Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 พ.ย. เวลา 08:37 • สิ่งแวดล้อม
วิธีคิด Unique Selling Point ให้ธุรกิจแฟชั่น + สิ่งแวดล้อม ไปด้วยกันได้ แบบ PIPATCHARA
วันนี้ในงาน SPOTLIGHT DAY 2024: Sustainability Disruption - ธุรกิจปรับ ก่อนถูกเปลี่ยน
เจ้าของแบรนด์ PIPATCHARA คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา และคุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา ได้มาแชร์อินไซต์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
มีเรื่องไหนที่เป็นประโยชน์กับคนอยากทำแบรนด์สายกรีน และเอาไปต่อยอดได้บ้าง ?
BrandCase สรุปมาให้ ใน 3 ข้อ
- สร้างแบรนด์ PIPATCHARA ด้วยคอนเซปต์ = แฟชั่น + สังคม + สิ่งแวดล้อม
คุณเพชรเล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นแรกของแบรนด์ PIPATCHARA ไม่ใช่การทำกระเป๋าพลาสติก หรือเริ่มจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
แต่เริ่มจากการตั้งต้นว่าคุณเพชรอยากผสมผสานระหว่างแฟชั่นและชุมชนเข้าด้วยกัน
เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น จากงานหัตถกรรมของชุมชนเอง จึงเริ่มจากการเข้าไปสอนการงานถักให้กับคนในชุมชนก่อน
ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานก็เกิดการระบาดขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นคุณเพชรได้บังเอิญเห็นปัญหาขยะพลาสติกกำพร้ามีเยอะมากขึ้น (ขยะพลาสติกกำพร้าคือ พลาสติกที่ไม่มีมูลค่าทางตลาด หรือมีราคาน้อยมาก)
ทางแบรนด์จึงเอามาคิดต่อว่า แบรนด์ PIPATCHARA จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไรบ้าง
และการเข้าไปช่วยแก้ปัญหานั้น จะต้องผสมผสานความเป็นแฟชั่นกับขยะพลาสติกอย่างไรให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคาในตลาดแฟชั่นได้ด้วย
พอโจทย์เป็นแบบนี้ทางแบรนด์ก็ได้พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับขยะพลาสติกกำพร้า เพื่อหาทางพัฒนาขยะพลาสติกกำพร้าเหล่านั้น ให้กลายเป็นวัสดุที่สามารถต่อยอดไปเป็นสินค้าแฟชั่นได้ จนไปถึงขั้นออกแบบและทดลองผสมสีจากขยะพลาสติกกำพร้า
ในขั้นตอนนี้ คุณเพชรเล่าว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทั้งความคิด ความอดทน และใช้ระยะเวลาอยู่นานทีเดียว กว่าจะออกมาเป็นแผ่นพลาสติกที่ประกอบเป็นกระเป๋าของแบรนด์ PIPATCHARA อย่างที่ทุกคนเห็นในปัจจุบัน
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนขยะพลาสติกกำพร้าที่ไม่มีมูลค่าทางการตลาดให้มีมูลค่ามากขึ้นในวงการแฟชั่น
นอกจากนี้คุณทับทิม ได้เล่าให้ฟังถึงเหตุผลว่า ทำไมแบรนด์ PIPATCHARA ต้องใช้ขยะพลาสติกกำพร้าเท่านั้น ?
