29 พ.ย. 2021 เวลา 11:50 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Skype วิดีโอคอล ที่โลกลืม
4
ย้อนกลับไป “มาคุย Skype กัน” อาจเคยเป็นคำฮิตติดปาก ของใครหลายคน และใช้เรียกแทนการติดต่อสื่อสารผ่านทางวิดีโอคอล
2
ผ่านมาถึงปัจจุบัน สถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้ต้องเว้นระยะห่าง และ Work From Home
ได้เป็นตัวเร่งให้คนหันมาใช้บริการวิดีโอคอลมากขึ้น จนหลายแพลตฟอร์มเติบโตแบบก้าวกระโดด
ไม่ว่าจะเป็น Zoom, Google Meet หรือ Microsoft Teams
แต่สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ผู้ครองตลาดมายาวนานอย่าง Skype
กลับถูกมองข้าม และสูญเสียผู้ใช้งานไปให้ผู้เล่นรายอื่นเกือบหมด
มันเกิดอะไรขึ้นกับ Skype ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
Skype เป็นโปรแกรมติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เริ่มเปิดให้บริการในปี 2003 หรือ 18 ปีที่แล้ว
ผู้ร่วมก่อตั้งกิจการ คือ คุณ Janus Friis นักธุรกิจชาวเดนมาร์ก และคุณ Niklas Zennström นักธุรกิจชาวสวีเดน และมีโปรแกรมเมอร์ชาวเอสโตเนียอีก 4 คน เป็นทีมหลักที่พัฒนา Skype ขึ้นมา
ก่อนหน้านี้ พวกเขาเคยสร้าง Kazaa โปรแกรมแชร์ไฟล์แบบ Peer-to-Peer (P2P) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านเครือข่ายกลาง
7
ต่อมา พวกเขาได้นำไอเดียจาก Kazaa มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นั่นคือ โปรแกรมบริการโทรศัพท์และวิดีโอคอลแบบ P2P ชื่อว่า “Skype”
5
ผู้ใช้งาน Skype จะสามารถโทรหากันได้ฟรี เพียงแค่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือโทรเข้าเบอร์ปกติในราคาถูก เนื่องจาก Skype ไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์เครือข่ายกลางมากนัก ทำให้บริษัทประหยัดต้นทุน และคิดค่าโทรได้ถูกลง
2
ด้วยเหตุนี้ Skype จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และมีฐานผู้ใช้งานถึง 115 ล้านราย ภายในช่วง 3 ปีแรก จนคำว่า “Skype” กลายเป็นคำพูดติดปากที่คนใช้เพื่อนัดหมายโทรศัพท์หรือวิดีโอคอลกัน
1
แม้แต่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ยังมีการบัญญัติคำว่า “Skype” เป็นคำกริยาที่มีความหมายว่า การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรม Skype
 
ต่อมาในปี 2007 ความโดดเด่นของ Skype ก็ไปเข้าตา eBay เว็บไซต์ซื้อขายและประมูลสินค้าออนไลน์ ซึ่งขอเข้าซื้อกิจการด้วยเงินราว 86,000 ล้านบาท
6
โดย eBay หวังใช้ Skype เป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้ซื้อขายสินค้าใช้ติดต่อกัน
แต่ดูเหมือนว่าบริษัทจะวิเคราะห์พลาด
เพราะคนส่วนใหญ่ที่ทำรายการออนไลน์ ไม่ได้ต้องการเปิดเผยตัวตน
7
จึงทำให้ eBay ตัดสินใจขายหุ้นให้นักลงทุนกลุ่มใหม่ เพื่อลดสัดส่วนถือหุ้น Skype เหลือ 30% ในปี 2009
1
อย่างไรก็ตาม บริการหลักอย่างโทรศัพท์และวิดีโอคอลของ Skype ยังคงแข็งแกร่งอยู่ ส่งผลให้ Skype เติบโตต่อเนื่อง
ปี 2007 มีรายได้ 1.26 หมื่นล้านบาท
ปี 2010 มีรายได้ 2.85 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเกินเท่าตัว
5
พอเป็นเช่นนี้ Skype จึงยังเนื้อหอมในฐานะผู้นำการติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
โดยในปี 2011 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Facebook (ซึ่งตอนนี้คือ Meta Platforms) และ Google (ซึ่งตอนนี้คือ Alphabet) ได้ยื่นข้อเสนอราว 99,000 ล้านบาท เพื่อขอซื้อกิจการ
3
แต่สุดท้ายกลับกลายเป็น “Microsoft” ที่ปิดดีลสำเร็จ เพราะยอมจ่ายเงิน 280,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นเกือบ 3 เท่า ของมูลค่าเสนอซื้อของรายอื่น
6
หลังจากได้ครอบครอง Skype แล้ว Microsoft ก็นำเอาบัญชีผู้ใช้งานของ Windows Live Messenger โปรแกรมแช็ตสำหรับบุคคลทั่วไป และ Microsoft Lync โปรแกรมสื่อสารภายในองค์กร มารวมเข้าไว้กับ Skype ที่เดียว เพื่อปั้นเป็นแพลตฟอร์มสื่อสารแบบครบวงจร
