ใครๆ ก็สามารถมีความรักในฝันได้ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้

หนังสือ สู่จุดสูงสุดของชีวิตด้วยพีระมิดสามสุข ผู้เขียน: ชิอน คาบาซาวะ ได้อธิบายถึง ความรักได้น่าสนใจ และเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ไว้ว่า ฮอร์โมนที่ขับเคลื่อนความรักของคนเรา มี 2 ประเภท
1. โดพามีน (Dopamine) = คนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับฮฮร์โมนประเภทนี้ดี โดพามีนเป็นฮอร์โมนที่รับผิดชอบ “ความสุข” ในห้วงเวลาใหญ่ๆ ของเหตุการณ์ในชีวิต เช่น เราสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยที่อยากเข้าสำเร็จ ตกลงเป็นแฟนกันครั้งแรก เขาขอแต่งงาน หรือ ได้เลื่อนขั้นเป็นหัวหน้างาน ทาร่าเรียกมันว่า ความสุขแบบว้าว ว้าว (ความรู้สึกมันจะดีดๆ ลอยๆ เหมือนเป็นลูกโป่งที่วันนึงก็จะต้องตกลงมา)
1. ออกซิโตซิน (Oxytocin) = นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า ฮอร์โมนแห่งความรัก มันเป็นฮอร์โมน “ความสุข” ที่หลายคนมักจะมองข้ามไป เช่น ความรู้สึกตอนที่ได้เล่นกับน้องหมาหรือน้องแมวที่เรารัก ตอนที่แม่กอดลูก ตอนที่เราได้นั่งข้างๆ คนที่เรารัก ได้เห็นเค้านอนหลับอยู่ใกล้ๆ หรือตอนที่เราได้ช่วยเหลือใครซักคนแล้วเรารู้สึกอิ่มใจ ทั้งๆ ที่เค้าไม่ได้พูดหรือทำอะไรให้เราเลย แต่เราก็รู้สึกดี เรามีความสุข (รู้สึกว่าใจเราเต็ม ใจเราฟู เหมือนแบตมือถือที่อาจจะลดลงไปบ้าง แต่เราก็สามารถชาร์จให้กลับมาเต็มได้ง่ายๆ ในทุกๆ วัน)
ปัญหาที่เกิดขึ้นของคู่รักวัยรุ่นส่วนใหญ่ คือ ความคาดหวังและยึดติดกับความสุขแบบโดพามีนมากเกินไป คิดว่าคนรักกันต้องใจเต้นทุกครั้งที่เจอ ต้องมีเซอร์ไพรซ์ให้กันตลอด แบบนี้ถึงจะเรียกว่า “ความรัก”
จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้คู่รักอยู่กันได้นาน คือ ความสุขแบบออกซิโตซินต่างหาก มันเป็นความสุขแบบที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่ต้องรอความสำเร็จใดๆ และมันเกิดขึ้นง่ายมาก
สำหรับใครที่อยากมีความรักดีๆ มีความสุขง่ายๆ ลองฝึกซาบซึ้งกับความสุขแบบออกซิโตซินดูนะคะ ทาร่ารับประกันเลยค่ะว่า เมื่อคุณรู้จักกับความสุขแบบนี้แล้ว ชีวิตคุณจะสุขง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นอีกเยอะเลย
ส่วนใครที่อยากมีพัฒนาความรักความสัมพันธ์ด้วยทฤษฎีแบบวิทยาศาสตร์ งานวิจัยระดับโลก ที่จะช่วยให้ทุกคนรักกันได้ง่ายขึ้น ทาร่ามีคอร์ส LOVE 102: 6 ทฤษฎีความรัก ทางลัดสู่ความสัมพันธ์ในฝัน สอบถามเพิ่มเติมทางไลน์ @tarathow ได้เลยนะคะ
โฆษณา