12 ธ.ค. 2021 เวลา 11:00 • คริปโทเคอร์เรนซี
14 Chain ที่น่าจับตามอง
1
หลังจากกระแส Gamefi ที่เกิดขึ้นมาอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะ Sand , AXS หรือ ILV ก็ได้พุ่งผงาดง้ำค้ำโลกกันไปแล้ว ตอนนี้ก็คงถึงเวลาให้น้อน ๆ พักผ่อนบ้าง เพราะเหรียญพี่ ๆ อย่างเหรียญ Chain กำลังจะกลับมาครองตลาดอีกครั้ง.
1
เท่าที่แอดสังเกตุมาช่วงนี้เหรียญ Chain กำลังเตรียมตัวพุ่งกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่น้อง Stable coin สีฟ้า อย่าง Ada ก็กำลังจะออกยานไปสู่ดวงจันทร์ (กาวเต็มถัง) และบางตัวอย่าง Avax ก็ได้ทำ ATH ไปเรียบร้อยแล้ว
วันนี้แอดก็เลยจะมาหยิบยกเหรียญ Chain บนโลก Defi ให้ดูกัน เผื่อว่าเพื่อน ๆ จะได้เกร็ดความรู้และเจอเหรียญที่ถูกใจกันมากขึ้น ซึ่งถ้าถามว่าแต่ละ Chain นั้นต่างกันตรงไหน ก็ต้องบอกเลยว่าแต่ละ Chain มีจุดดีจุดด้อยแตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม การรองรับจำนวนผู้ใช้งานและในเรื่องของความปลอดภัย แต่ต้องบอกก่อนว่าสามเรื่องที่กล่าวมานั้นยังไม่มี Chain ไหนที่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้ทุกอย่างแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เลยนะ เพราะการทำให้แบบสมบูรณ์ทั้งสามอย่างนั้นยากมาก ๆ .
ในปัจจุบันการจะทำให้ด้านไหนด้านหนึ่งให้โดดเด่นได้ จะต้องแลกมากับอีกด้านหนึ่งที่ด้อยลงไป อย่างเช่น ถ้า Chain เน้นความเร็วในการทำธุรกรรม ก็อาจจะมี Security และ Decentralization ที่น้อยลง หรือบาง Chain เน้นความปลอดภัยก็จะมีความเร็วในการทำธุรกรรมที่ช้า ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็ Ethereum เป็นต้น
ส่วนถ้าจะให้แอดบอกว่า Chain ไหนดีที่สุดอันนี้แอดก็ตอบไม่ได้ อยากให้เพื่อน ๆ ไปลองใช้กันดู แต่ถ้าขี้เกียจลองให้ครบลองอ่านโพสต์นี้ของแอดเป็นแนวทางก่อนก็ได้นะ ^^
==========================
สำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชีเทรด Zipmex สามารถสมัครได้ที่ลิ้งค์นี้เลยน้า https://zipmex.app/udX4l
หรือจะกรอกโค้ด “stockerday” เพื่อรับสิทธิ์ fasttrack ได้ KYC ก่อนใครด้วย!!
==========================
ถ้าชอบคอนเทนต์แบบนี้ อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามเพจไว้นะคะ จะได้ไม่พลาดสาระดี ๆ จากเพจของเรา
1.Ethereum (ETH)
ถ้าพูดถึง Chain ไม่พูดถึง Ethereum เหรียญอันดับ 2 ของโลกไม่ได้เลย ถ้า Bitcoin คือ King of Crypto Ethereum ก็เป็นเหมือน Queen of Crypto เช่นกัน
จุดเริ่มต้นของ Ethereum คือการเป็นคอมพิวเตอร์ของโลก ที่ทุกคนสามารถมาใช้ หรือมาสร้างอะไรบนนี้ก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าจุดประสงค์แตกต่างกับ Bitcoin ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสกุลเงินของโลกอย่างสิ้นเชิง
โดย Ethereum เป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนวงการคริปโตให้มากไกลได้มากขนาดนี้ และคงจะไม่เกิด DeFi ขึ้นมาถ้าไม่มี Ethereum
สิ่งที่ Ethereum ได้ทำขึ้นมาคือ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะนั่นเอง ซึ่ง Smart Contract นี้จะทำงานอยู่บนระบบบล็อคเชนของ Ethereum ใครก็ตามที่ทำสำเร็จตามเงื่อนไขที่อยู่ในสัญญาก็จะได้รับบางอย่างกลับไปตามที่ตกลงกันไว้โดยอัตโนมัติ
1
ซึ่งด้วยระบบที่น่าสนใจอย่าง Smart Contract นี้ทำให้มีผู้พัฒนาหลาย ๆ คนเข้ามาสร้างอะไรบน Ethereum chain มากมาย จนได้เกิดโลกอย่าง DeFi หรือ DApp ขึ้นมา เช่น Compound DeFi แรกๆที่เกิดขึ้นมา และทำหน้าที่ให้กู้และฝากสินทรัพย์ดิจิทัลได้ แต่ระบบฝากและถอนทั้งหมดเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องมีคนคอยควบคุม
ซึ่งนี่ทำให้ Ethereum เป็น First chain แห่งโลก DeFi และได้แจ้งเกิดแพลตฟอร์มดัง ๆ ในโลก DeFi มากมาย เช่น Compound Uniswap AAVE Curve เป็นต้น
แต่ทุกอย่างก็ใช่ว่าจะราบลื่น เพราะเมื่อมีคนมาสร้างและคนใช้งานบน Ethereum มากขึ้น ทำให้ความเร็วนั้นต่ำลง และค่าแก๊สก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนี่นับว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากของ Ethereum Chain
1
2.Binance Smart Chain (BSC)
BSC หรือ Binance Smart Chain ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วเนอะว่า chain นี้นั้นมาจาก Binance เว็บเทรดอันดับ 1 ของโลกนั่นเอง
1
โดยจุดประสงค์ที่ Binance สร้าง BSC ขึ้นมาก็เพื่อโค่น Ethereum chain ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดที่มากที่สุดตลอดการนั่นเอง โดยเล่นงานจุดอ่อนของ Ethereum ที่มีค่า fee ที่แพง และช้า
ซึ่ง BSC ก็ทำผลงานได้ดีเลยทีเดียว สามารถลดค่า fee เหลือแค่เพียงประมาณ $0.01 จาก $30 ของ Ethereum แถมความเร็วในการทำธุรกรรมก็มากกว่า Ethereum เกือบ 10 เท่าด้วย
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ Binance Smart Chain ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด และน่าจะเป็น chain ที่คนไทยเล่นอยู่มากที่สุดด้วย เนื่องจากเหรียญ BNB เป็นเหรียญอันดับต้น ๆ ที่นักลงทุนชาวไทยมักจะมีอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมี DeFi เจ้าดัง ๆ ที่อยู่บน BSC ด้วย เช่น PancakeSwap , Alpaca เป็นต้น
แต่ใช่ว่า Binance Smart Chain จะมีแต่ข้อดีนะ เพราะแน่นอนว่าเรื่องความปลอดภัย และความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็ยังสู้ Ethereum ไม่ได้อยู่ดี ทำให้แพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่เคยอยู่ Ethereum ไม่มาทำใน BSC
เนื่องจาก BSC เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย ทำให้มีโปรเจค DeFi และเหรียญ เกิดขึ้นมาบน BSC มาก แต่สิ่งที่น่ากังวลคือก็มีโปรโจค Scam และ Rugpull เกิดขึ้นมามากเช่นกัน ซึ่ง Binance เองก็ออกมาบอกแล้วว่าจะไม่รับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ดังนั้นใครที่เล่นอยู่บน BSC ก็ต้องคัดกรองโปรเจคที่จะลงทุนให้ดี อย่าลงทุนตามที่คนอื่นชวน คุณอาจจะโดนหลอกก็ได้ แต่ข้อดีก็คือมีฟาร์มให้ซิ่งเยอะ เหมาะกับคนไทย 55
3.Cardano (ADA)
มาถึงเจ้าเหรียญ Stablecoin สีฟ้าของเรานั้นเองงง แหมราคานี่ Sideway นานเหลือเกิน >< ไม่เอาไม่ว่าน้อนละ เพราะตอนนี้น้อนเริ่มขยับแล้วว
สำหรับเจ้า ADA หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า Cardano ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2558 โดย Charles Hoskinson ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Open-Source โดยจุดประสงค์ของ Cardano คือต้องการขยายเครือข่ายให้สามารถรองรับผู้ใช้งานจากทั่วโลกได้และต้องรวดเร็วด้วย ซึ่งเชนนี้สามารถรับการทำธุรกรรมได้มากถึง 257 ธุรกรรม/วินาที ในขณะที่ Bitcoin Blockchain ทำได้เพียง 7 ธุรกรรม/วินาที และ Ethereum Blockchain ทำได้ 20 ธุรกรรม/วินาที เท่านั้น
สำหรับระบบประมวลผลของ Cardano เลือกใช้เป็น Proof-Of-Stake (POS) ซึ่งปัจจุบัน ADA อยู่อันดับที่ 4 ของเหรียญที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ถือได้ว่าเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกกำลังจับตามอง ถึงขนาดที่ผู้เชี่ยวชาญบอกไว้ว่ามันคือ Ethereum ในเวอร์ชั่นที่พัฒนาแล้วด้วยนะ เพราะสามารถทำได้ทุกอย่างที่ Ethereum ทำได้ ทั้งเร็วกว่า ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าอีกด้วย
ยังไงก็ตามอยากให้เพื่อน ๆ จับตาเหรียญนี้ให้ดี เมื่อไรที่เครือข่ายของ Cardano เปิดให้ใช้กันคงจะได้รู้ว่าเป็นหมู่หรือจ่า
3.Algorand(ALGO)
เป็นตัวที่หลายคนขนานนามว่าเป็น “ Blockchain 3.0” เนื่องจากเป็นบล็อกเชนที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความในการทำธุรกรรมที่เร็วมาก ซึ่งความเร็วในการทำธุรกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 5 วินาที ถือว่าเร็วไม่ใช่เล่นเลย แถมตัว ALGO ยังใช้โปรโตคอลบล็อคเชนแบบ proof-of-stake อีกด้วย หมดห่วงเรื่องกินพลังงานไปได้เยอะ แถมค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำมากเพียงแค่ 0.001 ALGO หรือประมาณ 0.0019 ดอลลาร์เท่านั้น
เจ้า ALGO ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2019 โดยบุคคลที่ชื่อว่า Silvio Micali เป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ MIT ซึ่งเค้าได้รับรางวัลมาเยอะมากกไม่ว่าจะเป็น ผลงานในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติของการคำนวณแบบ secure two-party, เงินสดอิเล็กทรอนิกส์, คริปโตเคอเรนซี และโปรโตคอลบล็อคเชน ถือได้ว่าเป็นนักพัฒนาแนวหน้าของโลกเลยก็ว่าได้ นี้จึงเป็นเหตุผลให้ ALGO เป็นที่น่าจับตามองต่อไป
1
5.Cosmos(ATOM)
1
“Internet Of Blockchain” นี้คือฉายาที่ผู้คนมอบให้กับ Blockchain ตัวนี้ เนื่องจากเจ้า Cosmos พัฒนาขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงบล็อกเชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ลองจินตนาการนะคะว่า Chain แต่ละ Chain นั้นเปรียบเสมือนประเทศที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต ดังนั้นการจะติดต่อกันของแต่ละเชนนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น เจ้า Cosmos จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทำให้แต่ละ Blockchain สามารถทำงานงานร่วมกันได้ผ่าน Cosmos ได้นั้นเอง
สำหรับตัว Cosmos จะใช้ระบบแบบ proof-of-stake โดยมีเหรียญที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่ชื่อว่า ATOM และมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมจะอยู่ที่ 0.005 ATOM หรือประมาณ 0.18 ดอลลาร์
6.Avalanche (AVAX)
Avalanche เป็นแพลตฟอร์ม Smart Contract เช่นเดียวกับ Ethereum ,BSC ,Polygon หรือ Solana แต่โดดเด่นในเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม และความปลอดภัย รวมถึงความ Decentralized ด้วย
โดยผู้ก่อตั้งของ Avalanche คือ Emin Gun Sirer เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สัญชาติตรุกี ที่ทำงานด้านเกี่ยวกับ coding และเทคโนโลยีมาตลอด แถมยังเป็นอาจารย์อยู่ที่ Cornell University ที่ New york ด้วย นอกจากนั้นทีมของเค้ายังมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายเช่น จาก Microsoft Google Bitcoin.com
1
จุดเด่นของ Avalanche อยู่ที่ Consensus ที่แตกต่างไปจาก Bitcoin ที่เขียนมาให้ Validator node แก้ถอดรหัสแข่งกันเพื่อได้ BTC เป็นของรางวัลตอบแทน แต่ Avalanche ใช้ Consensus แบบ DAG ซึ่งเป็นอัลกอลิทึมที่ Emin คิดขึ้น โดยจะสุ่ม Validator node ตัวอื่น ๆ มา 5-10 ตัวและเปลี่ยนตัวเองตามเสียงส่วนมากเมื่อเปลี่ยนครบ ข้อมูลทุกตัวจะตรงกันหมด
ซึ่งวิธีการนี้สามารถทำธุรกรรมได้เร็วกว่า Bitcoin และมีความปลอดภัยมากกว่านั่นเอง โดยเค้าเคลมว่าถ้าจะควบคุม Avalanche ต้องถือเหรียญ AVAX มากกว่า 70% เลยทีเดียว ซึ่ง BTC อยู่แค่ 51%เท่านั้น
โดยเหรียญของ Avalanche คือ AVAX ซึ่งใช้เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียม และใช้ Stake เพื่อรับค่าธรรมเนียมจากการเป็น Validator Node
7.Polkadot (DOT)
ก่อตั้งโดย Gevin Wood (หรือชื่อเต็ม Dr. Gavin James Wood) เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งเขาคนนี้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum และมีบทบาทในฐานะ Chief Technology Officer (CTO) ของ Ethereum นั่นเอง
ทุกวันนี้ หลายๆองค์กรกำลังแข่งขันกันสร้างและพัฒนาเครือข่ายบล็อกเชน ทำให้เกิดเครือข่ายบล็อกเชนขึ้นมากมาย ซึ่งแนวคิดของ Polkadot พวกเขาไม่ได้มองว่าจะมีเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งที่จะขึ้นมาเป็นใหญ่เพียงหนึ่งเดียว แต่มองว่าบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายต่างก็มีวัตถุประสงค์ ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน หรือก็คือการ Connecting the Dots
Polkadot เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Sharded Blockchain ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการแบ่ง Nodes สำหรับ การประมวลผลออกเป็น Nodes ย่อยๆภายในเครือข่าย จึงทำให้เครือข่ายสามารถประมวลแบบขนาน หรือ Parallel Processing และแก้ปัญหา Scalability ได้ โดยทางผู้พัฒนา Polkadot เรียกระบบที่เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญนี้ว่า Relay Chain ส่วนหน่วยประมวลผลย่อยเหล่านี้ก็คือ Parachain
เหรียญ DOT ก็คือเหรียญคริปโตที่เป็นของเครือข่าย Polkadot ซึ่งตัวเหรียญจะมีบทบาทสำคัญกับเครือข่ายอยู่ 3 อย่างด้วยกัน
Governance มอบสิทธิ์ในการควบคุมเครือข่าย — ผู้ที่ถือครองเหรียญ DOT จะได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงเพื่อกำหนดทิศทางสำหรับการพัฒนาเครือข่าย
Staking ปักเหรียญในระบบเพื่อร่วมเป็นผู้ตรวจสอบ — ผู้ถือครองเหรียญ DOT จะสามารถเลือกได้ว่าจะปักเหรียญ DOT จำนวนหนึ่งไว้ในระบบหรือที่เรียกว่า Staking เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลหรือ Validator ให้กับเครือข่าย ซึ่ง Validator ที่ทำหน้าที่ได้ดีก็จะได้รับเหรียญ DOT ตอบแทน ในทางกลับกันผู้ตรวจสอบที่ทุจริตหรือละเลยหน้าที่ก็อาจถูกระบบยึดเหรียญไป
Bonding เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน — เครือข่ายบล็อกเชนที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Relay Chain ผ่านระบบ Bridge จะต้องทำการฝากเหรียญ DOT เข้าไปในเครือข่ายจำนวนหนึ่งเพื่อที่จะสามารถ Bonding หรือประสานเครือข่ายเข้าด้วยกันได้
8.Holochain Token (HOT)
เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่ Hot เหมือนชื่อจริง ๆ กับเหรียญ Holochain ที่อยู่ดี ๆ ก็สามารถลิสขึ้น Binance ได้และราคาก็ทะยานขึ้นสูงปี๊ดเลยทีเดียว
Holochain นั้นไม่ใช่ Blockchain แบบที่เราคุ้นเคยกันอยู่ แต่เป็นอะไรที่มัน Beyond ไปกว่านั้น
เพราะ Blockchain ทั่ว ๆ ไปจะเจอปัญหาเรื่องการ Scaling กันทั้งนั้น ยกตัวอย่าง Ethereum ที่เป็น Blockchain ที่คนใช้อยู่ทั่วโลก มี Node ที่เก็บข้อมูลเป็นล้าน ๆ ทั่วโลก
และตาม Consensus ที่แต่ละ Node ต้องเก็บข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการเอาไว้เพื่อป้องกันการโกง ทำให้ยิ่งมีผู้ใช้เยอะขึ้นเท่าไหร่ ความเร็วในการทำงาน และค่า Gas fee ก็จะยิ่งสูงมากขึ้นด้วย เหมือนที่ Ethereum เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่ Holochain ใช้ระบบที่ทุก node ไม่ต้องบันทึกข้อมุลทุก ๆ อย่างไว้ให้ตรงกัน แต่บันทึกเฉพาะ node ที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเองก็พอ
ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ Holochain สามารถทำงานได้ไวกว่า blockchain เมื่อมี node มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องมี Gas Fee เพื่อจ่ายเป็น Reward ให้ผู้ตรวจสอบด้วย
แต่การจะเข้าใช้ Holochain นั้นก็ยังต้องมีหน้าเว็บอยู่ดังนั้นจึงต้องมีบางคนที่ตั้งเครื่องตัวเองเพื่เป็น host ให้กับระบบ ดังนั้นผู้ที่มาตั้งเครื่องตัวเองเป็น host และให้คนอื่นเข้าผ่าน node ของตัวเองก็จะได้รับ Holochain token ไปเป็นของตอบแทน
9.Polygon (Matic)
หนึ่งใน Chain ที่เคยร้อนแรงมากกก แต่ตอนนี้ก็ดรอปลงมาแล้ว เพราะมีช่วงหนึ่งที่คนใช้เยอะเกินไป แต่เครือข่ายประมวลผลไม่ทัน ทำให้เชนตอนนั้นหน่วงไปเลย
1
Polygon หรือที่รู้จักกันในชื่อ Matic (ซึ่งจริง ๆ เป็นชื่อเก่าก่อนรีแบรนด์) แต่แอดขอเรียกเป็น Matic ละกันจะได้เข้าใจตรงกันนะ
ถ้า Binance Smart Chain เกิดขึ้นมาเพื่อฆ่า Ethereum chain
Matic ก็เกิดมาเพื่อ support Ethereum เช่นกัน
โดย Matic สร้างขึ้นมาบน Ethereum Layer2 เพื่อแก้ปัญหาค่าธรรมเนียมที่แพง และการทำธุรกรรมที่ช้าของ Ethereum หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเอ้าก็ไม่ต่างกับ BSC อ่ะสิ
จริง ๆ แล้ว Matic มีอย่างหนึ่งที่แตกต่างกับ BSC นั่นคือเรื่องความน่าเชื่อถือของ chain นั่นเอง แต่การที่ Matic สร้างจาก Ethereum ก็ช่วยยกระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อ Chain ได้มากขึ้นพอสมควร
ซึ่งหลังจากที่เปิดตัวมาก็ได้รับความสนใจจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม DeFi เจ้าดัง ๆ บน Ethereum เป็นจำนวนมาก เช่น AAVE หรือ Curve ที่มาเปิดสาขาบน Matic ด้วย
10.Terra (LUNA)
Terra เป็น chain จากบริษัท Blockchain สัญชาติเกาหลี และมีเหรียญ Governance Token อย่าง Luna.
หลายคนน่าจะรู้จัก Terra จากการทำ THT หรือไทยบาทดิจิทัล ซึ่งเป็น Stable coin ที่ถูกแบ็คไว้ด้วยเงินบาท ด้วยอัตรา 1:1
ซึ่งจริง ๆ แล้ว Terra ไม่ได้มีแค่ Thaibaht เท่านั้น แต่ยังมี Stable coin สกุลเงินอื่น ๆ อีกด้วยเช่น KRT เงินวอน EUT เงินยูโร และ JPT เงินเยนเป็นต้น
2
นอกจากโปรเจค Stable coin ที่ Terra chain มีแล้ว Terra ยังเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม DeFi อย่าง Anchor Protocol ซึ่งเป็น DeFi ที่มีบริการให้นำ Stable coin ไปปล่อยกู้ และได้รับผลตอบแทนเป็นเหรียญ LUNA
นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่คนไทยเล่นเยอะ เยอะเป็นอันดับที่ 1 ของโลก นั่นคือ Mirror นั่นเอง
Mirror Protocol เป็น DeFi ประเภท Synthetic Asset ที่สามารถนำหุ้นเทคโนโลยีอย่าง Tesla, Amazon หรือ Alphabet เป็นต้น มาทำฟาร์มบนแพลตฟอร์มได้ ซึ่งก็จะได้รับเป็นเหรียญ Mir เช่นกัน
1
11.Tron Chain (Rune)
Tron Chain เป็นโปรโตคอลสภาพคล่องแบบข้ามบล็อกเชน ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของการทำงานรูปแบบ Cross-Chain ที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ สามารถ Swap เหรียญแบบข้าม Chain กันได้สะดวกมากขึ้น โดยเจ้า Tron chain จะมีเว็ปเทรดแบบ Decentralized เป็นของตัวเองอีกด้วย ตรงนี้เพื่อน ๆ สามารถเข้าไปลองใช้งานกันได้ ค่อนข้างใช่ง่ายเหมือนกับ Uniswap หรือ Sushi swap โดยจะเสียค่าธรรมเนียมเป็นเหรียญ Rune อยู่ที่ 0.06 Rune หรือ 0.78 ดอลลาร์เท่านั้น
ตัวโปรเจกต์นี้ถือกำเนิดขึ้นในปี 2018 ซึ่งไม่เปิดเผยประวัติของบุคคลผู้ก่อตั้ง ทำให้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของโปรเจกต์ได้ เนื่องจากโปรเจกต์คริปโตส่วนใหญ่จะเปิดเผยทีมพัฒนาเพื่อความถูกต้องและโปร่งใส อันนี้เพื่อน ๆ ก็ต้องระวังและประเมินความเสี่ยงกันให้ดีน้าา
1
12.Solana (SOL)
Solana เป็นอีกหนึ่ง chain ดาวรุ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก และราคาก็พุ่งขึ้นมาเยอะมาก ๆ ด้วย
Mission ของ Solana ไม่ใช่เป็นการสวามิภักดิ์กับ Ethereum เหมือน Matic แต่เลือกที่จะประกาศว่าเป็นศัตรูกับ Ethereum หรือ Ethereum Killer เลย (Ethereum โคตรน่าสงสารมีแต่คนอยากฆ่า)
โดยจุดเด่นของ Solana คือการทำสิ่งที่ chain อื่นไม่เคยทำได้ให้ทำออกมาได้จริง ๆ
ใครที่เล่น DeFi มาก็จะเห็นว่าการทำ chain ให้มีครบทั้ง Scalability(การสเกล), Decentralization(การกระจายอำนาจ) และ Security(ความปลอดภัย) เป็นเรื่องที่ยากมาก อย่างมากก็มีได้แค่สองอย่างสูงสุด
1
ยกตัวอย่าง Ethereum มี Decentralization และ Security แต่มีจุดอ่อนที่ Scalability เนื่องจากมี gas fee ที่สูงทำให้คนไม่นิยมใช้
ส่วน BSC ก็มี Decentralization และ Scalability แต่มีจุดอ่อนที่ Security
แต่ Solana ประกาศออกมาเองเลยว่าเราสามารถทำได้ พวกกาก ๆ อ่ะหลบไป (อันหลังเค้าไม่ได้พูด!!) เทคนิคที่ Solona ทำให้ Chain ทั้งปลอดภัย ไว และค่าธรรมเนียมต่ำ คือการใช้ Proof of History และ Proof of Stake ร่วมกัน แอดขอไม่ลงลึกละกันเดี๋ยวจะงงเข้าไปใหญ่ รู้ไว้ว่ามันเร็ว และถูก ๆ มากก็พอ
มันไวขนาดไหน ลองมาเทียบกับ Ethereum ที่ปกติ 1 วินาทีจะทำธุรกรรมได้ 15 ธุรกรรม แต่ใน 1 วินาทีของ Solana ทำได้มากถึง 65,000 ธุรกรรม ซึ่งนี่ทำให้ค่าธรรมเนียม chain Solana ถูกมากเพียง $0.0015 ถูกกว่า Ethereum 10,000 เท่า!!
3
ซึ่งถ้าพูดถึงฟาร์มที่ดัง ๆ บน Solana ก็อย่างเช่น Raydium เป็นต้น
แต่แน่นอนว่าไม่มีอะไร Perfect Solana เองก็มีจุดอ่อนที่ยิ่งใหญ่อยู่คือภาษาที่ใช้เขียนโค้ดลงบน Solana เป็น Rust และ C ซึ่งในวงการโปรแกรมเมอร์ที่แอดเคยอยู่มาบอกได้เลยว่าภาษา C นี่แทบจะไม่มีคนใช้เลยเพราะด้วยการเขียนที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและเสียเวลา ซึ่งปกติ Chain อื่นจะใช้ภาษา Solidity กันซึ่งแน่นอนว่ามี Library อยู่มากให้ศึกษา
13.Tron(TRX)
Tron เป็นบล็อกเชนที่ใช้โปรโตคอล “TRONZ Smart Contract Privacy” ที่มีความปลอดภัยสูง และยังประหยัดพลังงาน มีจุดประสงค์ที่จะใช้ระบบเพื่อสร้างความบันเทิงทั่วโลกด้วยเนื้อหาที่ฟรี เช่น วิดีโอ เสียง รูปภาพ ตัวอักษรและอื่นๆ ผสมผสานให้เข้ากับเทคโนโลยีแบบ Blockchain
โดยมี TRON Foundation องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและ Justin Sun เป็นผู้ก่อตั้ง
ซึ่งผลกำไรที่ทางมูลนิธิได้รับมาจะนำไปใช้ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ แทน ในส่วนของสมาชิกในองค์กรจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากผลกำไรเลย ได้อ่านแล้วก็โว้วว.. แอดขอให้ฉายาเป็นพ่อพระแห่งโลกบล็อกเชนได้มั้ยเนี้ยย
ในด้านความเร็วในการทำธุรกรรมของ Tron ก็ไม่น้อยหน้าใครอยู่ที่ 2,000 รายการต่อวินาที เหมือนจะเร็วพอ ๆ กับ Paypal เลยทีเดียว และมีเหรียญ TRX ที่ใช้สำหรับในการจ่ายค่า Gas บนเครือข่าย
ปัจจุบันเหรียญ TRX มีทั้งหมด 1 แสนล้านเหรียญ ถือว่าเยอะมากกก และตอนนี้มีเหรียญอยู่ในระบบหมุนเวียนถึง 7 หมื่น 1 พัน ล้านไปแล้ว แถมเจ้า Trx ยังอยู่ในอันดับ 29 ของ Coinmarketcap อีกด้วย
15.Trezos(XTZ)
Trezos เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมาก ถึงขั้นติด Top 100 เหรียญที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกกับเค้าด้วย ซึ่งเจ้า Trezos ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2014 โดยสองหนุ่มชื่อ Arthur Breitman และ Kathleen Breitman และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แถมเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ระดมทุนได้มากที่สุดในปี 2017 ด้วยมูลค่ากว่า 232 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
ตัว Trezos เป็น Blockchain ที่ทำ Smart Contracts และ dApps เหมือนกับ Ethereum แต่จะต่างกันนิดหน่อยตรงที่ Tezos ใช้ Zero-knowledge Proof ในการแก้ปัญหาด้านการ Scaling ต่าง ๆ ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมได้ด้วย
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ Trezos ได้รับการสนับสนุนจากมหาเศรษฐีพันล้านอย่าง Tim Draper และสองฝีน้องฝาแฝด Winklevoss อีกด้วย ถือได้ว่ามีเงินหนุนหลังให้สามารถพัฒนาโปรเจกต์ได้อีกไกลแน่นอน
จบไปแล้วน้าา กับ 14 เหรียญ Chain ที่หน้าจับตามอง เพื่อน ๆ คนไหนสนใจเหรียญไหนเป็นพิเศษ แอบใบ้แอดไว้ที่ใต้คอมเมนท์หน่อยน้าา
โฆษณา