24 ต.ค. 2023 เวลา 04:09 • ธุรกิจ

Lithography Wars กับการต่อสู้ของ ASML สู่การผูกขาดเครื่องจักรในการผลิตชิป

ย้อนกลับไปในช่วงปี 1984 ในตอนนั้น ASML เป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มตั้งไข่ใหม่ ๆ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ แถมยังไม่มีเงินทุน ไม่ต้องคิดถึงการสร้างเครื่องจักรในการผลิตชิปรุ่นถัดไปของโลกที่คงเป็นแค่เรื่องในฝัน
ปีเดียวกันนั้นเองเป็นปีที่บริษัท Philips ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่จากเนเธอร์แลนด์ได้แยกแผนกในการสร้างเครื่องจักรผลิตชิปออกไป และก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ ASML โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Veldhoven ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากชายแดนเนเธอร์แลนด์ที่ติดกับเบลเยียมมากนัก
มันดูจะไกลเกินฝันจริง ๆ สำหรับ ASML ที่จะกลายเป็นบริษัทระดับโลกในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แม้ยุโรปในยุคนั้นจะเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ แต่เห็นได้ชัดว่ายังตามหลัง Silicon Valley และทางฝั่งญี่ปุ่นอยู่สุดกู่
1
ASML นั้นใช้แนวคิดที่แตกต่างจากบริษัทจากญี่ปุ่นหรืออเมริกา โดยตัดสินใจที่จะประกอบระบบจากส่วนประกอบที่ทำการจัดหามาอย่างพิถีพิถันจากซัพพลายเออร์ทั่วโลก มันเป็นการพึ่งพาบริษัทอื่นในการสร้างส่วนประกอบหลักของเครื่องจักร และดูเหมือนว่าแนวคิดดังกล่าวนี้จะเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมาย
2
แต่ ASML เรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน ในขณะที่เหล่าคู่แข่งโดยเฉพาะจากญี่ปุ่นทั้ง Canon และ Nikon นั้นพยายามที่จะสร้างทุกอย่างภายในบริษัท
1
ASML สามารถซื้อส่วนประกอบที่ดีที่สุดในตลาดได้ และเมื่อพวกเขาเริ่มมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเครื่อง EUV ความสามารถในการรวมเอาส่วนประกอบชั้นยอดจากแหล่งต่าง ๆ ของพวกเขา กลายมาเป็นจุดแข็งที่เด็ดที่สุด
1
ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่น้อย เพราะในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ASML จากเนเธอร์แลนด์ถูกมองว่าเป็นกลางในข้อพิพาททางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
1
Micron ที่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ผลิต DRAM สัญชาติอเมริกัน ต้องการซื้อเครื่องจักรในการผลิต จึงได้เลือก ASML แทนการพึ่งพา Canon หรือ Nikon ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับคู่แข่งของ Micron ในญี่ปุ่น
การที่ ASML แยกตัวออกมาจาก Philips นั้นช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับ TSMC จากไต้หวัน เพราะ Philips เองถือเป็นนักลงทุนรายสำคัญใน TSMC โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาให้กับทางฝั่งของ TSMC ในช่วงเริ่มต้น
ASML จึงได้ฐานลูกค้าจาก TSMC เพราะโรงงานของ TSMC นั้นได้รับการออกแบบตามกระบวนการผลิตของ Philips เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อโรงงานของ TSMC เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในปี 1989 ทำให้ TSMC ต้องซื้อเครื่องจักรในการผลิตชิปเพิ่มอีก 19 เครื่อง และทั้งหมดถูกสั่งตรงมาจาก ASML
2
ASML และ TSMC เริ่มต้นจาการเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่แทบไม่มีใครสนใจในอุตสาหกรรมผลิตชิปในช่วงแรก ๆ แต่พวกเขาก็เติบโตไปด้วยกันและสร้างความร่วมมือกันอย่างแข็งขัน
ฝั่งอเมริกาเอง Andy Grove กำลังเตรียมที่จะอนุมัติการลงทุนครั้งใหญ่ครั้งแรกของ Intel ในการวิจัยเครื่องมืออย่าง EUV เช่นเดียวกับที่ ASML กำลังทำอยู่
1
Andy Grove กำลังเตรียมที่จะอนุมัติการลงทุนครั้งใหญ่ครั้งแรกของ Intel ในการวิจัยเครื่องมืออย่าง EUV (CR:MetaSwitch)
ซึ่งในช่วงปี 1992-1996 นั้น Intel เองก็ได้สร้างความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการหลายแห่งที่ดำเนินการโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการสร้างเครื่อง EUV มันดูเหมือนจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเพราะเหล่าห้องวิจัยของอเมริกาที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างต้นแบบระบบ EUV แต่พวกเขามุ่งเน้นไปที่เรื่องวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การผลิตให้ได้จำนวนมาก ๆ ในสเกลอุตสาหกรรม
1
เป้าหมายของ Intel คือการสร้างสิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่แค่การวัดผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ Intel ต้องค้นหาบริษัทที่สามารถผลิตเครื่อง EUV ในปริมาณมาก ๆ ซึ่งเมื่อเหลียวมองไปยังบริษัทในอเมริกาแทบจะไม่มีบริษัทใดทำได้เลย
1
บริษัทที่สามารถสร้างเครื่องมือเหล่านี้ที่ใหญ่ที่สุดที่เหลืออยู่ในอเมริกาคือ Silicon Valley Group (SVG) ซึ่งมีความล้าหลังทางด้านเทคโนโลยี รัฐบาลสหรัฐเองยังคงอ่อนไหวจากสงครามทางการค้าในช่วงปี 1980 กับญี่ปุ่น จึงไม่ต้องการให้ Nikon และ Canon เข้ามามีส่วนร่วม แม้ว่า Nikon เองก็ไม่ได้คิดว่าเทคโนโลยี EUV มันจะใช้งานได้จริงก็ตาม ทำให้ ASML เป็นบริษัทเดียวที่เหลืออยู่ที่จะช่วยเหลือ Intel ได้
3
แต่แน่นอนว่าแนวคิดในการให้บริษัทต่างชาติเข้าถึงงานวิจัยที่ทันสมัยที่สุดจากห้องทดลองระดับชาติของอเมริกาทำให้เกิดความกังวลขึ้นในวอชิงตัน สถานการณ์ในตอนนั้นยังไม่มีการประยุกต์ใช้มันเพื่อใช้ในแวดวงทหาร และยังไม่ชัดเจนว่า EUV มันจะใช้งานได้จริง
1
แต่เหล่านักการเมืองอเมริกันเองมองว่า ASML และรัฐบาลเนเธอร์แลนด์เป็นพันธมิตรที่เชือถือได้ สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับนักการเมืองชาวอเมริกันคือผลกระทบต่อการสร้างงานไม่ใช่เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กำหนดให้ ASML สร้างโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อผลิตชิ้นส่วนสำหรับสำหรับการสร้างเครื่อง EUV และว่าจ้างพนักงานชาวอเมริกัน แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาหลักของ ASML นั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์
1
เมื่อถูกปิดกั้นไม่ให้ทำการวิจัยในห้องแล็บแห่งชาติของสหรัฐฯ Nikon และ Canon ก็ได้ตัดสินใจที่จะไม่สร้างเครื่องมือ EUV ของตนเอง ปล่อยให้ ASML เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในโลก
1
ในขณะเดียวกับในปี 2001 ASML ได้เข้าซื้อกิจการของ Silicon Valley Group ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องจักรในการผลิตชิปแห่งสุดท้ายของอเมริกา แต่ก็มีคำถามเกิดขึ้นอีกครั้งว่าดีลนี้มันเหมาะสมหรือไม่และจะส่งผลต่อเรื่องความมั่นคงของอเมริกาหรือไม่
1
ภายใน DARPA และกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ซึ่งให้ทุนกับอุตสาหกรรมนี้มาอย่างยาวนาน เจ้าหน้าที่บางคนได้มีการคัดค้านดีลดังกล่าว สภาคองเกรสก็แสดงความกังวลเช่นเดียวกัน โดยวุฒิสมาชิกสามคนได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี George W. Bush ว่า “ASML จะครอบครองเทคโนโลยี EUV ทั้งหมดของรัฐบาลสหรัฐฯ”
1
วุฒิสมาชิกได้เขียนจดหมายถึงประธานาธิบดี George W. Bush ถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นหาก ASML ครอบครองเทคโนโลยี EUV (CR:Flickr)
ฝั่งของ Intel ก็ได้ออกมาโต้แย้งในเรื่องดังกล่าวว่าการขาย Silicon Valley Group ให้กับ ASML มีความสำคัญต่อการพัฒนา EUV และเป็นพื้นฐานสำหรับอนาคตของการประมวลผล ซึ่งหากไม่มีการควบรวมกิจการเส้นทางในการพัฒนาเครื่องมือใหม่ในสหรัฐอเมริกาจะล่าช้าออกไปอีก
1
ดังนั้นเครื่อง EUV ยุคถัดไปจึงได้ถูกประกอบในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าส่วนประกอบบางอย่างจะยังคงสร้างขึ้นในโรงงานในคอนเนตทิคัต เครือข่ายทางวิทยาศาสตร์ที่ผลิต EUV นั้นมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยรวบรวมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศต่าง ๆ ทั้ง อเมริกา ญี่ปุ่น สโลวีเนียและกรีซ
แต่อย่างไรก็ตาม การผลิต EUV ไม่ได้มีการผลิตไปทั่วโลก แต่ถูกผูกขาดทั้งห่วงโซ่อุปทานที่จัดการโดยบริษัทเดียวนั่นก็คือ ASML ซึ่งสามารถที่จะควบคุมอนาคตของการผลิตชิปของโลกอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม
1
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
The original article appeared here https://www.tharadhol.com/lithography-wars-asml/
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา