22 พ.ค. 2022 เวลา 02:53 • การเกษตร
“อิมแพ็ค ฟาร์ม” โครงการ CSR ของบางกอกแลนด์ หวังสร้างอิมแพคให้เกษตรกรอินทรีย์ไทย
การทำเกษตรอินทรีย์ หรือ ออร์กานิค (Organic) นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรกรรมที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา ความรู้ และความอดทนของเกษตรกรอย่างมาก แต่การทำการตลาดเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้นยากกว่า เพราะจะต้องเจอความท้าทายเรื่องตลาด และช่องทางการจำหน่าย ซึ่งไม่ใช่งานถนัดของเกษตรกร …. “อิมแพ็ค ฟาร์ม” จึงเกิดขึ้น
อิมแพ็ค ฟาร์ม เกิดจากความตั้งใจของ “พอลล์​ กาญจนพาสน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)​ ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองธานี ในฐานะคุณพ่อลูก 3 ที่อยากให้ครอบครัวได้ทานผลผลิตที่สะอาดและปลอดภัย และเห็นผลกระทบจากปัญหาสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว
เขาได้เปลี่ยนความต้องการส่วนตัวเป็นโครงการอิมแพ็ค ฟาร์ม ทันทีเมื่อเขาได้มีโอกาสได้พบกับ “คุณครูปทุม สุริยา”​ ปราชญ์เกษตรอินทรีย์แห่งเมืองเหนือเมื่อปลายปี 2564 และได้สัมผัสกับผลผลิตผักผลไม้ที่ไม่ใช้สารเคมี และได้รับข้อมูลว่าเกษตรอินทรีย์นั้นผลผลิตอาจจะไม่ได้เต็มที่เหมือนการทำเกษตรทั่วไปที่ใช้สารเคมี ทำให้ประสบปัญหาเรื่องการทำการตลาด
โครงการอิมแพ็ค ฟาร์ม ถือเป็นโครงการเพื่อสังคมโครงการแรกของบางกอกแลนด์ เป็นโครงการ CSR ที่เกิดขึ้นเมื่อกันยายนปี 2564 เมื่อผมได้ไปเยี่ยมชมสวนเกษตรอินทรีย์ของคุณครูประทุม ได้ทานข้าวแล้วรู้สึกข้าวอร่อย ซื้อข้าวกลับมากินบ้าน และเริ่มขายเพื่อน ๆ และคนรู้จัก จนได้คุยกับคุณครู แล้วพบว่าคุณครูอยากจะพัก เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ยากและเหนื่อย และยังต้องหาตลาดอีก จึงเลยเข้าไปช่วย จนกลายมาเป็นอิมแพ็ค ฟาร์ม
จุดบรรจบ เกษตรอินทรีย์ กับ การตลาด
อิมแพ็ค ฟาร์ม คือ จุดเริ่มต้นของการพบบกันระหว่าง “เกษตรอินทรีย์” แนวคิดการทำเกษตรบนความยั่งยืนของปราชญ์เกษตรแห่งเมืองเหนือกับตลาดขนาดใหญ่ในเมืองกรุง และนำมาซึ่งภาพเจนตาเป็นประจำทุกสัปดาห์ที่รถขนส่งควบคุมอุณภูมิขนาดใหญ่จะนำผักผลไม้ออกนิกสด ๆ จำนวน 500 กิโลกรัมจากเกษตรอินทรีย์จำนวน 69 รายในเชียงใหม่มาส่งที่ “ครัวกลาง” อิมแพค เมืองทองธานี ทุกวันอังคารและวันศุกร์
เพื่อปรุงเป็นเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลายเพื่อเสิร์ฟให้แก่ลูกค้าและผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา (catering) และเพื่อกระจายส่งครัวของร้านอาหารในเครือบางกอกแลนด์อีก 29 ร้านภายใต้ 4 แบรนด์ อาทิ ร้านอาหารจีน “ฮ่องกง ฟิชเชอร์แมน”,​ ฮ่องกงสุกี้,​ ร้านอาหารญี่ปุ่น “สึโบฮาจิ” และ “อุวะจิมะ” ร้านอาหารฟิวชั่น “บรีช คาเฟ่ แอนด์ บาร์” และร้านอาหารไทยพื้นบ้าน “ทองหล่อ” เป็นต้น
ความร่วมมือกันเริ่มต้นมาราว 2 เดือน เริ่มต้นจากการซื้อผักผลไม้ออกานิกมาใช้เองในครัวของอิมแพ็ค เมืองทองธานี และร้านอาหารในเครือบางกอกแลนด์ จนขยายมาสู่การนำมาขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (ทั้งเว็บไซต์ https://impactyummy.foodie-delivery.com และ และ LINE: @impactmuanthong เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
