนี้ เพราะเรามีดีจริง ๑ (ถ้ามีดีจริงนะ) เพราะเราทำด้วยความคุ้นชินแล้ว ก็มีคนชื่นชม ๑(ถ้าเป็นของดีจริง)
แต่ถ้าเป็นการแสดงออกที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง นั้นท่านคงไม่ทำแน่ ๑ หรือถ้าแม้นเพื่งเกิดจากกรรมใหม่ในชาตินี้ ก็ต้องถือว่า เกิดจากการทำแล้วส่งผลต่อความรับรู้ของท่านเองเหมือนเบื้องต้นโน้น
ถ้าเชื่อว่า เป็นสิ่งดี เกิดประโยชน์ต่อตนต่อส่วนรวมก็ทำได้ ๑ แต่ถ้าทำแล้วเกิดโทษทั้งต่อตน และคนอื่น ก็หยุด ๑
เรื่องนี้ จากพฤติที่ ท่านแสดงมาคราวก่อน คือคึกคะนอง ชอบข่มคนอื่นดูหมิ่นคนอื่นในทำนองนี้นั้น เบื้องต้นนั้น ท่านอาจจะรู้ตัวเองอยู่แล้ว ๑
หรือ ถูกคนอื่นตักเตือนด้วยผลที่ปรากฏบ้าง ๑
ดังนั้น ถ้าจากพฤตินั้นแล้วเห็นว่าเป็นโทษล่ะ ไม่มีประโยชน์เลยในทุกส่วน ก็หยุด คนที่จะหยุด ก็เป็นเรานี้เอง เพราะเห็นโทษ เห็นทุกข์แล้ว ว่าพฤตินี้ทำแล้วเกิดโทษ คือ ทุกข์ ๑ สืบให้รู้ด้วยตน หรืออาศัยผู้รู้ว่าคือสาเหตุอะไร เป็นเหตุให้แสดงเช่นนี้ สมุทัย ๑
หลังจากนั้นเราดับทุกข์ ดับเหตุที่เกิดทุกข์นั้นด้วย สมถะ คือเกิดขึ้นต่อไปนี้เราดับให้จบลงให้ได้ จากนั้น จึงเห็นว่า ถ้าอาการชนิดนี้จะเกิด เราเห็นคุณ เห็นโทษ ให้ถ้วนเสียแล้วเพียรดับไว้ไม่ให้เกิดอีก เรียกว่า วิปัสสนา ๑ ด้วยโพธิปักขิยธรรมเท่านั้น
และละด้วยการทำฌานเท่านั้น คือเมื่อละอยู่ก็รู้ว่าละอยู่ ละยังไม่ได้ก็รู้ว่าละยังไม่ได้ และเมื่อละได้แล้วก็รู้ว่าละได้แล้ว ที่เรียกดับด้วยมรรค ทำดังนี้ ๑
อย่าให้ด้ามพร้าด้วยเข่า ในสิ่งที่ยากเกินไป
แต่ ถ้าหักดิบได้ รวดเร็ว ก็อยู่เห็นโทษ ก็จะได้ง่ายเอง
จบการบันทึก
การสนทนาธรรมกับพระอาจารย์จาก คุณ Pijaya
เรื่อง ความหมายของคำว่าโพธิปักขิยธรรม
บันทึกเมื่อวันที่ 3-7-2565
คำถาม (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณ Pijaya)
ที่มาใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพธายสูตร และ โพธิปักขิยวรรคที่ ๗ พระไตรปิฎก ฉบับหลวงแปลว่า โพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป เพื่อความตรัสรู้
แต่ภาษาบาลีอักษรไทย เขียนว่า โพธิปกฺขิโย ธมฺโม ตํ โพธาย สํวตฺตติ สำหรับคำว่า โพธาย หรือ โพธายาติ บ้างก็แปลเป็นไทยว่าความสงบระงับ ดับไป
แต่คำว่า "โพธิ" แปลว่า รู้ ตื่นรู้ หรือตรัสรู้ หากแปลตามศัพท์ตรงๆ ครับ ต้องไปสอบตั้งแต่ต้นฉบับบาลีแล้ว หากจะมีคนแย้งตามศัพท์หลักฐานที่ปรากฎในพระไตรปิฎก
คำตอบ
คำว่า โพธาย นั้น ผู้แปลท่านใช้หมายถึงรู้จริง
ดังใน โพธิราชกุมารสูตร ที่พระศาสดาตรัสว่า ทางนี้ล่ะเป็นทางเพื่อตรัสรู้ และเราได้มีสติแล้นไปตามทางนั้น ฯ
ตรงนั้นเป็นทางตรัสรู้จริง และเราก็เห็นได้ว่า เหตุปัจจัยแห่งการตรัสรู้นั้น
มาจากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และอานิสงส์ ๔
และเมื่อตรัสรู้แล้ว ท่านประกาศอริยสัจจ ๔
เพื่อความดับทุกข์ โดยโพธิปักขิยธรรม
ถ้าโดยนัยยะ จะหมายถึงการตรัสรู้ด้วยก็ได้
เพราะคนบรรลุธรรม หรือมีองค์แห่งพุทธวิสฺสโย
เท่านั้นจึงจะกระทำแห่งทุกข์ให้สิ้นไปได้
จากคำที่หมายถึงตรงนี้นั้นได้ แต่ ผู้รู้ก็ต้องรู้ลึกลงไปอีกว่า ธรรมนี้ประกาศไว้ให้เป็นธรรมสำหรับดับทุกข์ และคนที่จะดับทุกข์ได้ ต้องเป็นคนที่บรรลุธรรมแล้วเท่านั้น หรือ ถึงฐานะโพธิยาแล้ว ดังนี้
เพราะองค์ธรรมไม่ขัดกันก็จริง ถ้าเรามาปฏิบัติโพธิปักขิยธรรมโดยตนไม่บรรลุธรรม เพราะเหตุแห่งการฟังมาก่อน ก็จะทำไม่ได้อยู่ดี
พระอาจารย์ อธิบายต่อไปอีกว่า
โดยสรุป แม้คนที่รู้ว่าโพธิปักขิยธรรม นี้
