6 ม.ค. เวลา 08:27 • ศิลปะ & ออกแบบ

บันทึก วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต กรุงเทพฯ

เจดีย์ประธานของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต มีพัฒนาการรูปแบบมาจาก "เจดีย์วิหาร" ที่มีความนิยมสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ (เช่นที่ พุกาม ฯลฯ) โดยคงรูปแบบ เค้าโครงภายนอกที่ผสมผสานกันระหว่างสถูป (เจดีย์) กับส่วนฐานที่เป็นเรือนหรือที่ประทับของพระพุทธเจ้า (พระพุทธรูป)
นอกจากรูปแบบของ "เจดีย์วิหาร" ที่มองเห็นได้จากภายนอก แต่กลับมีความแตกต่างไปจากอดีตในด้านพื้นที่การใช้งาน (Function) อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สภาพแวดล้อมทางสถาปัตยกรรมภายใน (Interior) ที่เป็นตัวแปรสำคัญจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น “แนวคิดในการใช้พื้นที่ภายในที่สอดรับกับบริบททางสังคมปัจจุบัน”
1
รวมถึง “วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง” ที่มีความก้าวหน้าแตกต่างจากอดีต เป็นผลให้ “ระบบโครงสร้าง” มีจำนวนและความซับซ้อนน้อยลง แต่กลับมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น จนสามารถทำให้เพิ่มระยะห่างของเสา (Span) มากขึ้น แต่กลับทำให้เสามีขนาดและจำนวนลดลงได้ ฯลฯ (รวมถึงองค์ประกอบของโครงสร้างส่วนอื่นๆด้วย)
หนึ่งในตัวอย่างที่ยกมา จึงทำให้สภาพแวดล้อมภายในกลายสภาพเป็นโถงขนาดใหญ่ สามารถออกแบบพื้นที่การใช้งานให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต เช่นประดิษฐานรูปเคารพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงจัดนิทรรศการให้เป็นแหล่งเรียนรู้สิ่งที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
สิ่งที่มีความน่าสนใจอีกอย่างคือ แม้ว่าฐานของเจดีย์จะเป็นผัง ๘ เหลี่ยมที่มีความนิยมตามขนบฯ หากแต่มีการใช้มุมสันเหลี่ยมเป็นจุดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในกรอบจระนำซุ้ม โดยมีเจดีย์จำลอง (สถูปิกะ) รายล้อม นอกจากนี้ยังมีอาคารจำลอง (เรือนขนาดเล็ก) ประดับที่หลังคาของเจดีย์วิหารด้านละ ๒ หลังของทุกด้านอีกด้วย
เดินไป วาดไป: วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต
ภาพลายเส้น
แต่งแต้มสีสัน ตามที่ได้เห็นในบรรยากาศยามเย็น
#วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต
โฆษณา