28 พ.ย. 2022 เวลา 05:05 • ยานยนต์
INKA INDUSTRY KERETA รถไฟของอินโดนีเซีย ผลิตครอบคลุมทั้งหัวรถจักร ตู้โดยสาร ใช้เองยาวนาน 35 ปี ส่งออกหลายประเทศทั้งในเอเชีย และแอฟริกา
อินโดนีเซีย ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ทั้งแผ่นดิน และผืนน้ำใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ที่กำลังเติบโตอย่างร้อนแรงในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกไม่เกินทศวรรษนี้
หากพูดถึงผู้ผลิตและส่งออกรถไฟ ทั้งหัวรถจักร และตู้โดยสาร หลายคนคงจะคุ้นหูกับบริษัทดั้งเดิมในยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Alstom จากฝรั่งเศส Bombardier จากแคนาดา หรือ SIEMENS จากเยอรมนี ที่สร้างชื่อเสียงมากอย่างยาวนานนับร้อยและเป็นที่ไว้วางใจเรื่องคุณภาพ และเทคโนโลยี
หรือผู้ผลิตฝั่งเอเชียที่ก็สร้างมาสร้างชื่อไปอยู่แถวหน้าของโลกได้เช่นกัน ทั้ง Hitachi จากญี่ปุ่น Daewoo จากเกาหลีใต้ หรือ CRRC จากประเทศจีน ซึ่งชื่อที่กล่าวมานั้นต่างแบ่งเค้กส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมรถไฟทั่วโลกเสียเป็นส่วนใหญ่
แต่ถ้าในภูมิภาคอาเซียน ประเทศอินโดนีเซียก็มีการผลิตรถไฟทั้งใช้งานเองในประเทศ และยังสามารถส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ได้เช่นกัน และมีอัตราการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
'INKA INDUSTRY KERETA' รัฐวิสาหกิจอินโดนีเซีย ผู้ผลิตหัวรถจักร ตู้โดยสาร และรับผิดชอบระบบการเดินรถไฟในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศทั้งบนเกาะชวา และเกาะสุมาตรา รวมทั้งผลิตรถไฟฟ้าที่ให้บริการในกรุงจาการ์ตา และเมืองปาเล็มบัง
สำหรับ INKA ก่อตั้งเมื่อปี 1981 โดยมีพื้นฐานของระบบรถไฟจาก Bombardier ที่มีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในอดีต หลังจากนั้นได้มีการนำหัวรถจักรรุ่น PJKA มาทำการดัดแปลงใหม่ ประกอบกับในยุคการปกครองภายใต้การดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีซูฮาร์โต INKA ได้รับการผลักดันเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตระบบรางของประเทศ ด้วยเหตุนี้ INKA จึงมุ่งเน้นไปที่การครองตลาดในประเทศและเอาชนะการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน
INKA ผลิตและปรับปรุงรถไฟทุกขบวนของ บริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด หรือ PT Kereta Api Indonesia (KAI) ตั้งแต่ปี 1985 แต่การผลิตในจำนวนมากเริ่มในปี 1987 เมื่อมีโมาเดลมาจากผลิตรุ่น Rheostatik EMU ของญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา INKA ก็ใช้ตัวรถเหล็กกล้าไร้สนิมน้ำหนักเบา และระบบควบคุมการยึดเกาะราง AC ที่ทันสมัย
สำหรับการผลิต EMU INKA เริ่มผลิตหัวรถจักรดีเซลในปี 2007 โดยได้รับนโยบายจากกระทรวงคมนาคม สำหรับใช้งานบนเส้นทางรถไฟในภูมิภาค และรถไฟโดยสาร ในเมือง Ombilin บนเกาะสุมาตราตะวันตก และสุมาตราใต้
ในปี 2016 ได้ส่งออกตู้โดยสารและตู้บรรทุกสินค้าไปยังบังกลาเทศ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และไทย นอกจากนี้ยังส่งออกขบวนรถไฟทั้งระบบไปยังประเทศฟิลิปปินส์
INKA-built EMU EA202 series สายชานเมือง Jogja-Solo
