18 ก.พ. เวลา 01:00 • ธุรกิจ

Xiaomi :อาณาจักรอิเล็กทรอนิกส์ของ “สตีฟ จ็อบส์” แห่งเมืองจีน

โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่ใครหลาย ๆ คนใช้งานอยู่ก็ล้วนแต่มียี่ห้อที่หลากหลาย แหล่งที่มาก็หลากหลายเช่นเดียวกัน ถ้าเราพูดถึงสมาร์ทโฟนจากซีกโลกตะวันตก เราอาจจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัท “แอปเปิ้ล” เป็นอันดับต้น ๆ
ในขณะเดียวกันทางซีกโลกตะวันออกก็อาจจะมี “ซัมซุง” ที่มีขนาดใหญ่และขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่เป็นดับหนึ่งของโลกเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับสองกลับไม่ใช่แอปเปิ้ล
แต่เป็น “เสียวหมี่” บริษัทผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จากจีนของคุณ Lei Jun แทน ซึ่งในวันนี้ เราจะพาไปทำตความรู้จักกับคุณ Lei Jun และบริษัทเสียวหมี่ แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “บริษัทแอปเปิ้ลแห่งเมืองจีน” กัน
[เด็กชายนักประดิษฐ์จากชนบท]
Lei Jun เกิดในเมืองเซียนเถา ในมณฑลหูเป่ย์ โดยเป็นบุตรชายของครอบครัวคุณครูในหลังการปฏิวัติวัฒนธรรมที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยมากมายนัก
1
โดยเขาเป็นเด็กที่ฉลาด ใฝ่เรียนรู้และชื่นชอบเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเขาสามารถประดิษฐ์หลอดไฟอิเล็กทรอนิกส์เอาไว้ใช้เองได้ตั้ง ๆ ยังเด็ก ๆ โดยผลการเรียนในห้องเรียนก็นับว่าดีและเก่งพอสมควร
ก่อนที่จะสามารถสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ที่เมืองอู่ฮั่น ในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเขาเป็นคนที่เรียนหนักมากเลยทีเดียว พร้อม ๆ กับก่อตั้งบริษัทเล็ก ๆ ซึ่งเป้นบริษัทแรกของเขาด้วย
ในปี 1992 หนึ่งปีหลังจากที่สำเร็จการศึกษา Lei Jun ก็ได้เข้าทำงานที่บริษัท Kingsoft ในฐานะวิศวกร ก่อนที่จะมีโอกาสก้าวขึ้นมาเป็น CEO ได้ใน 6 ปีหลังจากนั้น พร้อม ๆ กับนำพาบริษัทเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วย ก่อนที่ตัวของเขาเองจะลาออกจากตำแหน่ง CEO ไปในปี 2007
1
ในระหว่างที่เขาทำงานให้กับ Kingsoft เขาเองก็ได้สร้างเว็บไซต์ร้านหนังสือออนไลน์นาม Joyo.com ขึ้นมา ที่สร้างมูลค่ากว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯหลังจากที่อเมซอนเข้ามาซื้อตัวของเว็บไซต์ไปในปี 2004 ตลอดจนหันมาลงทุนกับเว็บไซต์และบริษัทอิเล็กทรอนิกส์มากมายรวมไปถึงขึ้นตำแหน่งประธานของ UCWeb ด้วยในปี 2008
3
[สตีฟ จ็อบส์ เมืองจีน กับจุดกำเนิดของเสียวหมี่]
ชีวิตของ Lei Jun ก้าวมาสู่จุดสูงสุดในปี 2010 เมื่อเขาและเพื่อนอีก 6 คนได้ร่วมกันเปิดบริษัท “เสียวหมี่” ขึ้นมา โดยมีเหตุผลสั้น ๆ ว่าบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนอื่น ๆ ในจีนมันใช้งานไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เขาจึงอยากจะสร้างบริษัทที่ผลิตสินค้าได้มีคุณภาพกว่าบริษัทเหล่านั้น
กระทั่งได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เครื่องแรกของแบรนด์ในปี 2011 ในชื่อ Xiaomi Mi1 ที่ใช้งานเฟิร์มแวร์ของตัวเสียวหมี่เอง ซึ่งตัวของบริษัทเองก็มีเงินเข้ามาลงทุนมากมาย พร้อม ๆ กับแนวคิดที่จะขยายแบรนด์ให้ไม่จำกัดเพียงแค่ในจีนเท่านั้น
โดยแผนการครองโลกของเสียวหมี่ก็เริ่มขึ้นในปี 2014 โดยเน้นในกลุ่มประเทศที่มีประชากรจำนวนเยอะอย่างอินเดีย บราซิล หรืออินโดนีเซีย เป็นต้น ดังเช่นในปี 2015 ที่ได้มีการสร้างโรงงานที่บราซิลให้เป็นหนึ่งในฐานการผลิตของบริษัทก่อนที่จะย้ายออกมาในปี 2016 เป็นต้น
5
ความสำเร็จของเสียวหมี่อาจจะไม่ได้อยู่ที่กำไรมหาศาล แต่อยู่ที่ราคาซึ่งถูกกว่าแบรนด์คู่แข่ง และคุ้มค่ากับคุณภาพสินค้าที่ได้รับ ทำให้กลยุทธ์ของเสียวหมี่เน้นที่จำนวนการขายมากกว่ากำไรทีละมาก ๆ
2
โดยในปี 2017 เสียวหมี่ก็สามารถกลายมาเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ใช้กันมากเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศอินเดียเลยทีเดียว อีกทั้งยังขยายกลุ่มลูกค้าเข้าไปยังสหภาพยุโรปอีกด้วย
ซึ่งนี่ทำให้จำนวนผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของเสียวหมี่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แข่งขันกันกับซัมซุงและแอปเปิ้ลเรื่อยมา ด้วยความสำเร็จที่มากมายของเสียวหมี่ ผนวกกับผู้ก่อตั้งที่มีความสามารถ และได้รับอิทธิพลทางความคิดมากมายมาจากสตีฟ จ็อบส์ ทำให้เสียวหมี่กับ Lei Jun ได้รับการขนานนามว่าเป็นบริษัทแอปเปิ้ล และสตีฟ จ็อบส์สัญชาติจีนเลยทีเดียว
[เพราะเสียวหมี่ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ แต่เป็นทุกอย่างที่คุณต้องการ]
2
อย่างไรก็ดี อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้เสียวหมี่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์อย่างสมาร์ทโฟนเท่านั้น โดยตัวของ Lei Jun มองว่าพวกโทรศัพท์มันเป็นอะไรที่นาน ๆ เราจะมาซื้อสักหนหนึ่ง ดังนั้นเขาจึงมองว่าการที่จะทำให้ร้านของเสียวหมี่มีคนแวะเวียนมาบ่อย ๆ ก็คือการขายสินค้าอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย
2
ทำให้แบรนด์เสียวหมี่ไม่ได้มีแค่สมาร์ทโฟน แต่ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปยันกระเป๋าหรือรองเท้าผ้าใบ
5
ซึ่งอาจจะฟังดูแปลกที่บริษัทสมาร์ทโฟนมาผลิตสินค้าอะไรแบบนี้ที่บางชิ้นก็อยู่นอกเหนือจากสิ่งที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์ไปเสียอีก แต่สำหรับ Lei Jun เองมองว่าถ้าเราขายอะไรก็ตามที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าราคาตลาด ผู้คนก็จะกลับมาหาเราเรื่อย ๆ ถ้าสินค้าของเราถูกและดีจริง ๆ
1
[เพราะความพึงพอใจของลูกค้า คือกำไรของผู้ประกอบการ]
จากเรื่องราวของเสียวหมี่ ทำให้เห็นว่าพวกเขาได้นำเอาประเด็นสำคัญในเรื่องของราคามาใช้ให้เกิดประโยชน์
โดยเสียวหมี่เลือกที่จะเสียไปบ้างจากการรับกำไรที่น้อย แต่ในขณะเดียวเองก็ไม่ผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานออกมา ทำให้ชื่อของแบรนด์เสียวหมี่เป็นที่ไว้วางใจของผู้คน พอไม่ว่าจะผลิตอะไรออกมาก็เป็นที่สนใจและเชื่อมั่นในคุณภาพและราคาที่สอดคล้องกัน
คำว่า “ถูกและดี” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เสียวหมี่ประสบความสำเร็จได้ในหลาย ๆ ประเทศ กำไรที่แท้จริงของพวกเขาจึงล้วนมาจากคุณภาพของสินค้าและบริการที่ทำให้ผู้บริโภคย้อนกลับมาหาเรื่อย ๆ มากกว่าเป็นกำไรที่มาจากราคาสินค้าเพียงอย่างเดียวดังที่ Lei Jun เคยกล่าวเอาไว้ว่า
1
“เราสร้างกำไรผ่านการบริการ
และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน”
-Lei Jun
โฆษณา