4 ม.ค. เวลา 10:36 • สุขภาพ

FC ชาไข่มุก ระวังเสี่ยงซึมเศร้า

ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ชาไข่มุกหรือชานมไข่มุก เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตของบรรดาวัยรุ่นเกือบจะทั่วโลกก็ว่าได้
จนถีงตอนนี้ก็ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ เพราะความอร่อยหอมหวานของชานมและตัวไข่มุกที่เคี้ยวหนึบที่ทำให้กินได้อย่างเพลิดเพลิน รู้ตัวอีกทีก็หมดแก้วซะแล้ว😅
ภาพจาก Pobpad.com
ชานมไข่มุก ทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่ามีต้นกำเนิดมาจากไต้หวัน
แต่เรามารู้จักต้นกำเนิดของชานมไข่มุกกันอีกสักนิดนึงนะคะ ชานมไข่มุกเกิดจากในปี 1980 มีชาวไต้หวันคนหนึ่งชื่อว่า " Liu Han-Chieh" ได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นและเห็นคนญี่ปุ่นดื่มกาแฟใส่น้ำแข็ง ซึ่งแต่เดิมคนไต้หวันจะชอบดื่มชากันมากแต่จะนิยมดื่มแต่ชาร้อนไม่นิยมดื่มชาเย็น จากที่เธอได้เห็นกาแฟใส่น้ำแข็งของคนญี่ปุ่นจึงทำให้เธอเกิดไอเดียที่จะเปิดร้านชาเย็นขึ้นมา
เธอได้เปิดร้านชาเย็นที่ไต้หวันในปี 1983 ชื่อร้าน "Chun Shui Tang Teahouse" ซึ่งในตอนแรกนี้ยังไม่มีไข่มุกใส่ในชาเย็น
จนในปี 1988 ในระหว่างการประชุมเพื่อหาสูตรชาใหม่ๆเพื่อไม่ให้ตลาดอิ่มตัว เธอได้กินขนม Fen Yuan (เป็นขนมคล้ายขนมโมจิของญี่ปุ่น) จึงลองเอาขนมนี้ใส่ในแก้วชาเย็นแล้วให้ทุกคนในที่ประชุมลองชิมดู ปรากฎว่าทุกคนชอบและบอกว่ารสชาติดีมาก
ภาพจาก Marketingoops.com
จึงทำให้เกิดเป็นที่มาของไข่มุกที่ทำมาจากแป้งมันสำปะหลังรสชาติเหมือนขนม Fen Yuan และเรียกว่าชานมไข่มุก จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกในปัจจุบันนั่นเองค่ะ
ภาพจาก Marketingoops.com
เมื่อไม่นานมานี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ชิงฮวา ร่วมกับมหาวิทยาลัยการเงินและเศรษฐศาสตร์กลางของจีน ได้ผลการศึกษาว่าด้วยความเสี่ยงของการดื่มชานมหรือชานมไข่มุกเป็นประจำว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า นอกเหนือจากความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ(NCDs)
ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Affective Disorders โดยทีมวิจัย ซึ่งเป็นนักโภชนาการเป็นส่วนใหญ่ได้ทำการสำรวจข้อมูลสุขภาพของนักศึกษา 5,281 คนในกรุงปักกิ่ง และพบว่าอาการ "เสพติดชานม" นั้นมีอยู่จริงและมีความเชื่องโยงกับสุขภาพจิตโดยพบว่า การบริโภคชานมไข่มุกมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่นำไปสู่การเกิดภาวะวิตกกังวลเกินเหตุ โรคซึมเศร้า และความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้
เกือบ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ดื่มชานมเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละแก้ว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการเสพติด เช่น ดื่มปริมาณมากหลายแก้วในคราวเดียว หรือรู้สึกกระหายอยากดื่มชานมอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากชานมนั้นมีน้ำตาลในปริมาณสูง รวมทั้งมีสารคาเฟอีนที่ทำให้เสพติดได้
ภาพจากIG
ทีมผู้วิจัยพบว่า คนที่เสพติดชานมมักมีอารมณ์ขุ่นมัว รู้สึกเหงาอ้างว้างและเศร้าสร้อยได้ง่าย ทั้งยังมีพฤติกรรมแยกตัวโดดเดี่ยวจากสังคมเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนจีน
นักวิจัยยังพบว่า มีแนวโน้มสูงที่คนหนุ่มสาวมักใช้การดื่มชานมเป็นเครื่องมือจัดการกับอารมณ์ที่ปั่นป่วนของตนเองหรือใช้เป็นกลไกรับมือทางจิตวิทยาชนิดหนึ่งในการรับมือและควบคุมอารมณ์ ทำให้เสพติดชานมได้เหมือนกับการใช้สื่อโซเชียลหรือสารเสพติดทั่วไป
ซึ่งยังมีงานวิจัยในอเมริกาอีกหลายงานวิจัยที่ให้ผลตรงกันว่า การกินหวานกับโรคซึมเศร้านั้นมีความเกี่ยวข้องกัน
นอกจากนี้ยังมีเกร็ดข้อมูลที่น่าสนใจด้วยว่า จากเดิมที่เรามักเข้าใจผิดว่าผู้หญิงบริโภคน้ำตาลมากกว่าผู้ชาย แต่ผลวิจัยกลับพบว่า พฤติกรรมการกินของผู้ชายโดยเฉลี่ยนั้น มักเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลมากกว่า โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ด้วยค่ะ
ใครที่เป็น FC ชานมไข่มุก ก็ลดการบริโภคลงซักนิดนะคะ จะได้ไม่เสี่ยงกับการเป็นโรคซึมเศร้า และอีกหลายๆโรค เช่น โรคอ้วน โรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ(NCDs)
เริ่มต้นปีใหม่ด้วยสุขภาพที่ดีกันนะคะทุกคน ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วงค่ะ😅
ภาพจาก เพจนัดเป็ด
ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...ติดตาม...และให้กำลังใจนะคะ😍💕
ขอบคุณข้อมูลจาก สมาร์ทไลฟ์, Marketingoops.com🙏😊
#แม่มณีมีเรื่องเล่า😊มีสาระบ้างไม่มีสาระบ้าง#เอาแบบที่สบายใจ😊
โฆษณา