เป็นธรรมดับทุกข์อยู่ก็จริง
ถ้าหากไม่บรรลุธรรม ก็ปฏิบัติไม่ถูก ไม่ได้
หรือปฏิบัติธรรมนี้เพื่อความดับทุกข์ไม่ได้อยู่ดีนั้นเอง
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณรายธรรม เรื่อง สติ กับ สัญญา เป็นตัวเดียวกันหรือไม่
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 6-11-2565
คำถาม
กราบนมัสการครับหลวงพ่อ 🙏 ผมมีคำถามที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อธรรมครับ ปัจจุบันผมยังฟังธรรมที่หลวงพ่อแสดงและพิจรณาให้เห็นแจ้งอยู่เสมอ จนมาวันหนึ่งย้อนไปฟังเรื่องสัญญา 10 ประการ ที่ผมได้โหลดเก็บไว้
เห็นสัญญาที่ 10 คือ อานาปานสติ จึงมีคำถามว่า สติ กับ สัญญา เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ 🙏
คำตอบ(คำตอบมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)
สติ มักจะใช้ต่อกับสัมปชัญญ คือ ความเข้าไปรู้ตาม
สัญญา คือ ความรู้ในสิ่งนั้น เช่น รู้ว่า เขียว เหลือง แดง ขาว
แต่ยังไม่ถึงฐานะปัญญา คือ ยังมีส่วนรู้ที่ผิดอยู่
เช่นรู้อย่างอวิชชา หรือเมื่อมีความรู้ที่ถูกต้องก็รู้อย่างวิชชา(มีปัญญาแล้ว)
ฉะนั้นนี่คือความประณีตในธรรม
สติ ก็รู้ แต่รู้ในฐานะนั้น
สัญญา ก็รู้ รู้ในสิ่งนั้นทั้งผิดทั้งถูกได้
ถ้าถามว่า ตัวเดียวกันไหม ตอบว่าไม่ใช่
เพราะมีระดับความประณีตต่างกันอยู่
และถ้าจะตอบว่า เป็นตัวเดียวกันก็ได้ คือตัวรู้ได้
แต่แยกชัดให้เห็นว่า รู้อย่างไร รับรู้อย่างไร เป็นสำคัญ
อันเป็นความประณีตยื่ง(นั้นคือความสำคัญยิ่ง)
ยังฟังธรรมอยู่หรือ?
บางทีอาจจะมีเรื่องต้องไหว้วาน นะ ถ้ายินยอมจะบอกในภายหลังนะ
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ ว่า
ยังฟังธรรมหลวงพ่ออยู่ครับ ได้ความรู้ในธรรมเพิ่มไม่ซ้ำเลยในการฟังแต่ละครั้ง 🙏
ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ ในเรื่องสติกับสัญญาเป็นตัวเดียวกันหรือไม่ครับ หากไม่ได้ถามหลวงพ่อก่อน ผมคงจะเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเดียวกันโดยส่วนเดียวเป็นแน่ 🙏
มีเรื่องใดให้ได้ทำขอทราบครับหลวงพ่อ 🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรมว่า
จะว่าอย่างเดียวก็ได้ จะว่าคนละอย่างก็ได้
จะว่าไม่ใช่อันเดียวกันก็ได้ จะว่าอันเดียวกันก็ได้
แต่ถ้าในฐานะผู้รู้แล้วจะเห็นความประณีตในสภาวะแห่งจิตนี้ตามธรรมพระศาสดาว่า มหัศจรรย์ยิ่งนัก
พระอาจารย์ สนทนากับคุณรายธรรมดังนี้ว่า
ธรรมพระศาสดาที่อาตมาแสดงอยู่ทั้งสิ้นนั้น
เบื้องต้นนี้อาตมาได้แสดงให้ปวงญาติ หรือเทพนิกายในอาตมาได้ฟังเป็นเบื้องต้น
โดยอาศัยการสื่อสารสาธารณะ มาจะ ๒ ปีแล้ว ๑
ขณะที่อาศัยสื่อกลางนั้น คนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนรู้เห็น หรือได้ฟังร่วม เช่นโยมนี้เป็นต้น ๑
จากนั้นโยมขออนุญาตนำไปถ่ายทอดต่ออีกชั้นหนึ่ง
ถือเป็นบุรุษที่ ๓ บอกเล่าสู่คนที่ ๔ อีก ๑
จาก วันที่ ๓ มกราคม ๖๖ จะถึงนี้ เป็นระยะที่ ๓ ในการทำงานการศาสนาในพระศาสดา เพื่อมวลมนุษยชาติของอาตมา ในระยะวันเวลาดังกล่าวนั้น อาจจะต้องมีเรื่องขอให้ช่วยในการทำงาน แต่คืออะไรนั้น จะบอกในระยะนั้นเลย ดังนี้ จึงขอเอาไว้
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ ว่า
รับทราบครับหลวงพ่อ เป็นที่น่ายินดีต่อมวลมนุษยชาติ ที่จะได้รับฟังธรรมในองค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หลวงพ่อแสดง ธรรมนี้ถูกปิดมา 2500 ปีเศษๆแล้ว หากไม่ได้หลวงพ่อ ผมเองไม่ทราบว่าอีกกี่ชาติจะได้เห็นธรรมนี้ กราบขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ครับ 🙏
หลวงพ่อรับทราบแล้ว ผมลบคำถามนี้ออก เพื่อไม่เป็นการชี้ชวนตามประสงค์หลวงพ่อนะครับ🙏
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณรายธรรม เรื่อง เราได้ตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณที่ไม่มีใครค้านได้
บันทึกคำถามตอบเมื่อ 14-3-2566
คำถาม (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณรายธรรม)
รับทราบครับหลวงพ่อ ในขณะนั้นเดิมทีผมเห็นตามหลวงพ่อแล้วว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องวิญญาณ โดยธรรมปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเห็นชัดจึงถามพระสูตรจากหลวงพ่อ
จริงๆแล้วถึงแม้จะไม่มีพระสูตรยืนยันก็เห็นได้ชัดครับว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องวิญญาณ ตามธรรมของพระพุทธเจ้าที่หลวงพ่อนำมาแสดงที่ชื่อปฏิจจสมุปบาท
ผมมีหลายคำถามที่ถาม ในทุกคำถามได้ความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อเสมอๆ ปัจจุบันยังฟังธรรมหลวงพ่ออยู่ครับ ได้ความรู้เพิ่มอยู่ตลอดด้วยการฟังซ้ำอยู่เนืองๆ ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ครับ🙏
คำตอบ(คำตอบมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)
ไม่มีพระสูตรยืนยัน ถือว่า แสดงธรรมไม่บริบูรณ์
อาตมา ตั้งสติรำลึกถึงวันแสดงธรรมนั้นเสมอ
แต่คำที่อาตมา แสดงธรรมพระศาสดาว่า
" เราได้ตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณท่่ไม่มีใครค้านได้" นั้น
เป็นคำที่ทำให้อาตมาต้องตอบโยมช้ามาจนวันนี้
เพราะในพระสูตรไม่มีบทพยัญชนะนี้
แต่อาตมาเห็นชัดเจนอยู่(เท่านั้นเอง)
ไม่ต้องลบเนื้อความเหล่านี้ เพราะคนอื่นก็สงสัย
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า
แล้วคุณรายธรรมเห็นหรือยังว่า ตรงไหน ?
คือ คำที่ตรัสว่า " เราได้ตรัสรู้เรื่องวิญฺญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้" นั้น
คุณรายธรรม ตอบกลับหลวงพ่อว่า
ผมเห็นคำว่าเราตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้ เบื้องต้นที่ปฏิจจสมุปบาท ที่ได้ฟังหลวงพ่อแสดงเรื่อง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ทำให้ผมเห็นตามได้ว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือวิญญาณ
มาตอนนี้ได้ฟังหลวงพ่ออีกครั้งเรื่อง ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ตรงนี้ผมเห็นวิญญาณและนามรูป ที่อาศัยกันเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่า อากาศ ใช่นามหรือไม่
ดินไปพอดิน น้ำไปพอน้ำ ไฟไปพอไฟ ลมไปพอลม อากาศยังไม่แน่ใจ แต่ทราบชัดว่ายังไม่ใช่สิ่งที่ไปตามกรรม มีเพียงวิญญาณเท่านั้นที่ไปตามกรรม จึงเห็นตามหลวงพ่อว่าเราตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้ดังนี้
เบื้องต้นขอความอนุเคราะห์จากหลวงพ่อตรวจสอบความถูกต้อง และขอสอบถามในเรื่องของ อากาศ ที่เป็นไปตามธรรมครับว่าคืออย่างไร
ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ครับ🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรม ว่า
ตอบว่า อากาศ ไม่ใช่นาม
ส่วนที่ถามว่า คุณรายธรรม เห็นคำตรัสว่า
"เราได้ตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้นั้น"
ให้ดูในส่วนของพระสูตรที่อาตมาแสดงในงานนี้เท่านั้น ตั้งแต่ในส่วนธรรมที่ แสดงว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันแสดงแล้วที่คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ฯลฯ ไปจนจบธาตุ ๖ นั้น
โยมเห็นคำว่า เราได้ตรัสรู้วิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้ไหม ?(เท่านั้น คือ อยากรู้เท่านั้น)
ถ้าไม่มีอะไรหนักใจใดๆ เพียง
เห็นได้บอกว่า เห็น
ไม่เห็นบอกว่า ไม่เห็น
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณรายธรรม)
รับทราบแล้วครับว่า อากาศ ไม่ใช่นาม
ส่วนคำถามหลวงพ่อ ขอตอบว่า
เมื่อได้ฟังแล้วไม่เห็นคำว่า"เราได้ตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้าน"
ครับหลวงพ่อ
ขอความอนุเคราะห์แสดงธรรมเพื่อคลายข้อสงสัยเป็นวีดีโอครับหลวงพ่อ🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรม ว่า
ใช่ !!! ด้วยบทพยัญชนะตรงไม่มี แต่บทแห่งอรรถะและพยัญชนะอยู่ในหน้าพระสูตรที่แสดงนั้นอย่างชัดเจนอยู่ ที่ถามนี่เพราะงานธรรมนี้เพื่อตอบคำถามโยมโดยตรง จึงอยากบอกกับโยมให้รับรู้
ดูด้วยความใคร่ครวญเถิดจักเห็นตามได้ (ถ้าไม่เห็นจะแสดงให้ฟังในตอนหลัง ว่าคืออะไร ที่ไหน ? ที่ไม่ตอบตรงนี้เพื่อหยั่งความรู้ในธรรมของอื่นๆด้วยว่าใครมีอินทรีย์อย่างไร ? )
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณรายธรรม)
ตอบว่าไม่เห็น เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือครับหลวงพ่อ!!! ลึกซึ้งลงไปอีก กราบขอพระคุณในความอนุเคราะห์ครับหลวงพ่อ🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรมว่า(มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)
ไม่เห็นก็คือไม่เห็น แต่บทพยัญชนะที่ปรากฏนั้น
มีอรรถะที่ซ้อนลึกลงไปอยู่ ดังนั้น ผู้รู้จะเห็นทั้งอรรถะ และพยัญชนะ ที่ว่า
"เราตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณไม่มีใครคัดค้านได้" อยู่
มีโอกาสจะแสดงให้ฟังในภายหลัง แม้ อาตมาเองเห็นพระสูตร เห็นธรรมแล้ว พอจะกลับมาดูอีกเพื่อตอบโยมยังใช้เวลา ๑ ปี กับ ๗ เดือนทีเดียว จึงระลึกได้ (ลึกซึ้งยิ่งนัก)
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า
รับทราบครับหลวงพ่อ ธรรมนี้ลึกซึ้งยิ่งนัก หลวงพ่อเห็นอย่างไร ผมผู้รู้ตามเห็นอย่างนั้นครับ แต่ธรรมที่ยังเห็นตามไม่ได้ยังมีอยู่ เป็นส่วนของฝ่ายดับ โพธิปักขิยธรรม หัวข้อโพชฌงค์ 7 ครับหลวงพ่อ จึงขอโอกาสหลวงพ่ออนุเคราะห์แสดงโพชฌงค์7 ครับ
หลวงพ่อมีข้อสงสัยถามคุณรายธรรทว่า
เห็นตรงไหน ? คำว่า เราตรัสรู้ในเรื่องวิญญาณ ฯ โยมเห็นแล้วจริงหรือ ?
ถ้าทำโพชฌงค์ ๗ ไม่เป็น ก็ดับทุกข์ไม่ได้ เพราะนี่คือธรรมอันเป็นบทสรุปจบในการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อนิพพาน หรือปรินิพพาน
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณรายธรรม)
ไม่เห็นคำว่า เราตรัสรู้ในเรื่องของวิญญาณที่ไม่มีใครคัดค้านได้ครับ แต่ที่ว่าหลวงพ่อเห็นอย่างไร ผมผู้เห็นตามย่อมต้องเห็นอย่างนั้น
หมายถึงหากผมรู้ธรรมตามหลวงพ่อ ผมย่อมต้องเห็นตามธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น หลวงพ่อเมีความรู้สึกว่า จะมีผู้รู้ตามธรรมที่หลวงพ่อแสดงได้หรือไม่ ผมก็รู้สึกอย่างนั้น เพราะเหตุความลึกซึ้งในธรรมที่สุดประมาณ
โดยรวมผมยังเห็นตามธรรมหลวงพ่อได้ยังไม่หมดทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ แต่เก็บความรู้ด้วยการฟังเนื่องๆ จำติดปาก จำขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีทิฏฐิในธรรมที่หลวงพ่อแสดง ที่สุดเมื่อผมได้ทำอนุสาสนีปาฏิหาริย์กับหลวงพ่อ ผมจะได้มีภูมิธรรมไว้สอบถามหลวงพ่อเพื่อประโยชน์ตามเหตุตามปัจจัยครับหลวงพ่อ🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรมว่า
มีคนฟังธรรมพระศาสดาแสดงอยู่นี้แล้วรู้ตาม จนกระทั่งปฏิบัติจนถึงผลได้จริงนั้นมีอยู่ ดังนั้น ไม่ใช่แค่รู้สึกว่า มีคนรู้ตามธรรมได้ แต่รู้ชัดว่า มีคนถึงธรรมนี้ได้จริงอยู่ เช่น คุณชวลิต คุณลำพูน ฯลฯ
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า
อาตมา รับทราบว่าโยมยังเห็นเหตุเกิด เหตุดับมาตั้งแต่ตอนที่คุณไม่ทราบว่า ขันธ์ ๕ ย่อลงมาอย่างไร ? และเอาขึ้นเป็นปฏิจฺจสมุปฺบาทอย่างไร? แล้ว ถ้าไม่รู้ที่ตรงนั้นเบื้องต้น ที่อื่น หรือธรรมอื่น จะยากไปหมดเลย
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า
รับทราบครับหลวงพ่อ หลังจากที่ได้ฟังธรรมที่หลวงพ่อแสดงมาตามลำดับ ในตอนนี้ผมรู้ชัดว่าผมมีความรู้ในขันธ์ 5 ขึ้นมากแล้ว แต่หากยังไม่ได้รับการยืนยันจากหลวงพ่อ ผมจะถือว่าผมยังเห็นไม่ได้ก่อนครับ ขอพระคุณหลวงพ่อในความอนุเคราะห์ครับ🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรทว่า
ขันธ์ ๕ คือ ปฏิจฺจสมุปฺบาทเลย
ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ต่างหาก ปฏิจฺจฯ ต่างหาก
แต่เป็นธรรมเดียวเท่านั้น ธรรมย่อ กับธรรมเต็ม ไม่มีอะไรต่างกันเลย
คุณรายธรรม ตอบกลับพระอาจารย์ว่า
รับทราบครับหลวงพ่อ ปฏิจจสมุปบาท ขันธ์5 สติปัฏฐาน4 วิตกวิจาร ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ 🙏
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณรายธรรม เรื่อง ผัสโส เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ บันทึกคำถามเมื่อวันที่ 20-5-2566
คำถาม
กราบนมัสการครับหลวงพ่อ🙏 มีข้อสงสัยในเรื่อง ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ในองค์ฌาน1 ได้ฟังธรรมจากหลวงพ่อ ได้ทราบว่าผู้ที่จะกระทำฌานได้ จะต้องรู้ธรรมโดยถ้วนรอบก่อน นั่นหมายถึงว่า ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ หรือขันธ์5นี้
เป็นขันธ์5 ในแบบของผู้รู้ธรรมแล้ว โดยผมเข้าใจว่า เมื่อเราเห็นว่าผัสสะแล้ว เห็นว่าเวทนาเกิดแล้ว สัญญารับรู้แล้ว เรามีเจตนาที่จะละ ละวิญญาณ นั้นๆ ที่เป็นวิญญาณที่ยังมีตัณหา ทำให้เกิดวิตก วิจาร ผมเข้าใจในส่วนขันธ์ 5 ที่แสดงอยู่ในองค์ฌาน1 ดังนี้
ขอหลวงพ่อ อนุเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าผิดถูกอย่างไรในส่วนนี้เป็นเบื้องต้นครับหลวงพ่อ 🙏
คำตอบ
ไม่ใช่ลูก ถามว่าทำไมท่านไม่ใช้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เลยตรงๆ ทำไม จึงเป็น ผสฺส เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณํ ดังนี้ ดู ให้เห็นความลึกซึ้งนั้นเถิด
คุณรายธรรม ตอบรับธรรมพระอาจารย์
กราบขอพระคุณในความอนุเคราะห์ครับหลวงพ่อ 🙏
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณ panom เรื่องโพธิปักขิยธรรม
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 28-5-2566
คำถาม
หลวงพ่อ​ โพธิปักขิยะธรรม​ 37​ ก็คือ​
มรรคมีองค์​ 8
สติปัฏฐาน​ 4
สัมมัปปทาน​ 4
อินทรีย์​ 5
พละ​ 5
โพชณงค์ 7​
ใช่ไหมครับ
คำตอบ
ถูกต้อง อธิบายรายละเอียดองค์ธรรมในมหาสติปัฏฐานสูตร รวบรวมไว้ใน พตป เล่ม ๑๐ และเล่ม ๑๒
ต้องเข้าใจโดยรายละเอียดนี้จนสิ้นก่อน ทำได้ก่อน
จึงจะทำอานาปนสติ ด้วยโพธิปักขิยธรรมได้ และจึงจะเลยไปทำกายคตาสติได้
ถ้าทำที่มหาสติปัฏฐานไม่ได้ ไม่เป็น ก็จะตู่คำสอนโดยเห็นอานาปนสติ เป็นนั่งสมาธิไป เหมือนคนในยุคหลังพุทธกาลนี้ โดยทั่วไป ยกเว้นคนที่ได้ฟังธรรมนี้อย่างถูกต้อง ทั้งสอบในพระสูตร เทียบในพระวินัยให้ถ้วนเท่านั้น
คุณ panom มีคำถามต่อไปอีกว่า (มีการแก้ใขเพิ่มเติมโดยคุณpanom)
ตรงนี้เขาเรียกปรมัตถธรรม​ หรือ​ คำเรียกใหม่เรียกว่าอภิธรรมถูกต้องไหมครับ​ ผมศึกษาทั้ง​ อภิธรรมหรือที่เรียกว่าปรมัถธรรม​ และพุทธวจน​ สรุปได้คือเดินสายกลางมรรคมีองค์แปด​ ศีล​ สมาธิ​ ปัญญา​ หยิบ​ สัมมาสติมาปฏิบัติ​ ข้อเดียว​ ก็จะได้​ สัมมาสมาธิไปด้วยในตัว​ ผมเข้าใจถูกไหมครับ​
และการเจริญสติปัฏฐาน​ 4​ ก็คือการเจริญมรรคมีองค์แปดไปในตัวผมเข้าใจถูกไหมครับ​ มีสติรู้ลมหายใจ​หรือกายเรียกว่า​กายานุปัสนาสติปัฏฐาน​ มีสติรู้เวทนาเรียกว่าเวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน​ มีสติเห็นจิตใปรู้ลมหรือรู้กายเรียกจิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน​ มีสติเห็นความไม่เที่ยงจางคลายดับไม่เหลือสลัดคืนเรียกธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน​สติปัฏฐาน​ 4​ ทำให้มากเจริญให้มากจิตจะเอนไปสู่นิพพานโอนไปสู่นิพพานผมพอจะเข้าใจถูกบ้างไหมครับ​
หลวงพ่อก็อธิบายถูกครับแต่เป็นถูกในส่วนอภิธรรม หรือปรมัตถ​ธรรม​พระศาสดาสอนไว้มากครับ และยังมีคำอธิบายของสาวกรุ่นหลังๆอธิบายเพิ่มเข้าไปอีกทำให้ศึกษากันแทบไม่หมดจึงทำให้พุทธด้วยกันก็ยังเห็นขัดแย้งกัน ​แต่ผมเข้าใจท่านครับ​ ถ้ามีโอกาศคงได้สนทนาแลกเปลี่ยนกันบ้างผมก็อาจจำไม่แม่นเท่าท่าน​ เพราะเป็นฆราวาส​ แต่เรื่องจับประเด็นหรือสรุปความสำคัญพอได้ครับรู้เพื่อละเพื่อสละครับ
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณ panom ว่า
ตอบเป็น ๒ อย่างนะ
ปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
เรื่องนี้เอาไว้ฟังตอนอยากฟังจริงๆ
และฟังโดยตรงกับครูอาจารย์เพราะเรื่องสำคัญยิ่ง ๑
อีกอย่างที่พูดนั้น เหมือนนั่งสมาธิ เอาจิตไว้กับกาย
แล้วถือว่าตนได้ปฏิบัติมรรค ๘ แล้วนั้น
เป็นมิจฉาทิฏฐิ และกล่าวตู่คำสอนพระศาสดาทั่วไปในยุคนี้ คือการนั่งสมาธิ ซึ่งการนั่งสมาธินั้นไม่มี ใครปฏิบัติอยู่เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น
มรรค ๘ ที่คุณบอกว่า ปฏิบัติองค์ใดองค์หนึ่งก็พอนั้น นั้นล่ะยิ่งนรกใหญ่ ทำไม่ได้ จะเลือกทำอย่างเดียวได้อย่างไร ขนาดทั้ง ๘ องค์นั้นยังต้องมีโพธิฯ มาห้อมล้อมอีกจึงได้ พระไหน ครูไหนสอนเธอ(ชวนกันไปนรกชัดๆนี้)
ทางสายกลางไม่มี
มีแต่ปฏิบัติเพื่อความเป็นกลาง
บอกครูอาจารย์เธอได้แล้ว อย่าเดา อย่ามั่ว ขบวนนี้กำลังนำกันไปนรกนะนี่
คุณ panom ตอบกลับพระอาจารย์ ดังนี้ว่า
ถ้าท่านศึกษาพุทธวจนด้วยท่านอาจเข้าใจตรงกันกับผม เหตุเพราะท่านไม่ศึกษาพระสูตรเดิมที่ท่านพุทธทาสศึกษานะครับ​
อริยะสัจ​ 4นะครับ​ ผมไม่สังกัดใครครับแต่ชอบศึกษา
พระอาจารย์ตอบกลับคุณ panom ว่า
บุคคลที่คุณเอ่ยถึงนั้น คือ บุคคลที่รู้ถ้วนตามธรรมในพระศาสดาในพตป ได้
แล้วทำให้เลือกเฉพาะคำสอนพระพุทธเจ้าออกมาเป็นการรวบรวมเฉพาะ ขุมทรัพย์ฯ ขึ้น
คนนี้ล่ะต้นเหตุแห่งความเห็นผิดในยุคนี้
คนนี่ล่ะเห็นผิดในขันธ์ ๕
เห็นผิดปฏิจจสมุปบาท
กล่าวว่า คนเราทุกคนเกิดบริสุทธิ์
กล่าวว่า ธรรม คือธรรมชาติ
นำให้เกิดการนั่งสมาธิ คนนี้บอกว่า ถ้าจะดับทุกข์ต้องไม่เกิดปฏิจจสมุปบาท
คนนี้ล่ะคือต้นเหตุให้เกิดสาวกผู้เห็นผิด ที่คุณศึกษาอยู่
แล้วมีสาวกกลุ่มหนึ่งเข้ามาฟ้องอาตมา เมื่อได้ฟังธรรมที่อาตมาแสดงอยู่
เอาอย่างนี้ คุณอย่ามาฟังธรรมที่อาตมาแสดงอยู่เลย
ให้คุณตั้งใจฟังครูอาจารย์คุณแสดงธรรมเถอะ
ต่างคนต่างอยู่เถอะ(สำหรับคุณนะ)
ส่วนคนอื่นที่เขานำธรรมที่เขาปฏิบัติตามครูอาจารย์สะเพร่า มักง่าย พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ก็ให้เขามาฟ้อง อาตมา จะช่วยพวกนั้น
สำหรับคุณจงปฏิบัติธรรม สาวกของคุณ (อาตมา เรียกคนพวกนั้นว่า สาวกของคุณนะ) เพราะเหมือนคุณสั่งสอนสาวกให้มาแสดงธรรมพระศาสดาตามนั้น แล้วคุณยินดีอยู่
ปฏิบัติให้ถึงผลเถิด อย่านำผลนั้นมาแสดงกับอาตมาเลย เพราะอาตมารู้ว่าที่ทำอยู่นั้นเป็นขบวนลงนรกทั้งนั้นแล้ว
หวังว่า จะแอบอยู่ริมรั้วห่างๆนะ
พระอาจารย์ อธิบายต่อไปอีกว่า
จำคำอาตมาไว้ บุคคลที่คุณเอ่ยถึงคนแรกนั้นคือ
คนที่ทำให้พุทธศาสนาวิบัติ ทั้งที่บริสุทธิใจ
คนที่รับช่วงต่อนี้ทำไปเพื่อลาภสักการะ หวังความยิ่งใหญ่ แต่เขาไม่บรรลุธรรมเลย แสดงธรรมกลับหัวกลับหาง สาวกเกิดความสงสัยในธรรมที่เขาแสดงทั่วไป
จงเฝ้าดูอย่างตั้งใจเถิด แล้วปฏิบัติตามธรรมเขาเถิด
อยู่ที่นั่นดีแล้ว เหมาะกับคุณที่สุดแล้ว
พระอาจารย์ อธิบายต่อไปอีกว่า
การที่คุณออกปากว่า ชอบศึกษาไม่สังกัดใครนั้นล่ะ
คือฐานะอันเป็นสีพตปรามาส
เป็นไปในฐานะคนสะเพร่า ( )
ไม่กระทำตามศรัทธาให้ถึงผล ปล่อยวันคืนล่วงไปๆๆ
เออ ก็ยินดีแบบไหน ก็อยู่ที่นั่นเถอะ
คิดให้ได้เถิด ว่า ไม่มีอาตมาอยู่สักคนหนึ่งเถิด
คุณ panom ตอบกลับพระอาจารย์ว่า
พระสูตรเพียวๆที่ฟังแล้วเข้าใจได้เลยก็ผิดเหรอท่าน​
ผมฟังหมดแหละครับอยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แต่ทำไมสาวกเข้าใจไม่ตรงกัน จึงทำให้ผมฟังหลากหลายไงครับ​ ผมขอโทษท่านด้วยครับหวังว่าท่านคงพอเข้าใจผมนะครับ
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณ panom ว่า
การเข้าใจไม่ตรงกันนั้นประเด็นรอง นะ
เบื้องต้นคุณฟังแล้วคุณต้องเทียบในพระสูตร พระวินัยเลย ที่อาตมายกเบื้องต้นสุดเลย
คือ ใครเห็นขันธ์ ๕ ว่าคือร่างกายมนุษย์นั้น
คือคนเห็นผิดในธรรมทุกคน
(อาตมา ไม่ยกเว้นใครเลย แม้คนที่คุณเอ่ยชื่อ และคนที่รับช่วงนั้นคือตัวการเลยล่ะ)
สำหรับคุณ คุณจะตรวจสอบได้อย่างไรว่า ในการที่ครูอาจารย์ศึกษาธรรมพระศาสดาจาก พตป แล้วเห็นต่างกันนั้น คุณจะรู้ใครเห็นผิด เห็นถูกล่ะ ถ้าคุณไม่ตามพิสูจน์จนถึงผลตามหลักมหาปเทส ๔
คุณนี่ล่ะ คนเนิ่นช้า
คุณนี่ล่ะสำคัญตนผิดว่าเป็นชาวพุทธ
แต่ไม่เอาพระศาสดาให้ได้ทั่งที่มีโอกาส
หรือเป็นเพราะว่า อิธ เมว สจฺจํ โมฆ มญฺญญฺ ติ (ดังนี้)
ตามสมควรเถิดโยม
คุณ panom ตอบกลับพระอาจารย์ ดังนี้ว่า
ท่านโกรธผมเปล่าครับ แต่ผมไม่โกรธท่าน​ ที่ผมศึกษาฟังหลายที่ เพื่อที่จะรู้ว่าทำไมสาวกพระพุทธเจ้าจึงเข้าใจคำสอนไม่ตรงกัน ท่านไม่สงศัยบ้างเหรอครับ​​ กราบขอโทษท่านด้วยครับที่อาจทำให้ท่านรำคาญใจ
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณ panom ว่า
ถ้าเห็นผิดในเรื่องนี้เป็นเบื้องต้นแล้ว ธรรมอื่นที่แสดงอยู่ผิดหมด คุณเองจึงไม่รู้ว่าธรรมไหนผิด ธรรมไหนถูก ก็เกิดจากเห็นผิดในธรรมนี้
อาตมาจะแสดงให้เฉพาะคนที่ มาฟังอาตมาโดยตรง
เพื่อให้คนที่เห็นผิดนั้นตระหนักว่าธรรมพระศาสดาลึกซึ้งยิ่ง ดังนี้
คุณ panom ตอบกลับพระอาจารย์ ดังนี้ว่า
ผมเข้าใจท่านครับขอกราบขอบพระคุณที่ท่านเมตตาตอบ​
จบการบันทึก
คำถามใหม่จาก คุณรายธรรม เรื่องสัมมาวาจา
บันทึกคำถามตอบเมื่อวันที่ 28-5-2566
คำถาม (เมื่อ 5 เดือนก่อน)
กราบนมัสการครับหลวงพ่อ 🙏 ผมมีข้อสงสัยตรง มรรคมีองค์8 ในข้อสัมมาวาจา เราควรจะปฏิบัติในธรรมข้อไหน ในโพธิปักขิยธรรมครับ 🙏
คำตอบ(คำตอบมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระอาจารย์)(เมื่อ 5 เดือนก่อน)
ก็ท่านรู้ดีในมหาจัตตารัสกสูตรดีแล้วหรือ
ท่านแสดงเป็นชุด คือ จิต วาจา กาย อาชีวะ
ทุกเรื่องสัมพันธ์ กัน คุณทราบดีแล้วใช่ไหม ?
เช่น เราชอบใจ ปรารถนาสิ่งนี้ เป็นสัมมาสังกัปปะ
เราแสดงทางวาจา เพื่อได้สิ่งนี้ เป็นสัมมาวาจา
เรากระทำกางกาย เพื่อได้สิ่งเดียวกันนี้ เป็นสัมมากัมมันตะ เรากระทำเพื่อเลี้ยงชีวิตเราด้วยสิ่งเดียวกันนี้ เป็นสัมมาอาชีวะ
เป็นชุดๆอยู่ เป็นคำกลางๆ ต่อทุกสิ่งที่เราปรารถนา เป็นอาหาร เพื่อเลี้ยงกาย เลี้ยงชีวิต ที่เรายึดติดอยู่ มันทำให้เราเป็นทุกข์ในวัฏฏะสงสารอยู่ แต่บัดนี้ เรากำลัง ละ หรือดับสิ่งนั้นด้วยมรรค ๘ เพื่อพ้นทุกข์อยู่. นั่นคือการปฏิบัติ โพธิปักขิยธรรม หรือมหาสติปัฏฐาน ๔ อยู่
ถ้าถามว่า สัมมาวาจา อยู่ในข้อไหน ของโพธิปักขิยธรรมสัมมาวาจาอยู่ในทุกชุดในการดับทุกข์นั้นๆ
ทุกข์เกิดขึ้นที่อายตนะ ๖
ดับทุกข์ลงด้วย มรรค ๘ หรือ โพธิฯ หรือสติปัฏฯ ทุกอายตนะ สัมมาวาจาอยู่ทุกชุดของการปฏิบัติ
แต่ถ้าคุณสงสัยว่า ในโพธปักฯ นั้น ไม่มีสัมมาวาจา
คุณ สำคัญผิดในธรรมทั้งหมดอยู่แต่ต้นแล้ว
จะกลายเป็นคิดเอาเอง พูดเอาเอง ทำเอาเอง
จะเกิดความสงสัยในธรรม ในตน และคนอื่นเรื่อยไปนะ
พระอาจารย์อธิบายต่อไปอีกว่า
เอาไว้ ให้เป็นไปตามลำดับธรรมต่อๆไป อาตมา จะแสดงเรื่องนี้เป็นลำดับอยู่นะ มหาสติปัฏฐาน ๔ หรือโพธิปักขิยธรรมนี้ นั่นล่ะ จะเห็นธรรมทั้งสิ้นได้.
บางที ท่านอาจจะต้องลดความเห็นเดิมๆออกก่อน จึงจะตามรู้ได้นะ
คุณรายธรรม รับธรรมพระอาจารย์
กราบขอพระคุณหลวงพ่อที่เมตตาตอบครับ 🙏
ได้ใขข้อสงสัยขึ้นได้มากเลยครับ🙏
พระอาจารย์ อธิบายต่อไปอีกว่า
ขอย้อนไปข้อแรกอีกนะ เวลาพระศาสดาแสดงมรรค ๘ ท่านจะใช้ว่า เมื่อธรรม แต่ละข้อเป็น"ปโหติ" คือพอเหมาะแก่กันๆ คือในเรื่องเดียวกันนั้น เมื่อเริ่มที่จิต วาจาก็ตามมา กายก็ตามมา อาชีวะก็ตามมา อย่างพอเหมาะ
แต่ละชุดทำในเรื่องเดียวกันนั่นเอง.
คุณรายธรรม แสดงสงสัยในตน ว่า
ผมยังไม่เข้าใจ จิต วาจา กาย อาชีวะ เลยครับหลวงพ่อ แต่เคยฟังธรรมย้อนหลังของหลวงพ่ออยู่ครับ 🙏
พระอาจารย์ ตอบกลับคุณรายธรรท
ในชีวิตเรานั้น มีจิต เป็นตัวนำพาเราไปในทุกข์ ในวัฏฏะสงสาร
จิต มโน วิญญาณ นั่นล่ะนะ
คำว่า จิต คือ สังกัปปะ
วาจา คือ สัมมาวาจา
กาย คือ สัมมากัมมันตะ
อาชีวะ ก็คือ สัมมาอาชีวะ นี่
องค์ประชุม ๔ นี้ คือการกระทำที่สัมพันธ์กันในการดำเนินชีวิตเรานี่
จบการบันทึกคำถามตอบทั้งหมด
มีตอนหนึ่งที่พระอาจาร มีเรื่องไหว้วานให้คุณรายธรรมได้ทำ เรื่องนั้นมีความเป็นมาดังนี้ คุณรายธรรมได้นำวีดีโอที่พระอาจารย์แสดงธรรมไว้
แล้วคุณรายธรรมเห็นว่าธรรมนี้ควรเผยแพร่แก่ชนหมู่มาก คุณรายธรรมจึงได้ขอความอนุเคราะห์หลวงพ่อนำไปเผยแพร่ต่อในช่องของตนและได้รับอนุญาต
ต่อมาเมื่อเพราะอาจารย์เห็นว่าคุณรายธรรมยังไม่สามารถตอบความสงสัยแก่ผู้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าที่พระอาจารย์นำมาแสดง หลวงพ่อจึงขอให้คุณรายธรรม ตั้งค่าวีดีโอเหล่านั้น เป็นแบบส่วนตัวไว้ก่อน โดยคุณรายธรรมได้ปฏิบัติตามแล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
4 ถูกใจ
2 แชร์
793 รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 4
    โฆษณา