8 ก.ค. 2024 เวลา 02:00 • สุขภาพ

‘ตึกเป็นพิษ’ โรคฮิตของคนยุคนี้

การทำงานอยู่ใจกลางเมือง อยู่ในพื้นที่ออฟฟิศตลอดเวลา คงไม่มีใครคิดว่าการใช้ชีวิตแบบนี้ทำให้เราอาจเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน นั่นก็เพราะว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ กำลังเป็นอีกหนึ่งภัยอันตรายที่กำลังจ้องเล่นงานคนยุคนี้!
3
🏢 อะไรคือโรคตึกเป็นพิษ ?
โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome (SBS) เป็นกลุ่มอาการที่ไม่ได้เจาะจงไปที่โรคใดโรคหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากการใช้ชีวิตในอาคารหรือที่ปิดเป็นเวลานาน ๆ โดยส่วนมากจะเป็นอาการเกี่ยวกับมลภาวะอากาศที่มีปัจจัยกระตุ้น เช่น วัสดุของอาคาร ค่าฝุ่นสูง สารเคมีจากสีหรือน้ำยาทำความสะอาด
6
โดยผลกระทบทางตรงของโรคตึกเป็นพิษอาจจะไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ไม่ควรละเลย เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้
😷 มีอาการเจ็บคอ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
😷 มีอาการคล้ายภูมิแพ้ เช่น จาม คัดจมูก ระคายเคืองตา แสบร้อนในจมูก
😷 ผิวหนังเกิดผื่นและอาจรู้สึกแห้งคัน
5
😷 เป็นไข้ หนาวสั่น เวียนหัว รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
😷 เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ
😷 ปวดเมื่อยตามตัว
ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นอาการทั่วไปที่ยากต่อการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตึกเป็นพิษ ดังนั้นการเข้าใจถึงต้นตอสาเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
3
และวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดโรคสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
1. พยายามอยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้อยู่ในพื้นที่โปร่งเสมอ
2. ใส่สิ่งป้องกันมลพิษอย่างหน้ากากอนามัยเสมอหากอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับมลพิษ เช่น ฝุ่นละอองหรือควัน
3. หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีสารเคมี เช่น จุดที่มีน้ำยาทำความสะอาด สีทาอาคาร กาว สารเคลือบเฟอร์นิเจอร์
4. อยู่ห่างจากรังสีแม่เหล็กจากคอมพิวเตอร์ หรือไมโครเวฟ
5. พยายามทำให้สมองโล่งลดความเครียดและความวุ่นวาย
นอกจากนั้นเรายังสามารถทำให้พื้นที่สะอาดขึ้นได้ด้วยเครื่องฟอกอากาศหรือการหาต้นไม้ที่ช่วยดูดซับมลพิษมาปลูกไว้ใกล้ตัว ซึ่งก็เป็นอีกทางหนึ่งในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตึกเป็นพิษ จำพวกต้นว่านหางจระเข้ ยางอินเดีย หรือต้นพลูด่าง เป็นต้น
1
ท้ายที่สุด หากมีเหตุผลอะไรที่น่าเป็นห่วงสำหรับโรคตึกเป็นพิษในกลุ่มคนยุคนี้ คือการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะส่งผลทำให้มีอาการเสี่ยงต่ออันตรายที่หนักขึ้น เช่น โรคหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่เมื่อกำเริบแล้วอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
2
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/aiathailand
โฆษณา