16 ส.ค. 2023 เวลา 11:10 • ข่าว
ประเทศไทย

เงินบำเหน็จบำนาญ ฯ ข้าราชการ ภาระการคลังที่น่ากังวลยิ่งกว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

..
1
อีกไม่เกิน 10 ปีงบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะแซงหน้างบเงินเดือนข้าราชการไทยอย่างแน่นอน..
1
..
นี่คือแนวโน้มที่ถูกชี้ให้เห็นผ่านรายงานของสำนักงานข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ.
2
ที่นำเอาตัวเลขงบประมาณย้อนหลังของงบทั้งสองส่วน มากางทิศทางในอนาคตให้ได้ดูกัน
..
เมื่อไทยเราย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ด้วยตัวเลขผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิน 20% ของจำนวนประชากร
ทำให้ในแต่ละปี ภาครัฐต้องใช้งบประมาณดูแลทั้งข้าราชการและประชาชนผ่านระบบสวัสดิการต่าง ๆ มากถึง 800,000 ล้านบาท
..
ซึ่งเงินในส่วนนี้ มีทั้งเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ เงินกองทุน สปสช. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินสมทบ กบข. รวมไปถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเงินอื่น ๆ อีกหลากหลายรูปแบบ
4
..
1
แต่ประเด็นที่จะยกมาให้ดู เพื่อประกอบการพิจารณา ควบคู่ไปกับการรับฟังกระแสข่าว เกี่ยวกับข้อวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง การปรับหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็คือ
1
เรื่องของสัดส่วนงบประมาณและการดูแลประชาชน ของเงินเหล่านี้
1
เพราะเหตุผลหนึ่งที่มีการยกมาอ้าง เป็นเหตุผลในการปรับเกณฑ์การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุก็คือ เรื่องของความจำเป็นในการลดงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาระทางการคลัง
..
1
ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่า
งบประมาณในส่วนของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่บอกว่าสูง
เช่น ในปีงบประมาณ 2566 ถูกตั้งไว้ที่ 78,530 ล้านบาท สำหรับดูแลผู้สูงอายุ 12 ล้านคน นั้น
1
เมื่อเทียบกับงบประมาณเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการและเงินอื่น ๆ ในหมวดเดียวกัน ที่ถูกตั้งไว้ถึง 322,790 ล้านบาท สำหรับบุคลากรจำนวน 3 ล้านคน
3
มันไม่ได้เยอะอะไรเลย
..
ที่แสดงตัวเลขนี้ให้ดู ไม่ได้บอกว่า ข้าราชการเกษียณอายุ ไม่ควรได้เงินบำเหน็จบำนาญ
แต่กำลังชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนของเงินเบี้ยผู้สูงอายุต่อปี มันน้อยกว่าเงินสวัสดิการรายจ่ายประจำส่วนอื่นมาก
1
การบอกว่ารายจ่ายส่วนนี้เป็นภาระการคลังที่ควรถูกตัดก่อนเพื่อน จึงฟังไม่ขึ้นเท่าไร...
ทีนี้ มาดูกันต่อถึงแนวโน้มของเงินงบประมาณอะไร ที่น่ากังวลมากกว่า
ว่าจะเป็นภาระการคลังของประเทศในอนาคตอันใกล้
1
..
จากรายงานของสำนักงาน ก.พ. ระบุว่า จากสถิติที่ผ่านมา 10 ปี และแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต
เงินงบประมาณในส่วนของบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จะโตขึ้นในอัตรา 10.82% ทุกปี
2
ซึ่งเมื่อเทียบกับงบประมาณในส่วนของเงินเดือนข้าราชการและค่าจ้างต่าง ๆ ของบุคลากรภาครัฐ เงินงบประมาณในส่วนนี้จะโตขึ้นเพียงปีละ 1.73%
ทำให้ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นก็คือ ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า เงินงบประมาณบำเหน็จบำนาญข้าราชการจะแซงหน้างบประมาณเงินเดือนข้าราชการอย่างแน่นอน
2
..
1
แม้ว่าในงบปี 2566 เงินงบประมาณเงินเดือนข้าราชการจะยังมีสัดส่วนอยู่ที่ 19.30% (614,448 ล้านบาท) ของงบประมาณแผ่นดิน
ซึ่งก็ยังคงสูงกว่างบประมาณบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 10.13%(322,790 ล้านบาท)
แต่ทิศทางของการเติบโตที่ต่างกันเกือบ ๆ 10 เท่า
คงจะทำให้งบประมาณบำเหน็จบำนาญแซงหน้างบประมาณเงินเดือนข้าราชการไทยในเวลาไม่ช้า...
5
..
งบประมาณอีกตัวที่น่าห่วงก็คือ งบรักษาพยาบาลข้าราชการ บุคลากรภาครัฐและครอบครัว
เพราะงบประมาณในส่วนนี้เติบโตขึ้นทุกปีราว 4% จากช่วงปี 2560 ที่เคยอยู่ที่ 60,000 ล้านบาทต่อปี กลายมาเป็น 76,000 ล้านบาทต่อปี ในปี 2566
หรือตัวอย่างที่เกิดขึ้นปี 2565 ที่ภาครัฐตั้งงบประมาณในส่วนของหมวดนี้ไว้ไม่พอ จนทำให้ต้องใช้เงินคงคลังมาสำรองจ่ายไปก่อนมากถึง 23,597 ล้านบาท
3
..
1
จากตัวเลขที่แสดงให้เห็น ไม่ได้บอกเราตรง ๆ ว่า งบอะไรจำเป็นกว่างบอะไร ?
หรือเราควรตัดงบประมาณตรงไหนก่อน ถ้าภาครัฐมีเงินไม่พอจ่าย?
..
แต่สิ่งที่เป็นสัญญาณที่ไม่ควรนิ่งเฉยก็คือ ตัวเลขเหล่านี้กำลังบอกเราถึงปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้ของรัฐกับรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมที่ประชาชนคาดหวัง
ซึ่งมันสำคัญต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการใช้เงินในอนาคตของประเทศ
ที่ห้ามรั่วไหล ห้ามผิดพลาดและห้ามขาดประสิทธิภาพ แม้แต่บาทเดียว
เพราะไม่เช่นนั้น หากอนาคตประเทศเราถังแตกขึ้นมา
อย่าว่าแต่ตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเลย เงินบำนาญหรือค่ารักษาพยาบาลของประชาชน ก็อาจจำเป็นต้องถูกตัดไปด้วย....อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
2
Reference;
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา