12 มิ.ย. 2024 เวลา 11:53 • ข่าวรอบโลก

เบรารุส คือคำตอบที่ชัดเจน….

ช่วงต้นสงครามยูเครน หลายคนต่อว่ายูเครนว่าทรยศ
สมควรที่จะต้องถูกลงโทษ
แล้วก็ไม่รู้ไปฟังมาจากไหน ว่ายูเครนจะเข้านาโต้
ก็เลยด่ากันเละเทะ ทั้งที่อียูยังไม่มีปัญญาได้เข้า
ทางค่ายตะวันตก ไม่เคยรับพิจารณาด้วยซ้ำไป
ซึ่งความจริง ถ้าเราดูรอบๆบ้านรัสเซียแล้ว
ปัจจุบันเลย น่าจะมีแค่เบรารุส ที่ยังภักดีกับปูติน
บริวารอื่นๆ หานายใหม่กันหมดแหละ
ทางยุโรป ไปกับพวกยุโรปตะวันตกซะเยอะ
ส่วนในเอเชีย ปัจจุบันหันหาจีนมากกว่ารัสเซีย
…มันเพราะอะไรล่ะ ?….
ปัจจุบัน เบรารุส คือคำตอบที่ดีมาก
ว่าทำไมใครๆ ก็หนีจากลูกพี่เก่าอย่างรัสเซีย
คือ เราต้องเข้าใจว่า เอกราชของประเทศเหล่านี้
มันถูกรอคอยมานานหลายทศวรรษ หลังมีโซเวียต
บางรัฐต้องย้อนไปถึงยุคจักรวรรดิ
ในช่วงที่เป็นโซเวียต ดินแดนที่ไม่ใช่มีประชากร
ส่วนมากเป็นชาวรุส(รัสเซีย) มันมักถูกทอดทิ้ง
ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากส่วนกลาง
ถูกปกครองอย่างกดขี่มากๆ
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ดินแดนเหล่านี้หลายแห่ง
จึงยอมร่วมมือกับทัพนาซี เพื่อหวังปลดปล่อยตัวเอง
…แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะอเมริกาดันช่วยโซเวียตไว้
จนชนะสงครามโลก ก่อนจหันปืนเข้าหากันในภายหลัง…
เมื่อพวกนี้อยากแยกมานานแล้ว
พอเป็นเอกราช ก็ย่อมต้องอยากเป็นเอกราชจริงๆ
ไม่ใช่ให้ใครมามีอำนาจเหนืออีกต่อไป
หลายประเทศ รู้ดีว่ารัสเซียจะไม่ยินยอมปล่อยพวกเขา
แบบสมบูรณ์ ยังคงต้องการครอบงำ
พวกเขาจึงอาศัยจังหวะที่รัสเซียยังอ่อนแอหลังโซเวียตแตก
รีบวิ่งเข้าหาชาติตะวันตกอย่างรวดเร็วที่สุด
เท่าที่จะทำได้ ซึ่งบางประเทศก็สำเร็จ บางประเทศก็ไม่
เบรารุส คือหนึ่งในประเทศที่ทำไม่สำเร็จ
เนื่องจากผู้นำต้องการอยู่ในอำนาจมากกว่า
ที่จะเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า
ลูคาเชนโก้ จึงวิ่งเข้าหารัสเซีย ให้สนับสนุนตัวเอง
ให้อยู่ในตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน
แลกกับการรับใช้อย่างซื่อสัตย์
เมื่อรัสเซียมีปัญหากับชาตินาโต้ในปัจจุบัน
ถ้าถามใจลูคาเชนโก้จริงๆ ว่าเขาเห็นด้วยไหมกับรัสเซีย
ผมบอกได้เลย ว่าเขาไม่มีทางเห็นด้วย
เพราะรู้ ว่าตัวเองกำลังทำให้ประเทศตัวเองกลายเป็นรัฐกันชน
ที่มีโอกาสโดนถล่มอย่างหนัก มากกว่าที่ยูเครนโดน
เราจะเห็นชัดว่า แม้เบรารุส จะเป็นประเทศเอกราช
แต่พวกเขาก็เหมือนไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เลย
รัสเซียอยากทำอะไรก็ต้องให้ทำหมด
แม้แต่การเอาตัวเองไปเสี่ยงกับนิวเคลียร์
เหมือนตายแทนรัสเซียยังไงยังงั้น…
ล่าสุด คือรัสเซีย จะเอานิวเคลียร์ยุทธศาสตร์ไปตั้ง
คิดว่าลูคาเชนโก้อยากได้เหรอครับ ?
ส่วนชาวเบรารุสนั้น ไม่ต้องพูดถึง
ที่มีทางไป หนีมายุโรปตะวันตกซะเยอะแล้ว
ส่วนรัฐบาลเบรารุสก็ได้แต่ใบ้กิน
ทั้งที่นั่นแหละ คือการเอาเบรารุสไปล่อเป้าชัดๆ
ลองคิดดูนะครับ ถ้าสงครามเกิดขึ้นจริงๆ
นาโต้จะซัดใครก่อน ระหว่างรัสเซีย หรือเบรารุส ?
นิวเคลียร์อยู่ตรงไหน ตรงนั้นโดนก่อนแน่ และหนักด้วย
แถมเบรารุสเอง ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนมากพอที่จะปกป้อง
ตัวเองได้ หากยุโรปมา เละสถานเดียว….
…แล้วชาวเบรารุส จะได้อะไรจากเรื่องนี้ ?….
แล้วอีกว่า ดูลูคาเชนโก้เถอะครับ เดี๋ยวนี้เป็นไง
ลูคาเชนโก้ จากที่ช่วงแรกสงคราม
เคยเดินเคียงไหล่กับปูติน แบบสมฐานะ
ปัจจุบันได้แค่ยืนมือกุมไข่
ทั้งๆที่รัสเซียกำลังจะพาชาวเบรารุสไปตาย !
ปูตินมาที่ก็ชี้นิ้วสั่งโน่นนี่ จนไม่รู้ใครเป็น ปธน. เบรารุสกันแน่
กรณียูเครนนั้น ด้วยความผูกพันต่างๆ
และเป็นรัฐที่มีความเจริญที่สุด ในบรรดารัฐบริวาร
ช่วงแรกเมื่อโซเวียตแตก พวกเขาจึงไม่ค่อยซีเรียสนัก
กับการที่รัสเซียยังมีอำนาจเหนือพวกเขา
และแทรกแซงทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา
สำหรับยูเครน การเลือกตั้งในประเทศช่วงต้นของ
การก่อตั้งประเทศนั้น มีลักษณะไม่ต่างกับฮ่องกงในปัจจุบัน
คือ รัสเซียมีอำนาจสกรีนผู้ลงรับสมัครรับเลือกตั้ง
โดยทางพฤตินัยอยู่แล้ว
ทำให้ช่วงนั้น รัสเซียมีอิทธิพลเหนือพวกเขา
จนคล้ายเป็นประเทศราช แต่พวกเขาก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา
แต่พอนานๆเข้า คนที่รัสเซียส่งมาให้ มันเอาแต่คอรัปชั่น
จนยูเครนที่เป็นรัฐบริวารที่ใหญ่ที่สุด ทรัพยากรมากที่สุด
ตัองหยุดอยู่กับที่ ในขณะที่รัฐบริวารอื่น มีแต่เจริญขึ้น
ทั้งที่มีขนาดเล็กกว่ามาก
สิ่งเหล่านี้เอง ที่สร้างความไม่พอใจสะสมให้ชาวยูเครน
จนนำไปสู่การจราจล ยูโรไมดาล ซึ่งเป็นเหมือนจุดแตกหัก
ระหว่างรัฐบาลรัสเซีย และชาวยูเครน
นำไปสู่ความรุนแรงทางเชื้อชาติ พวกขวาจัด
ชาวยูเครนโจมตีชาวรัสเซียเพราะความโกรแค้น
…ก่อนจะกลายเป็นสงครามไครเมียร์รอบแรก
และเป็นผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ….
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเบรารุสนั้น
เชื่อเถอะ ว่ามันไม่เหนือความคาดหมายของอดีตรัฐบริวาร
ทั้งในส่วนของนักการเมืองและประชาชน
พวกเขารู้ดีแต่ต้น ว่าช้าเร็ว มันก็ต้องเกิดกับพวกเขา
ถ้าขืนยังร่วมหัวจมท้ายกับรัสเซียต่อไป
ดังนั้น พวกเขาจึงวิ่งหาตะวันตก หรือลูกพี่ใหม่อย่างจีน
กับจีนนั้น ถึงจะมีแนวคิดอำนาจนิยม แต่มันก็ไม่ขนาดรัสเซีย
และมันยังมีการแลกเปลี่ยน ค้าขายที่มีส่วนได้ทั้งสองฝ่าย
บางคนอาจตั้งทฤษฎีว่า ก็ทั้งจีนทั้งยุโรปเอาเงินมาล่อ
ซึ่งผมก็ไม่เถียง ว่าเป็นเรื่องจริง
แต่ใครเหล่านี้ ก็เถียงผมไม่ได้เหมือนกัน
ว่าประชาชน ไม่ว่าจะในประเทศไหน ก็ฝันถึงชีวิตที่ดี
หรือไม่จริง ?
มันอาจใช่ ที่ตะวันตกใช้เงินซื้อนักการเมือง
นักเคลื่อนไหวในอดีตรัฐบริวารเหล่านี้ให้ต่อต้านรัสเซียได้
แต่กับประชาชนล่ะ พวกยุโรปไปแจกให้ทุกคนงั้นเหรอ ?
ถึงแบบนั้น ประชาชนในประเทศเหล่านั้น ก็ให้การสนับสนุน
กับแนวคิดหนีรัสเซียให้ห่างเป็นอย่างดี มันเพราะอะไร ?
เรา ที่ห่างออกมาครึ่งโลก ไม่รู้จักรัสเซียดีเท่าพวกเขาหรอก
ไอ้การจะไปบอกว่าเขาโดนฝรั่งตะวันตกหลอก มันคงไม่ได้
และถึงต่อให้คนในประเทศเหล่านี้ รู้สึกว่าเขาหลอก
การเสี่ยง มันก็ดีกว่ากลับไปอยู่กับสิ่งเดิมๆ ที่สุดท้าย
ก็รู้อยู่แล้วว่าผลมันจะเป็นยังไง
และในรูปธรรมที่จับต้องได้ มันก็เห็นๆ
ว่าประเทศที่ตีตัวออกห่างรัสเซีย
ล้วนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
กว่าการที่จะอยู่กับรัสเซียต่อไปแทบทั้งสิ้น
ไม่ต้องมองไปทางยุโรป ให้มองที่คาซัคสถาน
อุซเบกิสถานนี่แหละ อยู่กับรัสเซียเป็นยังไง
และอยู่กับจีนเป็นยังไง มันชัดเจน
แล้วเบรารุสล่ะ เป็นยังไง นี่คือหนึ่งในประเทศที่จนที่สุดในโลก
ใครล่ะ มันจะอยากอยู่ในสภาพนั้น…
ก่อนจะด่าชาวยูเครน
ถามใจตัวเองดูง่ายๆ ว่า ถ้าคุณเป็นชาวยูเครน
คุณจะเลือกอยู่กับใคร ยุโรป หรือ รัสเซีย
ผมเชื่อว่าถ้าไม่องุ่นเปรี้ยวเกินไป คำตอบมันจะเหมือนกันหมด
มันผิดเหรอ ที่ประเทศเอกราชประเทศหนึ่ง
จะเลือกทางเดินให้ตัวเอง
มันอาจจริง ที่ยูเครนบริหารความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ
ในฐานะรัฐที่ถูกช่วงชิงได้แย่
แต่มันก็ไม่ควรนำไปสู่สงครามไม่ใช่เหรอ
ยุโรปเปย์มา รัสเซียรวมหัวกับจีนเปย์กลับไม่เห็นว่าจะสู้ไม่ได้
จีนน่ะอยากลงทุนในยูเครนใจจะขาด เพราะเป็นส่วนหนึ่ง
ของโครงการในแถบเส้นทาง
…มันไม่ใช่เรื่องเงินหรอก…
เป็นรัสเซียเองมากกว่า ที่อยากได้สงคราม แล้วอ้างมั่วซั่ว
แล้วเราลองคิดย้อนมุมกลับ ถ้ายูเครนยังอยู่กับรัสเซียดูสิ
ในขณะที่ปูตินอายุมากขึ้น
เขาย่อมต้องเร่งทำความฝันตัวเองให้เป็นจริงก่อนเล่นขี้
การขนทหารมาที่ยูเครน เหมือนที่ทำกับเบรารุส
ยังไงมันก็ต้องเกิด
ถึงตรงนั้น พวกเขาก็ต้องรับมือกับสงครามอยู่ดี
ผมว่าคนยูเครนและรัฐบริวารอื่น เขารู้สันดาน
วิธีคิดของคนในเคลมลินส์หมดนั่นแหละครับ
…อยู่ต่อรอวันตาย หรือเสี่ยงตายเอาดาบหน้า…
…มันจึงมีค่าไม่ต่างกันเลย….
ข่าว
โฆษณา