21 มี.ค. 2023 เวลา 14:51 • สุขภาพ

เปรียบเทียบความรุนแรงของการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137”

ไทย VS สเปน VS ยูเครน
4
- อุบัติเหตุ โรงไฟฟ้า ศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
ประเภทของสารกัมมันตรังสี : ซีเซียม-137 (Cs-137)
สาเหตุ : ซีเซียม-137 (Cs-137) สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าในจังหวัดปราจีนบุรี ก่อนพบว่าถูกนำไปหลอมในโรงงานถลุงเหล็ก
ปริมาณการรั่วไหล : ตอนผลิตเมื่อ 28 ปีที่แล้ว มีขนาด 80 m Millicurie คาดว่าปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 41.14 Millicurie (0.04114 Curie)
6
การแพร่กระจาย และผลกระทบ
- ตรวจพบซีเซียม-137 ปะปนอยู่ในเศษเหล็กอัดแท่งในโรงหลอมเหล็ก* (อัพเดท 20 มีนาคม 2023)
3
- การฟุ้งกระจาย แม้จะหลอมระบบปิด + มีฟิลเตอร์กรองตอนหลอม สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กของซีเซียม-137 ได้ประมาณ 90% ดังนั้น 10%ของ 41.14 Millicurie (0.04114 Curie) ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆ โรงงาน รัศมีประมาณ 5 กิโลเมตร
3
-สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสาร ซีเซียม-137 ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ วิทยาเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร ซึ่งการสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30 ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นซีเซียม-137 จะทำให้เซลในร่างกายกลายเป็นเซลที่ผิดปรกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้น DNAในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประมาณ 5-10 ปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ถ้าได้รับสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่มาก
3
- เอเซอริน็อกซ์ สเปน (Acerinox Accident)
ประเภทของสารกัมมันตรังสี : ซีเซียม-137 (Cs-137)
2
สาเหตุ : ซีเซียม-137 ปนและถูกหลอมในเตาเผาของโรงงานถลุงเหล็กที่เมือง Los Barrios
3
ปริมาณการรั่วไหล : ซีเซียม-137 ประมาณ 1.62 - 3.24 Curie ถูกขับออกสู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิด "เมฆกัมมันตรังสี Radioactive Cloud" ขึ้น
การแพร่กระจาย และผลกระทบ
- หลายประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมันนี ออสเตรีย สวิสเซอร์แลนด์ และอิตาลี ตรวจพบและพบว่ามีระดับของกัมมันตภาพรังสีสูงเพียงพอที่จะเป็นอันตรายได้ โดยมีระบบความเข้มข้นของรังสีสูงขึ้นจากปรกติถึง 1 พันเท่า
1
- มีคนงาน 6 คนในโรงงานดังกล่าวที่ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนของซีเซียม-137 โรงงานถูกปิดชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดกำจัดการปนเปื้อน รวมไปถึงโรงงานอื่นๆ อีก 2 โรง ที่รับเอาของเสียจากโรงงานนี้ไป
1
- เกิดน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีมากถึง 40 ลูกบาศก์เมตร มีเถ้ากัมมันตรังสีเกิดขึ้นถึง 2 พันตัน และมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ปนเปื้อนอีก 150 ตัน
1
-มูลค่าของกระบวนการในการทำความสะอาด รวมถึงความสูญเสียการผลิตของโรงงานไป นั้นสูงถึง 26 ล้านเหรียญสหรัฐ (ณ ขณะนั้น) - แพร่กระจายไปไกลกว่า 1,000 กม. (ประเทศสวีเดนสามารถตรวจจับได้)กระทบกับ 14 ประเทศแถบยุโรป
1
- โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ เชอร์โนบิล ยูเครน (รัสเซียเดิม)
ประเภทของสารกัมมันตรังสี : ซีเซียม-137 (Cs-137) และสารกัมมันตรังสีอื่น ๆ
1
สาเหตุ : เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่เตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้า
2
ปริมาณการรั่วไหล : ซีเซียม-137 ประมาณ 27 กิโลกรัม (2.3 ล้าน Curie) ถูกขับออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วยแรงระเบิด
1
การแพร่กระจาย และผลกระทบ
- มีผู้เสียชีวิตทันที 2 ราย และอีกกว่า 4,000 ราย เสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมานจากผลกระทบของสารดังกล่าวที่เข้าสู่ร่างกายในเวลาต่อมา
- ในช่วง 3 ถึง 5 ปีแรกหลังการระเบิด มีรายงานว่าพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์เนื่องจากร่างกายได้รับสารปนเปื้อนไอโอดีน-131 ที่แฝงมากับนมวัว จากการที่วัวกินหญ้าในบริเวณที่มีการปนเปื้อน
-เด็กในยูเครนเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์เพิ่มสูงขึ้นกว่า 7 เท่า จนทำให้สหภาพโซเวียตสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลลงในปี 1991 ประชาชนในเมืองพริเพียตอพยพหนีออกจากเมือง จนพริเพียตกลายเป็นเมืองร้างนับแต่นั้นเป็นต้นมา
อัตราปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 มีค่าดังนี้
-ที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 1.29 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
-ที่ระยะ 60 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.12 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
-ที่ระยะ 120 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.03 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
-ที่ระยะ 180 เซนติเมตรจากวัสดุกัมมันตรังสีด้านช่องเปิด ประมาณ 0.01 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง
ขีดจำกัดการได้รับรังสี (Dose limits) ที่กำหนดในกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ. 2561
- ผู้ปฏิบัติงานรังสี เฉลี่ยในช่วงห้าปีติดต่อกันไม่เกิน 20 มิลลิชีเวิร์ต (mSv)ต่อปี และไม่เกิน 50 มิลลิชีเวิร์ต ใน 1 ปี, 5 ปีติดต่อกันไม่เกิน 100 มิลลิชีเวิร์ต
- ประชาชนทั่วไป 1 มิลลิชีเวิร์ตต่อปี เว้นในกรณีสถานการณ์พิเศษอาจรับได้เกิน 1 มิลลิชีเวิร์ตต่อปี, 5 ปีติดต่อกันไม่เกิน 1 มิลลิชีเวิร์ต
โฆษณา