#พระราชินี I ฉลองพระองค์ผ้าขิดไหม ลายกาบตัด I 18 สิงหาคม 2566

ฉลองพระองค์ผ้าขิดไหม ลายกาบตัด
"ผ้าขิดไหม" ผลงานที่สะท้อนถึงศิลปะทอผ้าของชาวไทยลาวอันน่าภูมิใจ ที่สืบสานความรู้ถ่ายทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การทักทอลวดลายบนผืนผ้าด้วยการขิดโดยใช้ไม้ค้ำ สร้างลวดลายอันโดดเด่นและสง่างาม ซึ่งแต่ละลวดลายจะใช้ฝ้ายและไหมทักทอเข้าด้วยกัน ทำให้ลวดลายไม่เพียงแต่จะมีความเด่นงาม แต่ยังได้สะท้อนถึงความภาคภูมิใจและวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยลาวด้วย
ผ้าขิดไหม เป็นผ้าทอที่มีวิธีการทําลวดลายบนผืนผ้าด้วยการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งเหมือนการจก แต่ผ้าขิดทําลวดลายติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า โดยใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่า ไม้ค้ํา สอดระหว่างเส้นด้ายยืนงัดช้อนขึ้นเพื่อสอดเส้นพุ่งให้เกิดลวดลาย จึงเรียกกันว่า ลายขิด (ขิด เป็นภาษาพื้นบ้านอีสาน หมายถึง สะกิด หรือ งัดซ้อนขึ้น) นิยมทอในกลุ่มชนเชื้อสายไทยลาวแถบลุ่มน้ําโขง บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลาง ลวดลายดั้งเดิมที่นิยมทอ เช่น ลายนาค ลายตะเภาหลงเกาะ ลายดอกแก้ว ลายช้าง ลายเต่า และลายตะขอ เป็นต้น
"ผ้าขิดไหม" ผลงานที่สะท้อนถึงศิลปะทอผ้าของชาวไทยลาวอันน่าภูมิใจ ที่สืบสานความรู้ถ่ายทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน การทักทอลวดลายบนผืนผ้าด้วยการขิดโดยใช้ไม้ค้ำ สร้างลวดลายอันโดดเด่นและสง่างาม ซึ่งแต่ละลวดลายจะใช้ฝ้ายและไหมทักทอเข้าด้วยกัน ทำให้ลวดลายไม่เพียงแต่จะมีความเด่นงาม แต่ยังได้สะท้อนถึงความภาคภูมิใจและวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยลาวด้วย
ผ้าขิดไหม เป็นผ้าทอที่มีวิธีการทําลวดลายบนผืนผ้าด้วยการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งเหมือนการจก แต่ผ้าขิดทําลวดลายติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผืนผ้า โดยใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่า ไม้ค้ํา สอดระหว่างเส้นด้ายยืนงัดช้อนขึ้นเพื่อสอดเส้นพุ่งให้เกิดลวดลาย จึงเรียกกันว่า ลายขิด (ขิด เป็นภาษาพื้นบ้านอีสาน หมายถึง สะกิด หรือ งัดซ้อนขึ้น) นิยมทอในกลุ่มชนเชื้อสายไทยลาวแถบลุ่มน้ําโขง บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลาง
ลวดลายดั้งเดิมที่นิยมทอ เช่น ลายกาบ ลายขอ ลายนาค ลายตะเภาหลงเกาะ ลายดอกแก้ว ลายช้าง ลายเต่า และลายตะขอ เป็นต้น ลวดลายทั้งหมดเป็นลายที่เป็นสิริมงคล โดยใช้เส้นฝ้ายในการทอสําหรับทําหมอนหนุนศีรษะ นิยมทอในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือนิยมใช้สีแดงและสีดํา ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้สีดําเป็นหลัก
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๕ ในคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วัดถ้ํากลองเพล อําเภอหนองบัวลําภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันจังหวัดหนองบัวลําภู)
ทรงสนับสนุนให้มีการทอผ้าขิดโดยนําลวดลายเดี่ยว ๆ จากหน้าหมอน ที่ทอด้วยฝ้ายมาทอเรียงต่อเนื่องเป็นลวดลายเดียวเต็มผืนผ้าและขยายให้ผ้าหน้ากว้างขึ้น รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการทอลวดลายขิดโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “เขา” ยกให้เกิดลวดลาย เพื่อให้นําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางแพร่หลายขึ้น และทรงสนับสนุนให้ทอด้วยเส้นไหม จึงเป็นที่มาของคําว่า “ผ้าไหมขิด” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
Her Royal Attire in Khit Fabric with Kaab Tad Motif
The technique of Khit is adding more weft threads to creat patterns on the fabric, similar to Chok technique. However, the patterns are constantly woven in the whole length of the fabric by using a thin wooden crutch lifting the threads to insert the weft threads to creat patterns of Khit. (Khit is a Isan dialect meaning as stapping or lifting.)
Khit is usually woven by Thai-Lao ethnic group along the Mekong river, some parts of the North and the Central. The traditional Khit patterns are Nak, Taphawlongkho, Dok-keaw- Chang, Tao, Takhao, etc.
The traditional method of Khit woven is stapping all warp threads on the length of the fabric; then, propping up the threads by the crutch, inserting the weft threads, and weaving the warp and weft threads into patterns on the narrow front-back side of the fabric.
In Isan traditional culture of Isan people, Khit fabric was sewed into pillows for special occasions like auspicious or religious ceremonies, pillow gifts, shawls, or scarves. Khit fabric is a kind of holy fabric and kept in upper positions --on a table, couch--, tightened or hung over the ceiling. All of the fabric patterns were felicitous. Generally, the cotton woven fabric is used for making pillows, especially in the North for red and black color, the Northeast for mainly black.
In 1982, during the royal visit Klongpleang Temple in Nongbualamphu District, Udonthani (currently becoming a province), Their Majesties King Rama IX and Her Majesty Queen Sirikit pleased to support Khit weaving by applying the single pattern into wider piece of fabric.
The weaving patterns were developed its technique by using a tool, ‘Khao’ (a kind of heddle) to create more patterns. Then, ‘Khao’ heddle had become the useful tool of weaving. Their Majesty the King and the Queen enhanced people to weave silk threads; then the fabric was called “Khit fabric’
โฆษณา