27 มี.ค. เวลา 11:00

เป็นหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมในฝัน ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน

เป็นหัวหน้า แต่ลูกน้องไม่กล้าคุยด้วย หรือกำลังทำงานในทีมทีมหนึ่ง แต่ไม่สามารถสื่อสารกับเพื่อนในทีมคนอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่อาจจะดูเหมือนเล็กน้อย แต่ขัดขวางการทำงานได้มากกว่าที่คิด เพราะทีมของเรากำลังขาดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ” หรือ Psychological Safety
พื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ หรือ Psychological Safety คืออะไร? ลองคิดถึงภาพของการทำงาน 2 แบบ แบบแรกคือการทำงานไป หวาดระแวงไป กลัวถูกด่าหรือถูกลงโทษเพราะความผิดพลาด กับแบบที่ 2 คือการที่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจโดยที่ไม่กลัวว่าจะถูกลงโทษ หรือถูกทำให้อับอายเมื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของตัวเอง แบบที่ 2 มักจะเป็นการทำงานที่เรารู้สึกสบายใจและสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากกว่าเสมอ
เราเรียกความสบายใจนี้ว่าเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องดีต่อกันตลอดเวลา แต่มันคือสถานการณ์ที่ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระในการ “ตะโกนไอเดียของตัวเองออกมาดังๆ” สามารถแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้อย่างเปิดเผย และทำงานผ่านความขัดแย้งร่วมกัน โดยรู้ว่าหัวหน้าจะให้ความสำคัญกับทุกความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา และเพื่อนในทีมก็จะคอยอยู่เคียงข้างกัน ไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้งทางความคิดแค่ไหนก็ตาม
เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจเกิดขึ้น คนทำงานก็จะรู้สึกสบายใจที่จะนำตัวตนที่แท้จริงของตนเองมาทำงาน และกล้าที่จะ "เป็นตัวของตัวเอง" ต่อหน้าผู้อื่น ซึ่งองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยต่อจิตใจ จะทำให้พนักงานกล้าถามคำถามที่ตรงไปตรงมา สามารถพูดถึงความกังวล กล้าขอความช่วยเหลือ และยอมรับความเสี่ยงบางอย่างได้ ซึ่งให้ผลดีต่อการทำงานมากกว่า
ยุคทำงานแบบไฮบริดยิ่งเข้ามา การสร้าง “พื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ” ก็ยิ่งสำคัญ
เมื่อเราเข้าสู่ยุคของการทำงานแบบไฮบริด ผสมผสานระหว่างการทำงานในที่ทำงานจริงกับการทำงานจากที่บ้าน ก็ยิ่งทำให้การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนไม่รู้สึกผูกพันและสบายใจกับทีมในการทำงานเหมือนแต่ก่อน
แล้วท้ายที่สุดแล้ว เราจะสร้างความไว้วางใจของอีกฝ่ายได้อย่างไร ในเมื่อการพูดคุยของทีมก็ถูกจำกัดทั้งเวลาและสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวย? จริงๆ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจนั้นสามารถทำได้แม้สมาชิกทีมจะไม่ได้อยู่ด้วยกันได้
เพราะการประชุมหรือพูดคุยผ่านกล้อง เราสามารถมองดูอีกฝ่ายที่พูดได้อย่างตั้งใจ ซึ่งบางครั้งอาจมากกว่าการเผชิญหน้ากันเสียอีก เพราะในความเป็นจริง เราไม่อาจที่จะจ้องมองใครนานๆ ได้โดยที่ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัด แต่ในการประชุมทางวิดีโอ ไม่มีใครรู้ว่าเรากำลังมองใครอยู่ เราจึงสามารถทำความเข้าใจกับอีกฝ่ายได้มากขึ้น และสามารถสำรวจลักษณะนิสัยในการทำงานของอีกฝ่ายได้โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดใจ
แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าเราจะเจอกับสมาชิกทีมแบบตัวต่อตัว ในสถานที่จริงๆ หรือไม่ การสร้างพื้นปลอดภัยทางจิตใจก็มีเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 สถานการณ์เช่นกัน
8 วิธีในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงาน
สำหรับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานนั้น เป็นก้าวแรกที่จะทำให้พนักงานในทีมรู้สึกยินดีที่จะแบ่งปันความคิดของตัวเอง ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกเยาะเย้ยหรือถูกลงโทษเพราะการออกความคิดเห็น แต่สำหรับหัวหน้าทีมหรือสมาชิกคนหนึ่งในทีมแล้ว เราจะสร้างพื้นที่นี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? เราก็มีเทคนิค 8 ข้อจากสมาชิก 8 ท่านของ Forbes Business Council ที่เสนอแนวทางที่บริษัทต่างๆ สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานได้
[  ] พยายามมีส่วนร่วมกับทีมด้วยความรอบคอบและความถูกต้อง - โดยใช้การพูดหรือการแนะนำที่จริงใจและคำนึงถึงคนอื่นๆ ในทีม เพื่อสร้างความกล้าในการออกความคิดเห็นของคนอื่นๆ
[  ] ไม่ต้องรีบเร่งในการแก้ปัญหาต่างๆ - ในทางตรงข้าม เครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งคือการเงียบ และรอฟังการเสนอวิธีแก้ปัญหาของคนอื่นๆ โดยปราศจากเสียงหรือคำสั่งของหัวหน้า ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถในการคิดและความไว้วางใจของสมาชิกทีมได้
[  ] เป็นผู้นำด้วยความเอาใจใส่ ไม่ใช่อัตตา - เอาใจใส่ ตระหนักรู้ในตนเอง มีความเคารพต่อผู้อื่นฉลาดในการพูดเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้พนักงานมีความมั่นใจ สบายใจและรู้สึกปลอดภัย มากกว่าการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและบงการ
[  ] เปิดรับคำติชมจากทุกคน - เพราะการให้ฟีดแบ็กกันและกัน เป็นการสร้างการสื่อสารที่ดีภายในทีม และช่วยให้ทีมไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันที่สูงขึ้น
[  ] สร้างความไว้วางใจด้วยความโปร่งใส - มีเหตุและผลเสมอไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลงาน การจัดสรรงบประมาณ การเลื่อนตำแหน่ง หรือแม้แต่เหตุผลในการเลิกจ้าง เพราะผู้คนมักรู้สึกว่าตัวเองจะสามารถรับฟังได้มากขึ้นหากผู้นำมีความโปร่งใส
[  ] สร้างทีมที่มีวัฒนธรรมที่ดี ไม่ใช่ทีมที่มีแต่คนเก่ง - วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจคือการสร้างวัฒนธรรมขที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศของทีมที่ให้สมาชิกไว้วางใจ สามารถอ่อนแอต่อหน้าคนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นๆ จะโจมตี
[  ] สร้างวัฒนธรรมที่ข้อผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ - เพราะนอกจากจะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจแล้ว การผิดพลาดบ่อยๆ ยังสามารถนำตัวบุคคลและทีมไปสู่การเติบโตอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากทีมผิดพลาด เราควรสนับสนุนในความพยายาม มากกว่าการบั่นทอนด้วยการตำหนิ
[  ] สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของของพนักงาน - เราจะรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหากรู้สึกเป็นเจ้าของกับงานที่ทำ หัวหน้าทีมจึงควรสร้างความเป็นเจ้าของในงานที่ทำแก่พนักงาน โดยมอบหมายงานหรือความรับผิดชอบชิ้นใหญ่ให้บ้าง โดยที่ต้องมีการสนับสนุนที่เหมาะสม
วิธีต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นวิธีในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้พนักงานรู้สึกสบายใจในที่ทำงาน และสามารถพูดคุยทำงานได้อย่างมีคุณภาพ และอย่าลืมว่าไม่ว่าเราจะรู้สึกว่าการสร้างพื้นที่ปลอดภัยนี้จะยากและห่างไกลจากความเป็นจริงมากแค่ไหน แต่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในทุกทุกที่นั้นไม่เคยรวดเร็วหรือง่ายดาย แต่การทุ่มเทเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรของเราให้มีวัฒนธรรมที่ดีขึ้น มีพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ จะเป็นการทุ่มเทที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน
เพราะการเป็นผู้นำไม่ใช่แค่ “นำผู้คน” เป็น แต่ต้องเข้าใจความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เตรียมพบกับการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นของ “การเข้าใจมนุษย์” พลังที่ทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จในสังคมที่เต็มไปด้วยคนทำงานแบบหลากมิติกับ Session 8 : Humanized Leader ผู้นำยุคใหม่ต้องใช้ใจบริหารคนอย่างไรถึงจะสำเร็จ | 16.00-16.45 น. ในงาน Mission To The Moon Forum 2024 Work-Life Survival Guide คู่มือเอาชีวิตรอดสำหรับคนสู้งาน
ผ่านประสบการณ์และความรู้จาก ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Food Passion บริษัทแม่แห่งร้านนอาหารครอบครัวประจำดวงใจชาวไทยอย่าง Bar B Q Plaza และ จิตสุภา วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมไทยรัฐทีวีและไทยรัฐออนไลน์ ดำเนินการบรรยายโดย ชญาน์ทัต วงศ์มณี นักเขียนชื่อดังที่รู้จักกันในนามเพจ 'ท้อฟฟี่ แบรดชอว์'
📌สามารถซื้อบัตรได้แล้ววันนี้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Mission-To-The-Moon-Forum-2024
อ้างอิง
- What Is Psychological Safety at Work? How Leaders Can Build Psychologically Safe Workplaces : Center for Creative Leadership - https://bit.ly/49Za9Vx 
- 15 Ways To Promote Psychological Safety At Work : Forbes Business Council, Forbes - https://bit.ly/3Py2TYC
#inspiration
#leadershipskill
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
โฆษณา