27 ก.พ. เวลา 12:00 • ธุรกิจ

วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดจากอะไร จอร์จ โซรอส คือคนทำลายประเทศจริงหรือ

วิกฤติการเงินเอเชีย 1997 (พ.ศ. 2540) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "วิกฤติต้มยำกุ้ง" เพราะมันเริ่มต้นที่ประเทศไทย ก่อนจะลามไปเกือบทั่วเอเชียตะวันออก
โดยเฉพาะประเทศเคยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเหมือนไทย ภายในเวลาไม่กี่วัน เศรษฐกิจและระบบการเงินของประเทศเหล่านี้พังทลายลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นจุดสิ้นสุดแบบไม่น่าเชื่อของปรากฏการณ์ว่า "ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของเอเชีย" (Asian economic miracle") และดับฝันของประเทศไทยที่ในตอนนั้นหวังว่าจะกลายเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชีย (Four Asian Tigers)
ทำไมจู่ๆ ประเทศที่เคยถูกเรียกว่าเป็นความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ เพราะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเหลือ เชื่อ ถึงได้พังทลายลงในเวลาสั้นๆ? มีหลายชุดคำอธิบายที่พยายามจะทำความเข้าใจ วิกฤติการเงินเอเชีย หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ว่า ตกลงแล้วมันเกิดจากอะไรกันแน่ ถึงแม้จะแตกต่างกันในแง่รายละเอียด แต่คำอธิบายส่วนใหญ่มักมีจุดร่วม อย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กัน ก็คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศที่เป็น "ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ของเอเชีย" เกิดขึ้นบนรากฐานที่ไม่มั่นคง และเสี่ยงที่จะล้มได้ตลอดเวลา
📌ไล่ดูสาเหตุวิกฤติการเงินเอเชีย หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในเวลานั้น ใช้ระบบตรึงค่าเงินกับตระกร้าสกุลเงินหลักของโลก แต่เน้นสัดส่วน ของดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก โดยในช่วงทศวรรษที่ 90 นั้นเงินบาทตรึงไว้ที่ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยธนาคาร แห่งประเทศไทยจะคอยควบคุมให้ค่าเงินบาทไม่สูงไม่ต่ำไปกว่านี้มากนัก โดยจะใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ ในการปรับสมดุล
📌ทำไมไทยถึงใช้ระบบตรึงค่าเงินกับดอลลาร์?
เพราะดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกในการค้าขาย และ ประเทศไทยพึ่งพารายได้จากการส่งออก ซึ่งใช้เงินดอลลาร์เป็นตัวกลางในการซื้อขาย การตรึงค่าเงินกับ ดอลลาร์จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์อยู่ในมือเอาไว้มากๆ ดังนั้น ประเทศที่ทำแบบนี้จะต้องค้าขายกับสหรัฐฯ ใน ปริมาณที่มาก หรือไม่ก็ต้องมีเงินลงทุนจากสหรัฐฯ เข้ามามาก
ซึ่งประเทศไทยเคยเป็นแบบนั้น แต่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 หรือนับตั้งแต่สมัยของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นต้นมา การลงทุนจากสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก ในขณะที่ไทยก็ต้องพึ่งรายได้จากการส่งออกมากขึ้น เพื่อ ทำให้การส่งออกของไทยเหนือกว่าคู่แข่ง ค่าเงินบาทจะต้องตรึงไว้ไม่ให้แข็งค่าเกินไปต่อเงินดอลลาร์ จึงมีการลดค่าเงินบทถึง 3 ครั้งในสมัยของพล.อ.เปรม
ถึงแม้ว่าเงินลงทุนจากสหรัฐฯ เข้ามาในไทยจะน้อยลง แต่ไทยยังมีเงินเข้าประเทศมากขึ้นเพราะการส่งออก และ ไม่ใช่เพราะการลดค่าเงินบาท 3 ครั้งในสมัยของพล.อ.เปรม เท่านั้น เงินบาทยังอ่อนค่าลงไปอีก หลังจากที่ ประเทศมหาเศรษฐกิจ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนีตะวันตกลงนามในข้อ ตกลงพลาซ่าแอคคอร์ด ( Plaza Accord) ในปี 2528 เพื่อลดค่าเงินดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
1
เนื่องจากเงินดอลลาร์คิดเป็นร้อยละ 80 ของตะกร้าสกุลเงินไทย เงินบาทจึงอ่อนค่าลงอีก ทำให้การส่งออกของ ไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นและจากศักยภาพนี้ ทำให้มีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้ามาในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นซึ่งค่าเงินแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปี 2528 เพราะข้อตกลงพลาซ่าแอคคอร์ ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และเป็นผลให้เศรษฐกิจไทยบูมขึ้นมา
1
ในปี 2531 พล.อ.เปรม ลาออกและรับช่วงต่อโดย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี พอดีกับที่สงคราม กัมพูชา-เวียดนามสิ้นสุดลง ทำให้มีการใช้นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า" ยิ่งทำให้เศรษฐกิจของ ไทยบูมขึ้นมามากกว่าเดิม ทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2539 เศรษฐกิจของประเทศไทยบูมเอามากๆ โดยขยายตัวเฉลี่ยมากกว่า 9% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดของโลกในขณะนั้น
โฆษณา