พอลล์ กล่าวว่า อิมแพ็ค ฟาร์ม คือ โครงการเพื่อสังคม (CSR) ของบจม.บางกอกแลนด์ ที่ตั้งใจจะสร้างอิมแพคให้กับเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ที่เชียงใหม่ สร้างโอกาสในการเข้าถึงผลผลิตเกษตรออแกนิกให้กับผู้บริโภค และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรอินทรีย์
ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ภายใต้โครงการมีหลากหลาย เช่น ผักสลัด บ็อกฉ่าย จิงจูฉ่าย คะน้า ใบหหยิกม่วง มะเขือม่วงจาน ไข่ผำ อะดวคาโด ฝรั่ง ส้มโอ เป็นต้น ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนกันไปตามฤดูกาล
อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีจัดงาน 800 งานต่อปี และมีคนเข้ามาร่วมปีละ 10 ล้านคน ทั้งงานนิทรรศการ จัดเลี้ยง และประชุมสัมมนา ส่วนของบริการอาหารจัดเลี้ยง มีการปรับใช้ผักผลไม้ออกานิคจากโครงการอิมแพ็ค ฟาร์ม เชฟมีการปรับเปลี่ยน คิดและออกแบบเมนูอาหารและเครื่องใหม่เพื่อใช้ส่วนผสมผักผลไม้มากขึ้น
นอกจากที่อิมแพ็ค เมืองทองธานีแล้ว ผักผลไม้ออกานิกจากโครงการอิมแพ็ค ฟาร์มจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหารอีก 29 ร้านของเครือบางกอกแลนด์ รวมถึงสนับสนุนร้านค้าร้านอาหารที่เช่าพื้นที่ในเมืองทองธานีและลูกบ้านในเมืองทองธานีด้วยแรงจูงใจเรื่องต้นทุนและการตลาด
ร้านอาหารจากผลผลิตกรเกษตรอินทรีย์ในภาพรวมมีการเติบโตและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากขึ้น มีผู้เล่นรายใหญ่หลายรายตบเท้าเข้าตลาด แต่พอลล์ ยืนยันว่า ไม่ได้วางแผนให้ อิมแพ็ค ฟาร์ม เป็นธุรกิจใหม่ (new s-curve) แต่ตั้งใจให้เป็นโครงการเพื่อสังคม (CSR) ที่จะช่วยเหลือเกษตรไทยให้มีรายได้ที่ยั่งยืน และได้ส่งต่อผลผลิตปลอดภัยให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักผลไม้ออกานิกได้สะดวกมากขึ้น
โครงการอิมแพ็ค ฟาร์ม เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เข้าร่วมกว่า 69 รายในจังหวัดเชียงใหม่โดยมีคุณครูปทุม สุริยา เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาบัญชีฟาร์ม ประจำปี 25552 แห่งศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่สวนครูปทุม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหัวเรือใหญ่
เครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ เชียงใหม่
คุณครูประทุม กล่าวว่า การร่วมมือกับบางกอกแลนด์ภายใต้โครงการอิมแพ็ค ฟาร์ม เกิดจากความต้องการหาคนมาสานต่อความตั้งใจในการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งต่ออาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วยการส่งผลผลิตที่เพาะปลูกในพื้นที่สู่เมนูอาหารของร้านในเครือข่ายของอิมแพ็ค และช่องทางออนไลน์ และเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ได้มีรายได้ตลอดทั้งปี
จุดเริ่มต้นชีวิตเกษตรกรของคุณครูประทุม เริ่มต้นเมื่อปี 2538 ในช่วงที่เรียนปริญญาโทและได้ทำวิจัยเรื่องถั่วเน่าหมัก ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คุณครูประทุมได้คิดทบทวนเกี่ยกวับอนาคตของเกษตรไทย คำถามเกิดขึ้นในใจว่าทำไมประเทศที่เจริญแล้วเขามองเกษตรกรเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้สร้างอาหารที่สำคัญให้ประชากรทั้งโลก ส่วนประเทศไทยเกษตรกร คือ อาชีพที่ยากจน