5
แต่ว่า.. จุดอ่อนที่สำคัญของ Skype คือ ระบบ P2P นั้นไม่ค่อยเสถียร โดยเฉพาะกับการใช้บนสมาร์ตโฟน ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพสัญญาณอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้
6
ทำให้ต่อมา Microsoft แก้ไขปัญหาด้วยการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ เป็นเครือข่ายกลางแทน
1
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโปรแกรมกลับล่าช้า ทำให้บริการไม่เสถียรเช่นเดิม ประกอบกับมีการอัปเดตอัตโนมัติอยู่บ่อยครั้ง จนบางคนต้องพลาดการประชุมไป ส่งผลให้ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะลูกค้าองค์กร เริ่มเบื่อหน่ายกับ Skype
3
ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการรายอื่น เช่น Zoom เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์มมีความเสถียรกว่า ใช้งานง่าย และออกแบบฟังก์ชันตอบโจทย์ทั้งในแง่ของการประชุมงาน หรือพูดคุยปกติทั่วไป
8
แม้แต่ Microsoft เอง ก็ชักไม่มั่นใจในศักยภาพของ Skype จึงหันไปสร้างแพลตฟอร์มติดต่อสื่อสารตัวใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Teams” ขึ้นมาในปี 2016 โดยมีฟังก์ชันครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอคอล, ห้องแช็ต, พื้นที่รับส่งไฟล์ และการเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นในเครือ Microsoft
9
จนกระทั่งในปี 2020 ถือเป็นโอกาสทองของอุตสาหกรรมวิดีโอคอลก็ว่าได้ หลังเกิดเหตุการณ์ระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ผู้คนต้องกักตัว และทำงานอยู่บ้าน จนต้องติดต่อสื่อสารผ่านทางโลกออนไลน์แทน
1
ซึ่งพอผู้ใช้งานส่วนใหญ่หมดความเชื่อมั่นในคุณภาพของ Skype มาสักพักแล้ว จึงมองหาทางเลือกอื่นที่น่าใช้งานมากกว่า สะท้อนได้ชัดเจนจากข้อมูลส่วนแบ่งตลาดแพลตฟอร์มวิดีโอคอลทั่วโลก
7
ส่วนแบ่งตลาดวิดีโอคอล เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 (ช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19)
อันดับ 1 - Skype 32.4%
อันดับ 2 - Zoom 26.4%
อันดับ 3 - Microsoft Teams 9.7%
อันดับ 4 - Google Meet 1.6%
10
ปี 2021
อันดับ 1 - Zoom 48.7%
อันดับ 2 - Google Meet 21.8%
อันดับ 3 - Microsoft Teams 14.5%
อันดับ 4 - Skype 6.6%
18
จะเห็นได้ว่า จากที่ Skype เคยครองส่วนแบ่งตลาดวิดีโอคอลถึง 1 ใน 3 ของโลก กลับสูญเสียผู้ใช้งานไปให้แพลตฟอร์มอื่นอย่างรวดเร็ว หลังเกิดวิกฤติโรคระบาด และไม่ได้เป็นชื่ออันดับต้น ๆ ที่คนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงบริการวิดีโอคอล ซึ่งสาเหตุก็เพราะว่าปัญหาเรื่องคุณภาพของโปรแกรม Skype ที่ผู้ใช้ใหม่จะเลือกโปรแกรมนี้เป็นอันดับท้าย ๆ
7
ทำให้ในเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา Microsoft ได้ประกาศหยุดให้บริการ Skype สำหรับลูกค้าองค์กร โดยเปลี่ยนไปใช้ Microsoft Teams เพียงแพลตฟอร์มเดียวเท่านั้น
6
เรื่องราวนี้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า
แม้จะเคยเป็นผู้นำตลาด ที่ทุกคนรู้จัก และใช้งานอยู่เป็นประจำ
แต่ถ้าไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค
ก็อาจมีคนเห็นช่องว่าง และพร้อมเข้ามาโค่นบัลลังก์ลงได้เสมอ
6
เหมือนดังกรณีที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมวิดีโอคอล ขณะนี้
ถ้าเราต้องการนัดคุยกันผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์
คำพูดติดปากของคนส่วนใหญ่ คงจะเป็น “ขอนัดคุย Zoom” “มา Google Meet กันหน่อย” หรือ “ขอนัดประชุม Microsoft Teams นะ”
1
และถ้าดูจากส่วนแบ่งตลาดวิดีโอคอลตอนนี้แล้ว
น้อยคนมาก ที่จะพูดว่า “มาคุยใน Skype กัน”..
5
References
โฆษณา