17 พ.ค. 2022 เวลา 15:15
ผลวิจัยชี้ คนไทยป่วยเป็น "โรคสมองเสื่อม" เพิ่มขึ้นปีละ 10%
นายกสมาคมโรคสมองเสื่อมฯ เผยผลวิจัย ประเทศไทยป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นปีละ 10% ชี้ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานหรือกิจกรรมทางกายภาพ ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ มีโอกาสเกิดภาวะโรคสมองเสื่อม 9 ใน 10 คน
16 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ.ประเสริฐ บุญเกิด นายกสมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมว่า "Dementia" โรคสมองเสื่อมนั้น มีสาเหตุมาจากอายุมากขึ้น โอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับแบบทวีคูณ
ซึ่งผู้สูงอายุทุกคนมีโอกาสที่เกิดโรคนี้ได้ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยศึกษาอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมและปัจจัยเสี่ยงที่ตนเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานสธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุบลราชธานี เป็นคนเก็บข้อมูลจำนวน 529,764 คน ผู้หญิงอายุ 30-99 ปี ระหว่างปี 2549-2555 ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 519 ราย
พบว่า ช่วงอายุ 50 ปี มีโอกาสเกิดคนจำนวน 25% อายุ 60 ปี ประมาณ 50% จนกระทั่งอายุ 80-84 ปี เป็นช่วงที่พีคจะมีอัตรา 89% อาการจะคงที่อายุ 85-99 ปี ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานหรือกิจกรรมทางกายภาพ ออกกำลังกายอย่างเพียงพอจะมีโอกาสที่เกิดภาวะโรคสมองเสื่อม 9 คนใน 10 คน
2
ทั้งนี้ การดำเนินภาวะอาการเกิดโรคสมองเสื่อมจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในตอนเริ่มต้น จึงทำให้คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่รู้ตัวและอาการโรคขั้นสูงสุดอายุ 84 ปี หลังจากนั้นอาการลดลงในระยะสุดท้ายช่วงอายุ 85-99 ปี
1
นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ จะเสียชีวิตหลังเป็นเฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี โดยผู้หญิงจะเสียชีวิตช้ากว่าผู้ชาย ขณะที่ปัจจุบันยาที่ให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมรับประทานไม่ได้แก้ที่สาเหตุโรค เพียงแต่ทำให้เสียชีวิตช้าลง และในระยะสุดท้ายผู้ใกล้ชิดก็ต้องดูแลผู้ป่วยเหมือนกับเด็กเล็กทุกอย่าง
2
สำหรับปัจจัยตัวแปรที่สำคัญกระตุ้นให้เกิดภาวะโรคสมองเสื่อม อันดับแรกมาจากวัยที่อายุเพิ่มมากขึ้น อันดับสองกิจกรรมทางกายภาพที่ไม่ได้ทำงาน การไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ และอันดับสาม โรคเบาหวาน ซึ่งงานวิจัยทั่วโลก ระบุว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า ส่วนปัจจัยเสี่ยงเสริมอื่นๆ ได้แก่ ช่วงระยะเวลาการนอนหลับไม่เพียงพอ และระยะการนอนหลับลึกน้อยกว่า 4-5 ชม.
1
สำหรับกรณีอาการสมองเสื่อมของหลวงปู่แสง ญาณวโร ที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทำในสิ่งที่ไม่เคยทำตามที่ทีมแทพย์รักษา แถลงว่าพระลูกศิษย์โทรมารายงานให้ทราบช่วงกลางปี 2561 จากที่เคยเคร่งระวังไม่ให้สัมผัสร่างกายเปลี่ยนเป็นสัมผัสคนอื่นนั้น
พร้อมกันนี้ นายกสมาคมโรคสมองเสื่อม ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า คำว่า เสื่อม คือ ถอยหลังทำให้กลไกสมองกลับที่ซีโร่เซ็ต บางรายเหมือนเด็กเกิดใหม่ ไม่สามารถฟัง พูด หรือโต้ตอบได้
เนื่องมาจากสมองส่วนทำงานสูงสุดสูญเสียการควบคุม ซึ่งเคยมีพฤติกรรมลักษณะคล้ายๆ กันนี้เกิดขึ้นกับคนที่ถูกรถชนสลบไปและส่งผลกระทบทางสมอง พอฟื้นขึ้นมาพฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคนไปจับพยาบาล จับโน่นจับนี่ อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่า จะต้องเกิดขึ้นกับทุกคน
ศ.นพ.ประเสริฐ ระบุว่า การเสื่อมของสมองแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กิจกรรมที่เคยทำแล้วกลับทำไม่ได้ ระยะที่ 2 สูญเสียความสามารถทำกิจกรรมที่ทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ อย่างการเข้าห้องน้ำ ทานข้าว ทำความสะอาดร่างกาย ระยะที่ 3 สมองแยกความสกปรก, ความสะอาดไม่ได้ ซึ่งในรายอาการหนักอาจตักน้ำจากชักโครกมาใช้ เดินไม่ได้ พูดไม่ได้ เหมือนเด็กๆ สุดท้ายจำใครไม่ได้แม้แต่ตัวเอง
นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์และจิตใจ โดยจะเป็นคนโมโหง่ายจากที่เดิมเป็นคนใจเย็น หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงขึ้นเร็ว ลงเร็วมาก ซึ่งบางคนเมื่อเริ่มมีอาการสมองเสื่อมนั้นจะสังเกตเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงอารมณ์โมโหฉุนเฉียวง่ายๆ เกิดขึ้นบ่อยผิดปกติ หรือมีปัญหาความจำโดยจะถามซ้ำๆคำถามเดิมทุก 2-3 นาที
"อาการของโรคสมองเสื่อมแบ่งออกเป็น 3-7 ระยะ จะค่อยๆ ดำเนินโรคอย่างช้าๆ ทำให้คนที่เป็นจะไม่รู้ตัว เนื่องจากขยะของเสียจะค่อยๆ เกิดสะสมขึ้นในสมองทีละน้อยๆ และถ้าขับออกไม่หมดสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงครึ่งของสมองแล้ว จึงจะค่อยแสดงอาการปรากฏให้เห็น ดังนั้น คนเป็นโรคสมองเสื่อมในช่วงเริ่มตันจะไม่รู้ตัว
สำหรับโรคนี้ต้องบอกว่าเป็นโรคที่น่ากลัวมาก เพราะคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่ยอมรับ บอกว่าตัวเองสบายดี ซึ่งคนที่ใกล้ชิดต้องเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจ ลูกหรือญาติอาจเข้าใจผิดว่าพ่อหรือแม่แกล้งทำ ซึ่งเขาอาจจำใครไม่ได้รวมทั้งตัวเองด้วย
อะไรที่มาก่อนจะลืมทีหลัง แต่ความจำอะไรที่มาที่หลังจะลืมก่อน อาจจะลืมคนข้างเคียง จำลูกหลานไม่ได้ อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นเขาไม่กลัว เขาไม่ suffer (ทุกข์ทรมาน) เพราะว่าสมองเขาแยกอะไรไม่ได้แล้ว ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน แต่คนดูแลทุกข์มากๆและในผู้ป่วยบางรายต้องมี2คนประกบ คนดูแลจะแย่ไม่สบายก่อน"
วิธีการที่ชะลอเวลาเกิดโรคสมองเสื่อม
  • การออกกำลังกาย ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต โดยการออกกำลังกายให้เหนื่อยและมีเหงื่อออก วันละครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง
  • ออกกำลังกายแอโรบิค
  • จ๊อกกิ้ง
  • คาดิโอ
  • ทำสวน
  • ทำไร่
  • ขุดดิน
  • ตัดกิ่งไม้
  • ทำนา หรือ ก่อสร้าง เป็นต้น
1
ทั้งนี้ การออออกกำลังกายที่จะช่วยลดผลลบเกิดโรคสมองเสื่อมได้นั้น ต้องออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นแรงจนเส้นเลือดสมองหดและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงจะมีผลช่วยขับขยะของเสียระบบการทำงานของสมองประสาทส่วนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากถึงสองเท่า
โดยกลไกดังกล่าวนี้เมื่อร่างกายทำกิจกรรมจนเหงื่อออกและหัวใจเต้นแรงต่อเนื่องก็จะดูดและผลักเบต้า-อะมีลอยด์ ผ่านออกมาทางกลิมฟาติกของสมองที่มีรูปร่างคล้ายโดนัทบางๆ ที่หุ้มเส้นเลือดแดงสมองทั้งหมด เมื่อเราออกกำลังกายทำให้เกิดความดันโลหิตที่หดและขยายตัวแรง จะส่งผลให้เกิดกลไกปั๊มและดูดขับเอาของเสียออกจากน้ำที่ล้อมรอบสมอง
นอกจากนี้ ผลของการออกกำลังกายที่เหงื่อออกมากๆ ยังสามารถช่วยคลายความเครียด ซึ่งจะช่วยให้หลับสนิทได้ ขณะที่การใช้ยานอนหลับช่วยนั้น ยิ่งนานจะต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นไปเรื่อยๆ หรืออย่างชาวสวน เกษตรกรที่ทำงานตลอด 7 วัน ก็มีส่วนทำให้สมองเสื่อมน้อยลง
แต่การออกกำลังกายเพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ไม่พอ แต่ถ้า 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมจากอายุที่มากขึ้นได้ถึง 37% และถ้าออกกำลังกายทุกวัน จะลดปัจจัยเสี่ยง 57% เลยทีเดียว
"วันนี้เราเริ่มการออกกำลังกายยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี จะเป็นวัคซีนช่วยลดอัตราการก่อตัวของโรคสะเก็ดเงินอะมีลอยด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมเบี้องต้นที่ทุกคนสามารถทำเองได้" ศ.นพ.ประเสริฐ กล่าว
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประเมินสถานการณ์โรคสมองเสื่อมจากคาดการณ์บอกว่า สถานการณ์โรคสมองเสื่อมจากภาวะประชากรโลกสูงอายุทั่วโลกในปี 2050 โรคสมองเสื่อมจะเป็น pandemic คือ เต็มโลกไปหมด เหมือนโรคโควิด-19
ซึ่งขณะนี้ในประเทศที่พัฒนาสูงอย่างกลุ่มประเทศยุโรป ญี่ปุ่น มีอัตราผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคสมองเสื่อมจำนวนมาก และประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนคนโรคสมองเสื่อมก็มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน รวมทั้งประเทศไทยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10%
โฆษณา