6 ส.ค. 2022 เวลา 05:47 • ความคิดเห็น
อยู่ประเทศไหนรวยง่ายที่สุด?
Herald Eia เป็นนักสังคมวิทยาและผู้จัดการทีวีชาวนอร์เวย์
ในปี 2016 เขาเคยขึ้นพูดบนเวที TEDxOslo ในหัวข้อ Where in the world is it easiest to get rich?
ผมขอถอดความบางส่วนมาไว้ในบล็อกนี้ครับ
-----
อยู่ประเทศไหนรวยง่ายที่สุด? นี่คือคำถามที่ผมถามอาจารย์ของผมตั้งแต่ช่วงต้นยุค 90's สมัยที่ผมเรียนคณะสังคมวิทยา (sociology)
อาจารย์กำลังสอนเรื่องประชาธิปไตยสังคมนิยม (social democracy) และรัฐสวัสดิการ (welfare state) ของประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ค นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ฯลฯ) เขาเชื่อเรื่องการสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมที่ไม่มีทั้งคนรวยและคนจน
1
แต่ผมเองตอนนั้นกำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับคนรวย ตอนที่ผมได้สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจผู้มั่งคั่ง ทุกคนล้วนบอกว่าชีวิตในสแกนดิเนเวียมันไม่ง่ายเลย พวกเขาต้องทำงานหนักเป็นสองเท่าเพราะว่าโดนเก็บภาษีแพงมาก สหภาพแรงงานก็มีอำนาจต่อรองเยอะ และรัฐสวัสดิการก็ทำให้ผู้คนที่นี่เกียจคร้านอีกต่างหาก
5
ผมเลยอดไม่ได้ที่จะยกมือถามอาจารย์ในห้องว่า ถ้าเราไม่สนใจเรื่องความเท่าเทียม ถ้าความฝันของผมคือการได้เป็นคนรวยล่ะ ผมควรจะไปเกิดที่ประเทศไหนถึงจะมีโอกาสมากที่สุดที่จะได้เป็นคนรวย
2
อาจารย์นิ่งไปสักครู่ก่อนจะตอบผมว่า
"ถ้านั่นคือเป้าหมายของคุณ คุณก็ควรจะเลือกเกิดในประเทที่มีตลาดเสรี ภาษีถูก และรัฐบาลไม่เข้ามาแทรกแซงกลไกลตลาดมากนัก อ้อ แล้วถ้าคุณอยากจะรวยจริงๆ ควรไม่ควรเลือกเรียนสังคมวิทยาด้วยนะ"
7
ผมก็คิดว่านั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้อง จนกระทั่งผมได้อ่านผลงานของอาจารย์ Karl Moene แห่งมหาวิทยาลัย Oslo ถึงได้รู้ความจริงคืออะไร
1
ก่อนอื่นเราต้องนิยามคำว่า "รวย" กันก่อน
2
ยูเอ็น (United Nations) ได้กำหนด "เส้นความยากจน" (poverty line) เอาไว้ที่ $2 ถ้าใครมีรายได้ต่ำกว่าวันละ $2 ก็ให้ถือว่าคนคนนั้นยากจน
1
แต่เส้นที่น่าสนใจกว่าคือ "เส้นความร่ำรวย" (richness line) และรายงานที่เชื่อถือได้มากที่สุดก็คือ Wealth Report ที่นิยามคนร่ำรวยไว้ว่าต้องมีความมั่งคั่งสุทธิ (net worth = ทรัพย์สินลบด้วยหนี้สิน) อยู่ที่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ คนกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า Ultra High Net Worth Individual
1
ในโลกนี้มี UHNWI อยู่ 170,000 คน และนี่คือประเทศ Top 5 ที่มีคนเหล่านี้
3
ที่ 5 คือจีนมีแปดพันคน ที่ 4 อังกฤษหนึ่งหมื่นคน ที่ 3 เยอรมันมีหมื่นสอง ที่ 2 ญี่ปุ่นมีหมื่นเจ็ดพันคน และแน่นอนว่าที่ 1 คืออเมริกาที่มีคนรวยระดับนี้ถึงสี่หมื่นคน
1
แต่สิ่งที่เราอยากรู้มากกว่าคือจำนวนคนรวยต่อประชากร 1 ล้านคน และถ้าเราตัดดินแดนภาษีต่ำ (tax havens) อย่างไซปรัส สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ และโมนาโคทิ้งไป [เพราะเป็นเพียงแหล่งซุกเงินของคนรวยเท่านั้น] เราก็จะได้รายชื่อประเทศเหล่านี้
1
อันดับ 5 เดนมาร์ค มีคนรวย 179 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
อันดับ 4 แคนาดา 181
อันดับ 3 นิวซีแลนด์ 234
1
อันดับ 2 สวีเดน 329
อันดับ 1 นอร์เวย์ 484 คน
2
ส่วนอเมริกาอยู่เพียงอันดับที่ 13 มี 126 คน
1
อาจารย์แกงผมซะแล้ว ไหนบอกว่าสแกนดิเนเวียไม่มีทั้งคนรวยและคนจนไง
3
แต่เอาเถอะ $30 ล้านอาจจะดูจิ๊บจ๊อยไปหน่อย สมมติเราเพิ่มมาตรฐานเป็น $1 พันล้านจะเกิดอะไรขึ้น? แหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้มากที่สุดก็คือ Forbes Billionaires List
อันดับ 5 เยอรมันนี มีคนรวยระดับ billionaires 1.2 คนต่อประชากร 1 ล้านคน
อันดับ 4 อเมริกา 1.7 คน
อันดับ 3 นอร์เวย์ 2.0 คน
อันดับ 2 สวีเดน 2.4 คน
ส่วนอันดับ 1 คือไอซ์แลนด์ 3.1 คน ซึ่งมี billionaire หนึ่งคนถ้วนคือ Thor Björgólfsson [ไอซ์แลนด์มีประชากรสามแสนกว่าคน]
ประเด็นก็คืออเมริกา 1.7 ส่วนสแกนดิเนเวียค่าเฉลี่ยคือ 2.1
มันเป็นไปได้ยังไง? ทำไมประชาธิปไตยสังคมนิยมซึ่งคนเป็นดินแดนแห่งความเท่าเทียมจึงกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์มหาเศรษฐีไปได้?
1
มีเหตุผล 2 ข้อ
ข้อแรกคือค่าเล่าเรียนฟรี (free education)
1
ประชาธิปไตยสังคมนิยมทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาระดับสูงได้ แถมยังมีเงินกู้ยืมดอกเบี้ยถูกและทุนการศึกษาให้อีกด้วย มันจึงช่วยให้คนจำนวนมากสามารถใช้ความสามารถที่ตัวเองมีเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว
2
มิติหนึ่งที่เราสามารถดูกันได้คือ "การขยับสถานะทางสังคม" (social mobility)
1
ลองนึกภาพคนที่เป็น "่พ่อคน" ในประเทศหนึ่ง และแบ่งคนเหล่านี้ออกเป็น 5 กลุ่มโดยดูจากรายได้เรียงจากมากไปน้อย
2
คราวนี้ก็ให้ไปดูลูกของคนเหล่านั้น และแบ่งเป็น 5 กลุ่มเช่นกัน
แล้วลองดูซิว่า พ่อที่อยู่ในกลุ่มที่จนที่สุด 20% นั้น มีลูกที่ได้ไปอยู่ในกลุ่มที่รวยที่สุด 20% บ้างรึเปล่า มีลูกที่ได้เปลี่ยนจากยาจกเป็นมหาเศรษฐีมากน้อยแค่ไหน
ในโลกอุดมคติที่มี perfect social mobility [ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะไปจบอยู่ที่กลุ่มไหนก็ได้] 20% ของลูกของพ่อในกลุ่มที่จนที่สุดควรจะได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มที่รวยที่สุด
ที่สวีเดน ตัวเลขคือ 14%
นอร์เวย์ 12%
สวีเดน 11%
ส่วนอเมริกาคือ 8%
การเรียนฟรีในประเทศแถบสแกนดิเนเวียทำให้คนสร้างเนื้อสร้างตัวได้มากกว่าคนในสหรัฐอเมริกา
1
แล้วถ้าเราดูลูกของพ่อที่จนที่สุดว่ามีใครที่ยังคงอยู่ในกลุ่มที่จนที่สุดบ้างล่ะ (ลูกของยาจกที่ดิ้นไม่หลุดจากความยากจน)
ใน perfect social mobility ตัวเลขก็คือ 20% เช่นกัน
1
เดนมาร์ค 25%
สวีเดน 26%
1
นอร์เวย์ 28%
อเมริกา 42%
1
นั่นเป็นเพราะว่าค่าเล่าเรียนในอเมริกานั้นแพงมากนั่นเอง [คนจนเลยไม่ค่อยมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปาก]
1
แต่เหตุผลข้อที่ 2 - และเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สแกนดิเนเวียเป็นแหล่งเพาะพันธุ์คนร่ำรวยก็คือ...
ที่อเมริกา เวลาคุณขึ้นทางด่วน คุณจะเจอเจ้าหน้าที่ประจำด่าน เวลาไปซูเปอร์มาร์เก็ต คุณจะเจอพนักงานเก็บเงิน เวลาเข้าห้องน้ำสาธารณะ คุณก็จะเจอแม่บ้านทำความสะอาด
2
ขณะที่ในนอร์เวย์ ไม่ว่าคุณจะขึ้นทางด่วน ไปซูเปอร์มาร์เก็ต หรือเข้าห้องน้ำสาธารณะ คุณจะแทบไม่ได้เจอมนุษย์เลย เพราะใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีแทนคนไปเกือบหมดแล้ว
1
ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สหภาพแรงงานนั้นคอยกดดันให้เพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำอยู่เสมอ การว่าจ้างคนจึงแพงมาก ถ้าคุณอยู่นอร์เวย์แล้วคุณได้งานเป็นพนักงานเก็บค่าทางด่วน พนักงานคิดเงินในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือเป็นแม่บ้านทำความสะอาด คุณจะได้ค่าจ้างมากกว่าในอเมริกาถึง 3 เท่า
2
เพราะค่าแรงในสแกนดิเนเวียแพงมาก หลายบริษัทเลยต้องลดจำนวนพนักงาน (downsize) และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่อย่างนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้ แต่การใช้เทคโนโลยีก็ทำให้บริษัทมี productivity มากขึ้นในระยะยาวเช่นกัน
ในทางกลับกัน สหภาพแรงงานในสแกนดิเนเวียก็ไม่ยอมให้ค่าแรงของคนที่มีทักษะสูงๆ นั้นสูงเกินไปเพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
Senior Engineer ในนอร์เวย์จะได้ค่าแรง $76,000 ต่อปี ส่วนในอเมริกานั้นจะได้ $100,000 ต่อปี และแน่นอนว่าการจำกัดเงินเดือนของคนที่ทักษะสูงๆ นั้นย่อมเป็นผลดีต่อกำไรของบริษัท เช่นนี้แล้วสหภาพแรงงานจึงเหมือนช่วยบริษัทประหยัดต้นทุนอยู่กลายๆ
2
มันจึงเป็นเหมือนตลกร้าย ที่คนร่ำรวยที่ผมได้สัมภาษณ์ตอนทำวิทยานิพนธ์นั้นล้วนบ่นว่าการเป็นคนรวยในสแกนดิเนเวียนั้นช่างยากเย็น พวกเขาเข้าใจผิดไปไกลเลย
ภาษีแพงนั้นทำให้พวกเราได้เรียนฟรีและทำให้เศรษฐกิจของเราเต็มไปด้วยคนที่มีความรู้ความสามารถ
1
สหภาพแรงงานที่แข็งแกร่งบังครับให้องค์กรมี productivity ที่ดีขึ้น
และความเป็นรัฐสวัสดิการก็ทำให้สหภาพแรงงานยอมให้เกิดการปลดพนักงานได้เพราะเขารู้ว่าแม้จะตกงานไปคนเหล่านี้ก็จะยังมีรัฐคอยดูแลเป็นอย่างดี
ประชาธิปไตยสังคมนิยมจึงไม่ใช่แนวคิดที่ต่อต้านความร่ำรวยหรือต่อต้านระบอบทุนนิยม รัฐสวัสดิการและสหภาพแรงงานนั้นทำงานควบคู่ไปกับทุนนิยมเลยด้วยซ้ำ
3
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมประเทศในสแกนดิเนเวียจึงเป็นดินแดนที่ผู้คนสามารถบรรลุ The American Dream ได้ง่ายดายเสียยิ่งกว่าในอเมริกาครับ!
2
ขอบคุณเนื้อหาจาก TEDxOslo | Where in the world is it easiest to get rich? | Harald Eia
2
โฆษณา