ในปี 2019 INKA ร่วมมือกับ PT Len Industri, PT Wijaya Karya และ KAI เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาธุรกิจโดยจัดตั้งกลุ่มบริษัทพัฒนารถไฟแห่งอินโดนีเซียสำหรับแอฟริกา (IRDIA) เพื่อกำหนดเป้าหมายไปส่งออกไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา
นอกจากนี้ INKA ได้ร่วมกับ KAI สร้างความร่วมมือกับ Stadler Rail บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการทรงตัวของรถไฟจากสวิตเซอร์แลนด์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อสร้างโรงงานสำหรับการทดสอบเอียง พลิกคว่ำตามการทดสอบระหว่างประเทศ มาตรฐาน Union of Railways (UIC) ในเมือง Banyuwangi, จังหวัดชวาตะวันออก ความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยรัฐบาลในการพัฒนาระบบการขนส่งของชาวอินโดนีเซีย
INKA ได้ส่งออกรถไฟขบวนใหม่ล่าสุด Trainset Diesel Multiple Units Trains จำนวน ขบวนไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนธันวาคม 2019
LRT รุ่นที่ส่งออกไปฟิลิปปินส์ PNR 8100 class
จากนั้นส่งออกรถไฟดีเซลหลายขบวนจำนวน 4 ขบวนไปยังฟิลิปปินส์ในเดือนมกราคม 2020 เสร็จสิ้นสัญญาการส่งออกรถไฟโดยสาร 250 ขบวนไปยังบังกลาเทศในเดือนกันยายน 2020 และทยอยเสร็จสิ้นชุดรถไฟ Jabodebek LRT 31 ขบวนซึ่งเป็นของ KAI
อีกทั้งยังทำข้อตกลงร่วมระหว่าง INKA และ TSG Global Holdings ของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เพื่อการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาวิธีการขนส่งในประเทศคองโก
1
นอกจากระบบรถไฟทางไกลแล้ว ยังผลิตรถไฟฟ้าใช้งานเองในประเทศทั้ง LRT ปาเล็มบัง ซึ่งเป็นระบบรถไฟรางเบาที่ใช้ในเมืองปาเล็มบังบนเกาสุมาตรา ซึ่งเป็นเมืองที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ร่วมกรับกรุงจาการ์ตาเมื่อปี 2018
รุ่น LRT ที่เมืองปาเล็มบัง
Greater Jakarta LRT หรือ Jabodebek LRT เป็นระบบขนส่งมวลชนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในกรุงจาการ์ตา เชื่อมต่อใจกลางเมืองและพื้นที่ใกล้เคียงของชวาตะวันตกและเมืองบันเต็น ภายในเขตมหานครจาการ์ตา ระยะทาง 43 กิโลเมตร
Jabodebek LRT ในกรุงจาการ์ตา
รถไฟเชื่อมสนามบิน Soekarno–Hatta กับใจกลางกรุงจาการ์ตา และรถไฟเชื่อมสนามบินเมืองเมดาน เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของประเทศบนเกาะสุมาตรา ก็เป็นรถไฟที่ผลิตเองทั้งสิ้น
สำหรับรถไฟอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นระบบขนส่งที่มีเส้นทางครอบคลุมสูง และเป็นที่นิยมของประชาชน เนื่องจากราคาไม่แพง และการเดินทางเชื่อมต่อเมืองมีความสะดวกสบาย โดยในปี 2020 มีผู้ใช้บริการขนส่งผู้โดยสาร 429 ล้านคน และสินค้า 47.2 ล้านตัน
อักทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐวิสาหกิจอย่าง บริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด ก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานของภาครัฐอินโดนีเซียที่สร้างกำไร และสามารถต่อยอดพัฒนาระบบขนส่งทางรางได้มีประสิทธิภาพสูง แม้จะก่อตั้งมาแล้ว 77 ปี เมื่อปี 1945 หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อตั้งมาแล้ว 55 ปี ในปี 1890
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
โฆษณา