5 มิ.ย. 2024 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กองทุน B-ASIATECH โอกาสลงทุน Supply Chain โลก

แม้ว่าผู้ออกแบบและจัดจำหน่ายอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่กำลังได้รับประโยชน์จากกระแส Digitalization ส่วนมากจะอยู่ในซีกโลกตะวันตก แต่แท้จริงแล้วภูมิภาคเอเชียคือ Supply Chain รายใหญ่ของโลก เนื่องจากบริษัทและโรงงานต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีในระดับที่สามารถรับจ้างผลิตให้กับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ได้
ยกตัวอย่าง Apple ผู้ออกแบบและจัดจำหน่าย iPhone, iPad และ Macbook อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขวัญใจชาวโลกก็เลือกตั้งโรงงานผลิตในเวียดนามและอินเดีย ในขณะที่ Tesla ผู้ออกแบบและจัดจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า ก็กำลังพิจารณาเลือกตั้งโรงงานผลิตในเอเชียเช่นกัน
นอกจากความเชี่ยวชาญในการออกแบบและการผลิตอุปกรณ์แล้ว เอเชียยังเป็นที่ตั้งของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก นั่นก็คือ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company Limited) จากไต้หวัน ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก เช่น NVDIA อีกด้วย
ปัจจุบัน เซมิคอนดักเตอร์ คือ ชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ IoTs ต่าง ๆ เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งอุปกรณ์และเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเติบโตขึ้นอย่างมากจากกระแส Digitalization ทำให้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มตามไปด้วย
โดยนักวิเคราะห์จาก Deloitte Consulting บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก คาดการณ์ว่าในปี 2024 ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกรวมกันแล้วจะอยู่ที่ระดับ 588,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2023 ถึง 13% สะท้อนการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก และแน่นอนว่าบริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเติบโตนี้ล้วนซ่อนอยู่ในเอเชียนี่เอง
ผู้ที่สนใจเติบโตไปกับกระแส Digitalization ซึ่งทำให้ความต้องการอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ BBLAM ขอแนะนำ กองทุนเปิดบัวหลวงเอเชียเทคโนโลยี หรือ B-ASIATECH ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Wellington Asia Technology Fund (กองทุนหลัก)
ซึ่งกองทุนหลักของ B-ASIATECH มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากจีน ผู้ผลิตแอปพลิเคชันและเกมชื่อดัง บริษัทจากญี่ปุ่น เช่น Tokyo Electron ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ หน้าจอสัมผัส และแผงโซลาร์จากญี่ปุ่น, Sony Group ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องเล่นเกม Play Station และ Keyence Corp ผู้ผลิตเซนเซอร์อัจฉริยะ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2567)
เราจะเห็นว่ากองทุนหลักของ B-ASIATECH มีการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย ทำให้ไม่เป็นการลงทุนที่กระจุกตัวในผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งมากเกินไป นอกจากนี้ ผู้จัดการกองทุนยังเลือกลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่มียังมีขนาดเล็ก เมื่อมาประกอบกับกระแส Digitalization จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากหุ้นที่จะเติบโตขึ้นอีกในอนาคต
กองทุนเปิดบัวหลวงเอเชียเทคโนโลยี หรือ B-ASIATECH จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเติบโตไปกับกระแส Digitalization และต้องการกระจายการลงทุนจากซีกโลกตะวันตกมายังภูมิภาคเอเชีย โดยผู้ที่สนใจสามารถเลือกลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือ BF Fund Trading จาก BBLAM ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ www.bblam.co.th
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM ได้ที่ https://www.bblam.co.th/BFTTrade
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #เทคโนโลยี #ชิป #เซมิคอนดักเตอร์
โฆษณา