31 พ.ค. 2022 เวลา 13:40 • สุขภาพ
การดูแลจิตใจ = การดูแลสุขภาพ
“หมอคิดว่าจะส่งปรึกษาจิตแพทย์ดูแลต่อนะคะ”
คำตอบจากคนไข้
- ไม่อยากเข้าไปแผนกนั้น
- ไม่เอายังไม่ถึงขนาดนั้นมั้งหมอ
- ไม่เอา ไม่ได้เป็นบ้า ไม่ได้โรคจิต
1
แอดหมอเป็นหมอเวชศาสตร์ครอบครัว ก็เป็นแพทย์อีกกลุ่มที่ดูแลคนไข้กลุ่มสุขภาพจิตด้วย เพราะเราเน้นการดูแลแบบเป็นองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
แต่จริง ๆ อีกเหตุผลหนึ่งคือคนไข้ไม่ยอมไปหาจิตแพทย์ เขารู้สึกสบายใจมากกว่าที่จะอยู่กับแผนกที่ชื่อน่ารัก ๆ งง ๆ อย่าง เวชศาสตร์ครอบครัว
4
หมอครอบครัวจึงต้องพัฒนาทักษะในการดูแลด้านจิตใจเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ดูแลคนไข้ในความดูแลได้
- บางคนก็เป็นคนไข้ประจำเรื่องอื่น แต่มีปัญหาจิตใจ เช่น ซึมเศร้า
- บางคนก็ปรึกษาอาการทางร่างกาย แต่สุดท้ายสาเหตุคือด้านจิตใจ เช่น แพนิค
- บางคนก็ไม่ได้เป็นอะไร แต่เล่าให้ฟังถึงคนในครอบครัวที่ดูจะมีปัญหาด้านสุขภาพจิต
4
แต่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในการดูแลของหมอที่ไม่ใช่จิตแพทย์ ก็พบว่ายังมีอุปสรรคในการดูแลด้านจิตใจอยู่ไม่น้อย เช่น คนไข้บางคนก็เลือกที่จะไม่กินยาในกลุ่มสุขภาพจิต เพราะคิดว่าตัวเองยังไม่ถึงขนาดนั้น หรือบางคนก็ตั้งกำแพงไม่ให้หมอสอบถามด้านจิตใจอีก
เดือนนี้เป็นเดือนแห่งการตระหนักรู้เรื่องสุขภาพจิต หรือ Mental Health Awareness Month อยากจะชวนให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลจิตใจกันมากขึ้น
2
การดูแลเรื่องจิตใจ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว มันก็เหมือนการดูแลสุขภาพทั่วไปแบบหนึ่ง
การเข้าฟิตเนส ไม่ได้แปลว่า ร่างกายอ่อนแอ
แต่การเข้าฟิตเนส คือการดูแลสุขภาพร่างกาย
1
การเข้าแผนกจิตเวชฯ ก็ไม่ได้แปลว่า จิตใจอ่อนแอ
แต่มันก็คือการดูแลสุขภาพจิตใจเช่นกัน
เพจน้องสาว
2
หากใครอ่านถึงตรงนี้แล้วคิดว่า ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองถึงกับต้องไปพบหมอ อย่างน้อยลองสำรวจตัวเองดูว่าตอนนี้จิตใจเป็นอย่างไรบ้าง
1
เครียดรึเปล่า กับเศรษฐกิจตอนนี้
1
ดีใจ หรือทุกข์ใจกับการเมืองมากน้อยแค่ไหน
1
วิตกกังวลไหมกับการอ่านข่าวต่าง ๆ
เราติดตามข่าว ตามดราม่าได้
แต่อย่าลืมติดตามจิตใจตัวเองด้วยเช่นกัน
#เพจน้องสาว
โฆษณา