12 ส.ค. 2022 เวลา 06:16 • ไลฟ์สไตล์
บรั่นดี (Brandy) vs คอนญัค (Cognac) แตกต่างกันยังไง ? (ฉบับมือใหม่ หัดรู้จัก)
1
เมื่อวานก่อนได้มีโอกาสไปนั่งสังสรรค์กับเพื่อน ๆ สมัยเรียน
ในตอนแรกก็นึกว่าเพื่อนจะหยิบไวน์ขวดโปรดมาเปิดเพื่อต้อนรับเรา…
แต่ปรากฏว่าเพื่อนนำคอนญัค (Cognac) ที่ดูดีมีากมากกขวดหนึ่ง มาเปิดต้อนรับพวกเราแทน
(โอโห.. แต่แปปเดียวมึนแล้วจ้า แอบแรงอยู่)
ก็เลยมานึกขึ้นได้ว่า เอ้อ ! คอนญัคมันก็คือไวน์องุ่นที่มาเอากลั่นต่อนี่นา…
ซึ่งมันก็คืออันเดียวกับบรั่นดีหรือเปล่านะ ?
ด้วยความสงสัยสไตล์มือใหม่หัดดื่ม (แถมเริ่มจะหน้าแดงแล้วด้วย) ครั้นจะให้ถามเพื่อนที่นั่งทำหน้ายิ้มอยู่ข้างหน้า ก็แอบเขิลสักเล็กน้อย
กลับมาบ้านก็เลยรีบทำการบ้าน ตอบข้อสงสัยในหัวของเรา
(ซึ่งตอนนี้หากคุณเพื่อนของเรากำลังอ่านอยู่ ก็คงจะรีบขำเราแล้วแน่แน่ 555…)
เรื่องราวความแตกต่างของ บรั่นดี (Brandy) vs คอนญัค (Cognac) จะมีอะไรบ้างนะ ?
(แถมรัมให้อีกตัวหนึ่ง เพราะสารภาพว่ามือใหม่อย่างเรา มักจะสับสนด้วยเช่นกัน)
4
วันนี้พวกเรา InfoStory จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกันแบบพอสังเขปนะคร้าบบผม
มาเริ่มกันที่ บรั่นดีกันก่อนเลย !
บรั่นดี (ฺBrandy) เดิมเรียกว่า Brandy Wine (Branntwein เรียกแบบยุโรปโบราณ)
ซึ่งเจ้าคำว่า “Brandy Wine” ก็มีต้นกำเนิดมาจากคำว่า “Burned wine” ซึ่งหมายถึงการนำไวน์องุ่นไปกลั่นและหมักบ่มในถังไม้เพิ่ม จนมีรสชาติที่แรงกว่าเดิม
(หรือถ้าไม่ใช่ไวน์องุ่น ก็คือเอาผลไม้ไปกลั่นและหมักให้คล้ายไวน์ก่อน)
เรื่องราวของบรั่นดี ถือกำเนิดขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ.1300 เดิมทีบรั่นดี ถูกใช้เป็นยารักษาโรคมาก่อน แต่ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสจะเรียกว่า “The water of life” ก่อนที่จอร์จ วอชิงตัน จะเข้ามาค้นพบสูตรการผลิต ในช่วงศตวรรษที่ 18 และได้นำไปพัฒนาที่โรงกลั่นในสกอตแลนด์ (ว่ากันว่าใช้วิธีการหมักบ่มแบบเดียวกันกับวิสกี้)
แต่เรื่องนี้เราอ่านไปอ่านมา มันก็จะไม่ค่อยมีเรื่องราวอื่น ๆ มารองรับมากเท่าไร (กึ่งจะโยงไปเกี่ยวกับเรื่องการผลิตเหล้ารัม วิสกี้ รวมไปถึงภาษีต่าง ๆ ซึ่งไกลออกไปพอสมควร)
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ฟังดูง่ายกว่า
เขาก็มีบันทึกเอาไว้ว่า ในปี ค.ศ. 1600 พ่อค้าชาวดัตช์ต้องขนส่งไวน์องุ่นไปยังทวีปอเมริกา
แล้วด้วยความทีไวน์ที่ถูกขนส่งมาเป็นระยะเวลานาน ก็จะเริ่มเน่าเสียและรสสัมผัสไม่ดี
พวกเขาเลยเริ่มคิดค้นวิธีการกลั่นไวน์ เพื่อทำให้ไวน์มีความเข้มขึ้น เพื่อที่จะได้ใส่ในลังไม้ และขนส่งไปสู่อเมริกาและป้องกันการเน่าเสียของไวน์
ต่อมาชาวอเมริกาใต้ก็ชอบเครื่องดื่มตัวนี้ (ที่ไม่เชิงเป็นไวน์) จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องต้นกำเนิดของบรั่นดี
บรั่นดี (ฺBrandy) จะมีความโดดเด่นที่ความหวาน ในกลิ่นอายแบบฟรุ๊ตตี้
เราเข้าใจว่ากลิ่นความเข้มข้นแนวกลิ่นดินกลิ่นไหม้ น่าจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการบ่มในถังไม้โอ้ค
อันที่จริงแล้ว หากเราเรียกชื่อของบรั่นดี ก็จะหมายถึงเหล้าที่กลั่นมาจากองุ่น
1
แต่ว่าเพื่อน ๆ หลายท่านอาจจะเห็นแบรนด์บรั่นดี ที่ผลิตมาจากผลไม้อื่น ๆ เช่น สัปปะรด แอปเปิ้ล ว่า “บรั่นดี” เหมือนกัน นั่นก็เป็นเพราะ ต้นกำเนิดของบรั่นดี ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจในการผสมเหล้าและผลไม้หมักหลาย ๆ ตัว
2
ซึ่งเจ้าบรั่นดี จะไม่เหมือนกับไวน์ กล่าวคือ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ว่าจะต้องผลิตมาจากองุ่นเพียงอย่างเดียว และไม่จำเป็นที่จะต้องระบุวินเทจ (ปีที่ผลิต)
(หรือเราสามารถเรียกบรั่นดีที่กลั่นจากผลไม้อื่น ๆ ว่า Fruit Brandy ก็ได้เหมือนกันนะ)
เพื่อน ๆ น่าจะพอเห็นภาพเรื่องราวของบรั่นดีกันคร่าว ๆ แล้ว
ถ้างั้น เราจะไปต่อกันที่คอนญัค (Cognac) ที่จะทำให้เพื่อน ๆ เห็นภาพมากขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวกับบรั่นดีที่มีกฎเกณฑ์ว่า จะต้องผลิตจากไวน์องุ่นในเขตพื้นที่คอนญัคในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น
(เพราะคอนญัคก็คือ 1 ในประเภทของบรั่นดีนี่เอง)
มาต่อกันที่ คอนญัค (Cognac) กันสักนิด
เรื่องราวของคอนญัค ได้ถูกคิดค้นโดยชาวฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 16 โดยมีต้นแบบมาจาก “Burned wine” (หรือ brandewijn ของชาวดัตช์) มาพัฒนาต่อ
ว่ากันง่าย ๆ คอนญัคก็คือ บรั่นดีที่ผลิตจากไวน์องุ่นในเขตคอนญัคของฝรั่งเศส (ซึ่งเป็นหนึ่งในเขต AOC)
ภาพบรรยากาศที่คอนญัคของฝรั่งเศส
อย่างที่เพื่อน ๆ ทราบจากเรื่องของบรั่นดี ว่าเป็นเหล้าที่ไม่มีกฎเกณฑ์
ในขณะที่คอนญัค คือบรั่นดีที่มีข้อบังคับ การควบคุมคุณภาพที่ค่อนข้างเยอะมากกก (โดยรัฐบาลฝรั่งเศส)
รวมไปถึงตัวพันธุ์องุ่นเขียวที่ใช้ในการผลิตด้วย (มี 3 ตัวคือ Ugni Blanc, Folle Blanche และ Colombard)
ในขณะเดียวกัน ถ้าเป็นบรั่นดีที่ทำจากไวน์องุ่น แต่ไม่ได้ผลิตในคอมมูนของคอนญัค
แต่ว่ามีการผลิตในเขตอามาญัค (Armagnac) ของฝรั่งเศส
เราก็จะเรียกตรงตัวเลยว่า “อามาญัค (Armagnac)” (อ้าว.. แล้วจะเขียนซ้ำทำไมเนอะ ฮ่าๆ)
ซึ่งอามาญัค (Armagnac) จะแตกต่างกับคอนญัค (Cognac) นิดหน่อย คือ คอนญัคจะกลั่น 2 รอบ ส่วนอามาญักจะหมักกลั่นเพียงครั้งเดียว จึงทำให้รสสัมผัสของอามาญักจะดูสะอาดและสดใสกว่า
ปล. ซึ่งเจ้าเขตอามาญักนี่ก็จะอยู่ใกล้กับเมืองบอร์โด (Bordeuax)
โอเค งั้นพวกเราขอปิดท้ายด้วยการสรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับความแตกต่างในฉบับมือใหม่ ว่า
- บรั่นดี (ฺBrandy) = เหล้ากลั่นจากผลไม้ (ไม่จำเป็นต้องเป็นองุ่น แต่คนจะคุ้นเคยกับองุ่น)
- คอนญัค (Cognac) = เป็น Subset ของบรั่นดี >> ที่ทำจากองุ่น >> ในเขตคอนญัค ฝรั่งเศส (กลั่น 2 รอบ)
- อามาญัค (Armagnac) = เป็น Subset ของบรั่นดี >> ที่ทำจากองุ่น >> ในเขตอามาญัค ฝรั่งเศส (กลั่น 1 รอบ)
- รัม (Rum) = เหล้ากลั่นจากกากน้ำตาลหรืออ้อย
(ไม่เกี่ยวอะไรกับบรั่นดี แค่อยู่ในกลุ่มเหล้าเหมือนกัน (Spirit) ซึ่งก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับวิสกี้ซึ่งไม่เหมือนกับบรั่นดีและไม่เหมือนกับรัม แค่มีวิธีการผลิตที่คล้ายกัน)
เผื่อเพื่อน ๆ เคยเห็นพวกชื่อย่อต่างบนฉลากของบรั่นดีหรือคอนญัค ที่เป็นตัวย่อดูเท่ ๆ แต่จริง ๆ เจ้าชื่อตรงนี้มันจะบอกถึงระยะเวลาของการบ่ม (ไม่ได้มีแค่ให้ดูเท่เฉย ๆ น้าา)
มาเริ่มต้นจากระยะเวลาที่น้อย - มาก
1. VS (Very Special) - 2 ปีขึ้นไป
2. VSOP (Very Special Old Pale) - 4 ปีขึ้นไป
3. Napoleon - 6 ปีขึ้นไป (เข้าใจว่าตัวนี้เป็น unofficial age นะคร้าบ)
4. XO (Extra Old) - 10 ปีขึ้นไป
5. XXO (Extra Old) - 14 ปีขึ้นไป
6. Réserve - 25 ปีขึ้นไป
7. Hors d'Age - 30 - 50 ปีขึ้นไป (เคยมีบันทึกว่ามากที่สุดคือ 100 กว่าปีเลยนะ !)
หวังว่าเพื่อน ๆ คงจะได้รับสาระสบายสมองกันไปเหมือนเช่นเคยนะคร้าบบ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
โฆษณา