จุดเปลี่ยนนั้นนำพาชีวิตของคุณครูประทุมสู่เส้นทางเกษตรกรอินทรีย์ผู้ทุ่มเทสร้างเกษตรอินทรีย์มาตลอด 26 ปี ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา คุณครูเริ่มต้นชีวิตเกษตรกรด้วยเงินกู้ 200,000 บาทจากธนาคารเพื่อการเกษตร (ธกส.) มาพัฒนาที่ดิน 9 ไร่ 1 งาน
โดยเริ่มจากการสร้างแหล่งน้ำและพื้นที่เพาะปลูก 7 ไร่ แต่ช่วงแรกคุณครูยังไม่ได้เริ่มทำเกษตรอินทรีย์ แต่เริ่มต้นที่เกษตรเคมี ผลที่ได้ คือ ขาดทุน จากนั้นคุณครูประทุมใช้เวลาอยู่ 2 ปี ศึกษาและทดลองทำเกษตรอินทรีย์ ปรับรูปแบบการผลิตใหม่ ปรับสภาพดิน ใช้การวิเคราะห์และสังเกต ปรับกระบวนการทำการเกษตรอินทรีย์จนได้ผลผลิตที่ดี
จึงตัดสินใจลาออกจากราชการครูมาเป็นเกษตรกรอินทรีย์เต็มตัวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จนกลายเป็นศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่สวนครูประทุม จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นภาคเครือข่ายเกษตรกรที่ปลูกผักผลไม้อินทรีย์กว่า 69 ราย อาทิ
บุญเสริม ไคร้งาม แห่งบ้านสวนลุงเสริม ผู้มีความใฝ่ฝันอยากทำเกษตรเพราะชอบปลูกผัก ปลูกไม้ดอกตั้งแต่เด็ก ก่อนผันตัวเองมาทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2558
ปณิธาน ทองดอนอ่ำ เจ้าของสวนแพลินจิตริมธาร ที่แม้จะรู้ว่าการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ได้ลดความพยายาม ลุยปลูกผักผลไม้แบบอินทรีย์จนประสบความสำเร็จมีผลผลิตออกขายสู่ตลาด
พิชญา พุทธิมิตร เจ้าของ Be Organic Farm ผู้ปลูกผักอินทรีย์ 100% ปัจจุบันผลผลิตที่ปลูกได้ นำมาจำหน่ายและเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรปรู
มาลินี วรรณวงศ์ จากสวนครูแอ๊ว ที่ใช้ชีวิตหลังจากเกษียณอายุราชการมาทำสวน ซึ่งผลผลินที่ได้มีหลากหลาย ทั้งลำไย กล้วย ฝรนั่ง ผักพื้นบ้าน
ปรัศนียาภรณ์ อาศิรพัฒน์ ที่ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาสร้างสวนมะนาวอินทรีย์ ซึ่งแตกต่างจากมะนาวที่อื่น ๆ เพราะมีน้ำมาก เมล็ดน้อย กลายเป็นที่ต้องการของตลาดร้านอาหาร กลุ่มร้านเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
โครงการ CSR กับ ธุรกิจอาหาร 3,000 ล้านบาทใน 3 ปี
แม้ว่าอิมแพ็ค ฟาร์มจะเป็นโครงการเพื่อสังคม (CSR) แต่พอลล์ เองมีการวางเป้ารายได้ธุรกิจอาหารทั้งร้านอาหารและบริการจัดเลี้ยงของอิมแพ็ค เมืองธานีไว้ว่าจะสามารถเติบโตมีรายได้ปีละ 3,000 ล้านใน 3 ปีข้างหน้า ด้วยการมองหาโอกาสทางธุรกิจ และการคิดและสร้างธุรกิจใหม่ในอนาคต
ล่าสุด คือ การเปิดธุรกิจโรงเรียนสอนศิลปะการทำอาหารสัญชาติฝรั่งเศส “เลอโนท ประเทศไทย” ที่คาดว่าจะเปิดสอนได้ปลายปี 2565 นี้ เพื่อรองรับตลาดกลุ่มไมซ์ครบวงจรของ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี”
“การที่จะไปถึงรายได้ปีละ 3,000 ล้านบาทนั้น มีโอกาสเป็นไปได้สูง เพราะธุรกิจประชุมสัมมนา ร้านอาหาร บริการจัดเลี้ยงยังมีช่องว่างของการเติบโตอีกมาก ประกอบกับเราจะเพิ่มศักยภาพรายได้จากธุรกิจร้านอาหารอีกเท่าตัว ซึ่งเป็นได้ทั้งเพิ่มแบรนด์ และเพิ่มจำนวนสาขา”
สำหรับรายได้จากธุรกิจอาหารปี 2565 ของบางกอกแลดน์ คือ 1,000 บาท โดยในจำนวนนี้จะเป็นต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบที่เป็นผักผลไม้ออกานิกจำนวน 2 ล้านบาท
โฆษณา