ซึ่งเหตุผลก็คือ เพื่อให้มั่นใจว่าพลาสติกที่แบรนด์นำมาคือขยะที่เกิดการใช้งานจริง ๆ และแบรนด์จะไม่ใช้พลาสติกที่เป็นพลาสติกเหลือใช้จากโรงงาน
แต่จะใช้พลาสติกที่เกิดจากผู้บริโภคในสังคม เช่น แก้วพลาสติก ฝาขวดน้ำ หรือขวดยาคูลท์ เพื่อให้แบรนด์ได้มีส่วนช่วยในการลดปริมาณขยะกำพร้าจากต้นตอจริง ๆ
- วิธีคิด Unique Selling Point จับจุดที่ควบคุมไม่ได้ ให้กลายเป็นจุดขายที่ไม่มีใครเหมือน
คุณเพชร เล่าถึงหนึ่งเรื่องยาก ๆ และเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ๆ ในมุมการทำงานในธุรกิจนี้
คือการไม่สามารถวางแผนการผลิตได้เลย เพราะเราไม่รู้เลยว่าช่วงนี้ขยะพลาสติกจากครัวเรือนที่ได้มาจะเป็นสีอะไรบ้าง
ซึ่งจุดนี้ส่งผลต่อตัวสินค้าของแบรนด์โดยตรง ทำให้สินค้าของแบรนด์แต่ละชิ้นมีสีที่ไม่เหมือนกัน และแบรนด์ก็ไม่สามารถควบคุมการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามสีที่ต้องการได้จริง ๆ
แต่ประเด็นที่น่าสนคือ สิ่งที่แบรนด์ PIPATCHARA ควบคุมไม่ได้นี้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้สินค้าของแบรนด์แตกต่างจากแบรนด์ทั่วไป
และกลายเป็นสิ่งที่ Unique มาก ๆ ในตลาด จนคนยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อแลกกับการได้เป็นเจ้าของแบรนด์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
พอเป็นแบบนี้แบรนด์จึงหันไปให้ความสำคัญกับการทำ Marketing และเน้นการ Communication หรือสื่อสารกับลูกค้าแทน
เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าและแก่นแนวคิดของแบรนด์ PIPATCHARA
คุณเพชร เล่าเสริมว่าที่เซอร์ไพรส์กว่านั้นคือ ลูกค้าเริ่มอยากแยกขยะให้เรามากขึ้น ลูกค้าบางคนถึงขั้นที่อยากแยกขยะพลาสติกและส่งให้ทางแบรนด์ Customize เป็นแบบเฉพาะของตัวเอง
ซึ่งคุณเพชร มองว่าการสื่อสารของแบรนด์ได้กลายเป็นการสร้าง Awareness เรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับคนมากขึ้น
ถึงแม้ว่าในตอนแรกผู้บริโภคอาจจะซื้อเพราะแค่ความชอบหรือความสวยงามในตอนแรก แต่หากเรายังเชื่อมั่นและยังคงสื่อสารในเรื่องนี้ต่อไป สุดท้ายแล้วผู้บริโภคก็จะเริ่มหันกลับมาถามแบรนด์มากขึ้น
ว่าสิ่งนี้คืออะไร ? กระเป๋าใบนี้ทำมาจากวัสดุอะไร ? และกลายเป็นการสร้าง Awareness ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้คนไปโดยปริยาย
- หาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่เราไม่รู้ คือ สิ่งที่สำคัญ
สุดท้ายนี้ คุณทับทิม และคุณเพชร ได้ให้คำแนะนำสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจสินค้าที่เป็นสายกรีนไว้ว่า
ทุกคนสามารถเข้ามาทำธุรกิจในตลาดนี้ได้ เพียงแค่หยิบประเด็นอะไรก็ตามที่เราสนใจมาทำ และต้องศึกษามันอย่างจริงจัง และการหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องที่เราไม่รู้ คือสิ่งที่สำคัญมาก
เพราะทั้งคู่มองว่า การตั้งต้นในสิ่งที่คนอื่นยังไม่ได้ทำ เป็นสิ่งที่มีราคาเสมอ
และการจะทำผลงานอะไรสักอย่างออกมาขายให้กับผู้บริโภค ต้องมีความ Unique
และต้องทำให้สินค้านั้นมีคุณค่ามากพอที่จะเทิร์นกลับมาเป็นสินค้าที่มีราคา ที่ต่อให้มันจะสูง แต่ก็มีกลุ่มคนที่ยอมจ่ายอยู่ดี..
#SPOTLIGHTDAY2024 #SustainabilityDisruption #ธุรกิจปรับก่อนถูกเปลี่ยน #Spotlight #มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ
ธุรกิจ
สิ่งแวดล้อม
2 บันทึก
6
1
2
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย