12 มิ.ย. 2024 เวลา 05:12 • สุขภาพ

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ดีที่สุดกันเถอะ ฮึบบบบ

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้องรัง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก และเหนื่อยมาก ๆ สำหรับทั้งครอบครัวและผู้ดูแล
.
เพราะผู้ป่วยติดเตียงแต่ละคน ก็จะมีข้อจำกัดหรือปัญหาสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การดูแลของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางคนต้องดูแลเรื่องการกินเป็นพิเศษ บางคนต้องดูแลเรื่องการขับถ่ายเป็นพิเศษ
.
วันนี้โอลดีจึงอยากมาแชร์ เช็คลิสต์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเบื้องต้น ไว้เป็นไอเดียให้ผู้ดูแลทุกท่านลองสำรวจดูว่า เราได้ทำการดูแลเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ของผู้ป่วยครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
1. ดูแลเรื่องทางเดินหายใจ - เรื่องนี้สำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ป่วยติดเตียงบางคนมีเสมหะเยอะ ต้องดูดออกเป็นประจำ บางคนออกซิเจนช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น ควรดูแลให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งอยู่เสมอ
- ผู้ป่วยท่านใดที่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้ ก็ให้พยายามไอขับเสมหะออกมาด้วยตัวเอง ดูเรื่องการดื่มน้ำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ไอขับเสมหะได้ง่ายมากขึ้น (วิธีการไอเพื่อขับเสมหะอย่างถูกวิธี จะมาเขียนให้เป็นอีกบทความนึงนะครับ)
- แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถขับเสมหะได้ด้วยตัวเอง ให้ใช้การดูดเสมหะจากเครื่องดูดเสมหะ หรือลูกสูบยางแดง บีบเพื่อดูดเสมหะออก อย่าลืม!!! ทำความสะอาดลูกสูบและตัวดูดเสมหะด้วยการล้างให้สะอาดและลวกน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อด้วยนะ
2. ดูเรื่องแผลกดทับ - ปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งอากาศร้อน ไม่ถ่ายเท ยิ่งเกิดได้ง่าย และหายยาก
- หมั่นพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ไปทางซ้ายบ้าง ขวาบ้าง นอนหงายบ้าง สลับกันไป
*วิธีการจัดท่านอนตะแคงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือจะใช้กับผู้ป่วยติดเตียงทั่วไปก็ได้นะ Link : https://shorturl.asia/8GaEt
*ตารางการพลิกตะแคงตัวไว้เป็นไอเดียครับ Link : https://shorturl.asia/cPVGT
- ใช้ผ้าเช็ดตัว หรือหมอนนุ่ม ๆ มารองบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก
- ดูแลเรื่องผ้าปูเตียงให้เรียบตึง ก็ช่วยป้องกันแผลกดทับได้
- พยายามทำให้มีลม และอากาศถ่ายเท ป้องกันไม่ให้ร้อนเกินไปจนเกิดแผลกดทับ
3. ออกกำลังกายเคลื่อนไหวข้อต่อ (ทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น) - พยายามให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวให้มากที่สุด
- พยายามเคลื่อนไหว ยกแขน ยกขา ของผู้ป่วยบ่อย ๆ เป็นประจำ (ควรทำบ่อยแค่ไหน ? ตอบเลยว่า ยิ่งบ่อยยิ่งดีครับ) โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ เช่น รักแร้ ข้อศอก ขาหนีบ และข้อพับเข่า เป็นบริเวณที่ต้องได้รับการเคลื่อนไหวบ่อยหน่อย เพราะว่าข้อพับเหล่านี้มักจะเกิดการอับชื้นได้ง่ายจากเหงื่อและความชื้น หมั่นกางแขน งอ-เหยียดศอก กางขา และงอ-เหยียดขาเป็นประจำ เพื่อให้ข้อต่อไม่ยึดติด และเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย
* สำหรับท่าทางการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ โอลดีขอติดไว้ก่อนแล้วนะมาเขียนเป็นบทความถัดไปให้นะครับ ถ้ามีโอกาสจะทำเป็นคลิปให้ได้รับชมกัน
หรือสามารถขอคำแนะนำกับนักกายภาพบำบัดที่ดูแลอยู่ได้เลย แต่ถ้ายังไม่รู้จะปรึกษาใคร ก็สามารถแอดไลน์โอลดีไว้พูดคุยปรึกษาเบื้องต้นก็ได้ครับ Line: @oldee (https://lin.ee/zQFtUgf) นักกายภาพบำบัดของเราจะค่อย ๆ ทยอยตอบให้ครบทุกท่านเลย
สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ได้มีแค่ 3 ข้อนี้นะครับ มีอีกเยอะเลย โอลดี จะพยายามทำบทความมาให้เรื่อย ๆ นะครับ (ติดไว้หลายบทความแล้ว สัญญาจะมาเขียนให้หมดนะครับ 🥺) ฝากกดไลค์ กดติดตาม เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ แล้วก็อยากให้ทุกท่านช่วยแขร์บทความนี้เก็บไว้อ่าน หรือส่งต่อให้เพื่อนผู้ดูแลที่ท่านรู้จักก็ได้ครับ จะได้ช่วยกันให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยทุกคนมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด
ฝากกลุ่ม “เพื่อนผู้ดูแล” ไว้หน่อยนะครับ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกท่าน มาแลกเปลี่ยนวิธีการดูแลและให้กำลังใจกันได้ที่ https://shorturl.asia/FSgdw มาให้กำลังใจกันเยอะ ๆ นะครับ ❤️
ติดตามเราได้ทุกช่องทาง:
- Instagram : https://bit.ly/3RcmhLF
พูดคุยกับเรา ได้ที่:
- Line : @oldee หรือ https://lin.ee/zQFtUgf
- Tel : 099 686 2264
#ผู้ดูแล #ผู้สูงอายุ #กำลังใจ
โฆษณา