16 ม.ค. 2022 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เรื่อง : 9 ความจริงเกี่ยวกับการนอนที่คุณอาจยังไม่รู้
4
ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่านโดยประมาณ : 10นาที
การนอนนั้นดูเรียบง่าย แต่จริงๆแล้วมันเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนมาก วงการวิทยาศาสตร์กำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมองและร่างกายของเราบ้างระหว่างการนอน รวมถึงหาปัจจัยที่มีผลต่อการนอนทั้งทางบวกและทางลบ โดยในปัจจุบันมีความรู้และความเชื่อหลายๆอย่างที่ได้รับการยืนยันแล้ว จะมีอะไรบ้างติดตามกันได้เลยครับ
1. การนอนหลับไม่ใช่กิจกรรมแบบ Passive และไม่มีอะไรซับซ้อน
แม้คุณไม่รู้สึกตัวขณะนอนหลับ แต่จริงๆแล้วมันมีกระบวนการต่างๆมากมายที่กำลังทำงานอยู่โดยที่คุณไม่รู้ตัว กล่าวคือ สมองของคุณได้ทำงานอย่างหนักเมื่อคุณฝัน โดยมันจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดระหว่างวันและจัดเก็บพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง นอกจากนี้ระบบต่มไร้ท่อของคุณจะปล่อยฮอร์โมนออกมาจำนวนหนึ่งระหว่างการนอน เช่นต่อม Pineal สร้าง Melatonin ที่ช่วยควบคุมการนอนหลับ ในขณะที่ต่อมใต้สมองจะปล่อยฮอร์โมนสร้างการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3
2. นอนกรนนั้นเป็นเรื่องใหญ่
คนหลายๆคนอาจมองว่าการนอนกรนนั้นเป็นแค่เรื่องกวนใจเล็กๆที่ปลุกคนข้างๆขึ้นมาในกลางดึก แต่จริงๆแล้วการนอนกรนเรื้อรังหรือมากเกินไปนั้นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ โดยมันอาจเกิดจากภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA ซึ่งเกิดจากทางเดินหายใจของคุณนั้นถูกขัดขวาง โดยคุณอาจหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งมันส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการนอนอีกทั้งยังอาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ เช่น ความดันโรลิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน หัวใจวาย และ โรคหลอดเลือดสมอง
3
3. เล่นโทรศัพท์หรือดูทีวีก่อนเข้านอนทำให้คุณภาพการนอนลดลง
3
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ปล่อยแสดงสีฟ้าออกจากจอแสดงผล ซึ่งจะยับยั้งการปล่อยฮอร์โมน Melatonin ซึ่งทำให้คุณหลับได้ยากขึ้น และร่างกายขนาดการพักผ่อนในแบบที่ควรจะเป็น โดยในทางที่ดีคุณควรงดใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และแทนที่ด้วยการอ่านหนังสือหรือฟังเพลงเพราะๆแทน
3
4. จริงๆแล้วคนเราสามารถนอนหลับได้แม้ในขณะที่เปิดตาอยู่
สิ่งนี้เกิดขึ้นกับคนที่มีอาการตาปิดไม่สนิทในเวลากลางคืน นี่เป็นกรณีหนึ่งของการเป็นอัพพาตที่ใบหน้าซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อ โรคหลอดเลือดสมอง การผ่าตัด การบาดเจ็บ ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการใช้ผ้าปิดตานอน แต่ในบางรายที่อาการซับซ้อนกว่านั้น อาจต้องแก้ไขด้วยวิธีผ่าตัด เพราะการหลับแบบยังลืมตานั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของการนอน รวมถึงยังอาจทำให้กระจกตาได้รับความเสียหายได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาในการมองเห็น
2
5. การงีบหลับระหว่างวันจะช่วยให้คุณทำงานได้มากขึ้น
การนอนกลางวันเป็นสิ่งที่หลายคนคิดว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี เพราะคุณมักรู้สึกมึนงงหลังการงีบ อีกทั้งมันอาจจะไปกระทบกับตารางการนอนหลับของคุณด้วย แต่ในบางครั้งหากคุณไม่อาจทนต่อความง่วงในเวลากลางวันได้จริงๆ การงีบก็เป็นทางเลือกที่คุณควรทำ โดนการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลียได้พิสูจน์แล้วว่า การงีบหลับเป็นช่วงเวลาสั้นเพียง 7-10 นาที สามารถเพื่มความตื่นตัวและช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการนอนกลังวันคือช่วงบ่ายต้นๆ เพราะมันจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการนอนของคุณในเวลากลางคืน
3
6. จริงๆแล้วคนเราสามารถนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงได้โดยไม่สงผลกระทบต่อสุขภาพ
ในความเป็นจริงแล้วจำนวนชั่วโมงการนอนหลับที่เพียงพอในแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ส่วนมากมันเป็นไปได้ตั้งแต่ 6-9 ชั่วโมง วิธีที่ดีในการค้นหาว่าร่างกายของคุณต้องการกี่ชั่วโมงสำหรับการนอน ก็คือ ให้คุณของเข้านอนเมื่อรู้สึกอ่อนล้าหรือง่วงจริงๆ แล้วตื่นขึ้นโดยไม่ต้องใช้เสียงปลุกจากนาฬิกาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนนั้นคุณจะประเมิณปริมาณการนอนที่เหมาะสมได้ และจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์นั้นพบว่าอัตราการเสียชีวิตสามารถเพิ่มขึ้นได้ทั้งในคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ และในคนที่นอนหลับมากเกินไป
4
7. การนอนไม่พอไม่ได้แค่ทำให้คุณรุ้สึกเหนื่อยล้า แต่ยังมีผลกระทบในด้านอื่นอีกมาก
การอดนอนส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของคุณอย่างจริงๆจัง ทำให้ยากต่อการมีสมาธิและความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการนอนที่ไม่มีคุณภาพ กับการเกิดโรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก อีกทั้งยังเพิ่มความเสียงต่อโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน อีกทั้งยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นอ่อนแอลง ซึ่งมันอาจทำให้คุณป่วยได้ง่ายขึ้น
2
8. ตื่นเช้าก็ไม่ได้ดีกว่าตื่นสายเสมอไป
5
คนทั่วไปมักเชื่อการการตื่นเช้ามักดีกว่า และช่วยให้ทำงานได้มากกว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า แต่จากผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ พอว่าสุขภาพและความสำเร็จของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาตื่นนอนเลย ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มคนที่ตื่นสายมีแนวโน้มจะมั่งคั่งกว่ากลุ่มคนที่ตื่นเช้ากว่าเสียด้วยซ้ำและจริงๆแล้วการกำหนดว่าตื่นเช้าหรือตื่นสายมันไม่ได้กำหนดด้วยเวลาบนเข็มนาฬิกา แต่มันถูกกำหนดด้วยนาฬิกาของร่างกาย ซึ่งเป็นเรื่องในระดับพันธุกรรมเลยทีเดียว
3
9. การกดปุ่มเลื่อนนาฬิกาปลุกนั้นมีผลเสีย
การกดเลื่อนนาฬิกาปลุกนั้นทำให้คุณได้รับผลกระทบที่ไม่คุ้มเอาเสียเลย เมื่อคุณเลื่อนเวลาออกไป ร่างกายก็จะเข้าสู่วงจรการนอนหลับอีกครั้ง แต่วงจรการนอนหลับที่ดีนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ 75-90 นาที ดังนั้นเมื่อนาฬิกาปลุกครั้งที่ 2 ดังขึ้น คุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า และง่วงนอนมากขึ้น เพราะสมองของคุณยังติดอยู่ในวงจรการนอนหลับใหม่นั้นเอง
8
เรียบเรียงโดย
นายจอมโม้
15 มกราคม 2022

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา