13 ธ.ค. 2023 เวลา 03:51 • ความคิดเห็น

วงจรอุบาทว์ของราคาสินค้ากับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ..

..
ว่ากันว่า เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ เป็นหนึ่งในสองเรื่องที่เป็นเรื่องประเด็นทางการเมืองขาประจำทุก พ.ศ. ไม่ต่างจากเรื่องราคาข้าว
ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหน นักการเมืองมักจะเอาสองเรื่องนี้เป็นกิมมิคในการหาเสียง
และแปรนโยบายสองเรื่องนี้มาใช้ในการหาคะแนนเสียง
เพราะกลุ่มลูกค้าที่เป็นชนชั้นแรงงานและเกษตรกรชาวนา มันเป็นฐานคะแนนที่ใหญ่มาก....
ครั้นพอได้อำนาจการเมืองมาครอบครอง นักการเมืองก็จะพยายามรันนโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำกับราคาข้าวเปลือก ให้กลายเป็นผลงานในลำดับต้น ๆ ของตนเองเสมอ
แต่ในเนื้อแท้ของการรันนโยบายของสองเรื่องนี้
ก็ไม่แคล้วเป็นการรันนโยบายในแบบที่เรียกในภาษาชาวบ้านว่า เป็นการแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้
คือ ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ได้แก้ปัญหาระยะยาว
แถมมักจะแก้ปัญหาแบบสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก ไม่จบไม่สิ้น
อย่าง การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ถามในมุมของคนใช้แรงงานว่าชอบไหม ?
แน่นอน ใคร ๆ ก็ต้องตอบว่า ชอบสิ ได้ค่าแรงเพิ่มทำไมจะไม่ชอบ
แต่ถ้าถามต่อไปว่า แล้วคิดว่าชีวิตจะดีขึ้นไหม ถ้าได้ขึ้นค่าแรงเยอะ ๆ ?
ตรงนี้ แรงงานยุคปัจจุบัน ที่เขาเสพข่าวสารข้อมูลเป็น พอรู้ว่าอะไรเป็นอะไร การขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบไปยังอะไรต่อไปบ้าง ก็คงจะตอบว่า...
เอ...ไม่แน่ใจนะ ว่าชีวิตจะดีขึ้น
เพราะอะไร ทำไมเขาถึงคิดกันแบบนี้?
ก็เพราะ จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาของผู้ใช้แรงงานทั้งหลาย
ต่างล้วนเคยประสบกับการได้รับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาแล้ว ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
มีทั้งขึ้นจิ๊บ ๆ ที่ละ 5 บาท 10 บาท
หรือขึ้นแบบกระชากวิญญาณ เกือบร้อยบาทในคราวเดียวก็มีมาแล้ว
แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเท่าใด ชีวิตพวกเขาก็ต้องวนมาเจอกับปัญหาเดิม ๆ ที่แก้ไม่ตกซึ่งก็คือ....
"ปัญหาค่าครองชีพ"
ค่าครองชีพ ซึ่งก็หมายความถึงค่าสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องซื้อหาเพื่อใช้ในการกินอยู่ประจำวัน
เพราะสุดท้ายแล้ว ราคาสินค้ามันก็จะถูกดันราคาขึ้นไปรองรับกับค่าแรงขั้นต่ำที่ถูกปรับขึ้นไปอยู่ดี
ไม่มีผู้ผลิตสินค้าที่ไหน โง่พอจะลดกำไรตัวเองหรอก ถูกไหม
ในเมื่อต้นทุนค่าแรงเขาเพิ่มขึ้น เขาก็ต้องปรับราคาสินค้า เพื่อคงส่วนต่างกำไรเอาไว้ ไม่ให้แคบลง
สมการที่เกิดขึ้นจึงเป็น..
ค่าแรงเพิ่ม - ค่าครองชีพเพิ่ม = ผลลัพภ์เท่าเดิม หรือแย่ลงด้วยซ้ำ
ดังนั้น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหรือการทำให้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้น
โดยไม่สนกลไกสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจใด ๆ
มันก็เป็นแค่การหมุนวงจรอุบาทว์ ที่ลวงตาคนได้แค่ชั่วขณะลมหายใจเข้าออกนึงเท่านั้น
เพราะทันทีที่ลมหายใจถัดไปเริ่มต้นขึ้น
คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานหรือเกษตรกร ที่หวังว่าจะดีขึ้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ตามลมปากที่ถูกพ่นออกมาจากรูตูดบนของนักการเมืองเช่นเดิม
1
...
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
โฆษณา