13 เม.ย. เวลา 03:59 • ประวัติศาสตร์

เมื่อ “เปอร์เซีย (Persia)” กลายเป็น “อิหร่าน (Iran)”

ดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศ “อิหร่าน (Iran)” เป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นที่รู้จักในนามต่างๆ
นาม “อิหร่าน (Iran)” มาจากภาษาอเวสตะ ซึ่งเป็นภาษาเก่าแก่ของชาวอิหร่านโบราณ นั่นคือคำว่า “Airyānąm” ซึ่งปรากฎครั้งแรกในสมัยของ “พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)” ในยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล
1
สำหรับคำว่า “เปอร์เซีย (Persia)” มีการใช้ครั้งแรกโดยชาวกรีก โดยเป็นการเรียกดินแดนของพระเจ้าไซรัสมหาราช โดยคำว่าเปอร์เซียนั้นมาจากคำว่า “ปาร์ซา (Parsa)” ซึ่งเป็นนามของกลุ่มชนที่พระเจ้าไซรัสมหาราชปกครอง และตามตำนานกรีกนั้น คำว่าเปอร์เซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับ “เพอร์ซิอุส (Perseus)” บุตรของเทพเจ้า “ซูส (Zeus)”
พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
ตามตำนาน เพอร์ซิอุสมีบุตรชายชื่อว่า “เพอร์เซส (Perses)” และเหล่าชาวเปอร์เซียก็มีจุดกำเนิดมาจากเพอร์เซส
สำหรับคำว่าอิหร่านนั้น เป็นคำที่มีใช้มายาวนาน สามารถย้อนกลับไปได้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าไซรัสมหาราช และเมื่อถึงสมัยศตวรรษที่ 4 คำว่าอิหร่านก็ได้ถูกนำไปใช้ในงานเขียนและวรรณกรรมต่างๆ เรื่อยมา
ในยุค 30 (พ.ศ.2473-2482) “พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (Reza Shah)” ผู้ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้ดำเนินการเปลี่ยนนามจาก “เปอร์เซีย” เป็น “อิหร่าน”
พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (Reza Shah)
แต่อังกฤษยังคงต้องการจะเรียกว่าเปอร์เซียต่อไป เนื่องจากคิดว่าคำว่า “อิหร่าน” ดูคล้ายกับ “อิรัก” เกินไป และทั้งสองชาติก็อยู่ใต้อำนาจของอังกฤษ และอังกฤษก็เกรงว่าชื่อที่คล้ายกันเกินไปจะทำให้เกิดความสับสน
ในปีค.ศ.1959 (พ.ศ.2502) พระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ เรซา ทรงประกาศว่าสามารถใช้ทั้งคำว่าอิหร่านและเปอร์เซียได้ในการติดต่อกับต่างประเทศ แต่ถึงอย่างนั้น อิหร่านก็คือชื่ออย่างเป็นทางการ โดยนามอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีค.ศ.1979 (พ.ศ.2522) ก็คือ “สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)”
1
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบน้ำมันในเปอร์เซีย และถึงแม้พื้นที่ของเปอร์เซียจะมีปัญหากับเพื่อนบ้านมายาวนาน แต่การค้นพบน้ำมันก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันออกกลาง
ทั่วทั้งโลกต่างจับตามองเปอร์เซียอย่างไม่ละสายตา และอังกฤษก็คือชาติแรกที่หาประโยชน์จากเรื่องนี้ โดยได้มีการตั้งบริษัท “Anglo-Persian Oil Company” ในปีค.ศ.1909 (พ.ศ.2452) และบริษัทนี้ก็ได้เข้าควบคุมกิจการน้ำมันในอิหร่านอย่างเบ็ดเสร็จ
1
และตั้งแต่นั้น กิจการน้ำมันและปิโตรเลียมก็ได้กลายเป็นข้อขัดแย้งทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งการเข้ามามีอิทธิพลของตะวันตกยังมีส่วนต่อการพัฒนาทางวัฒนธรรมและฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีกด้วย
ที่ผ่านมานั้น เปอร์เซียมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน มีความรุ่งเรืองด้านต่างๆ และเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ส่วนอิหร่านนั้น กลับถูกผูกไว้กับความขัดแย้งต่างๆ ในประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 20 โดยการรัฐประหารของพระเจ้าชาร์ เรซา ก็เป็นการรัฐประหารที่มีอังกฤษคอยกำกับ และมีการก่อตั้ง “ราชวงศ์ปาห์ลาวี (Pahlavi Dynasty)” ในปีค.ศ.1925 (พ.ศ.2468) ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนในการเข้าแทรกแซงของต่างชาติที่กระทำต่อรัฐบาลเปอร์เซีย
ดังนั้นหากพิจารณาจริงๆ อิหร่านและเปอร์เซียก็อาจจะไม่ได้เหมือนกันซะทีเดียว มีความแตกต่างที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนอยู่พอสมควร
1
ในทุกวันนี้ เมื่อพูดถึง “อิหร่าน” ก็มักจะเป็นคำที่สื่อถึงชาติ สื่อถึงประเทศ แต่เมื่อพูดถึงวัฒนธรรม เช่น อาหาร ศิลปะ หรืองานวรรณกรรมต่างๆ ก็มักจะใช้คำว่า “เปอร์เซีย”
โฆษณา