16 เม.ย. เวลา 07:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

NewSpace economy

ในช่วง 50 -60 ปีที่ผ่านมา การเดินทางไปอวกาศหรือการศึกษาเกี่ยวกับอวกาศจะมีเพียงกลุ่มประเทศแค่หยิบมือเท่านั้นที่ทำได้ เพราะต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการทำโครงการอวกาศไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างดาวเทียมหรืออุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายในการสร้างและปล่อยจรวดขนส่ง ค่าใช้จ่ายเรื่องเจ้าหน้าที่และสถานี เป็นต้น
ราวปี 2008 การปล่อยจรวด Falcon 1 ที่สร้างโดย SpaceX ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่มีมหาเศรษฐีที่ประสบความสำเร็จในโครงการอวกาศ SpaceX ต้องใช้เวลา 7 ปี เริ่มต้นจากศูนย์จนสามารถส่งจรวดลำแรกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ
เมื่อเห็นตัวอย่างที่ภาคเอกชนสามารถกรุยทางไปสู่อวกาศได้แล้วจากเดิมที่ทำได้แต่ในภาครัฐ จึงทำให้มีบริษัทต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเกือบ 400 บริษัทที่มุ่งเน้นทำธุรกิจอวกาศซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทสร้างจรวดและดาวเทียม
............. ..............................
แต่ที่เรารู้จักและเห็นกันตามสื่อบ่อย ๆ นั้นก็เห็นจะเป็นสามบริษัทของมหาเศรษฐีอย่าง SpaceX ของอีลอน มัสก์ Blue Origin ของเจฟฟ์ เบโซส เจ้าของ Amazon และ Vergin Galactic ของเซอร์ ริชาร์ด แบรนด์สัน โดยสองบริษัทหลังเน้นธุรกิจที่พานักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอวกาศในระดับวงโคจรต่ำ แต่ที่เป็นจุดร่วมกันของบริษัทที่ทำธุรกิจอวกาศก็คือการลดต้นทุนโดยเน้นการใช้จรวดหรืออากาศยานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่
ยิ่งลดต้นทุนการเดินทางไปอวกาศได้มากเท่าไหร่ ความถี่ในการเดินทางไปอวกาศก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อมีผู้ทำได้ให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว ผู้คนจำนวนมากก็ตระหนักว่าตนเองก็น่าจะทำได้หรือน่าจะมีโอกาสได้เดินทางขึ้นไปในอวกาศสักครั้งในชีวิต
จะมีศัพย์ที่เรียกว่า NewSpace ซึ่งโดยกว้าง ๆ แล้วหมายถึงการที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการขยายพรมแดนการสำรวจอวกาศให้กว้างไกลออกไปพร้อมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจที่รองรับในส่วนนี้ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ซึ่งจะเรียกว่า NewSpace economy
วันที่ 20 กรกฎาคม ปี 2021 เจฟฟ์ เบโซส หนึ่งในคนที่รวยที่สุดในโลก เขาเป็นเจ้าของค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Amazon และยังเป็นเจ้าของบริษัท Blue Origin พร้อมลูกเรืออีกสามคน ได้เดินทางขึ้นไปกับยานอวกาศ New Shepard ซึ่งประกอบไปด้วยสองส่วน ได้แก่ส่วนของจรวดและส่วนของแคปซูลห้องโดยสาร โดยทั้งสองส่วนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทั้งสี่คนได้ขึ้นไปถึงรอยต่อระหว่างชั้นบรรยากาศของโลกกับอวกาศที่เรียกว่าระดับ Suborbital ระดับความสูงจากพื้นโลก 107 กิโลเมตร เพื่อสัมผัสกับภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลาราว 4 นาที
ก่อหน้านั้นไม่นาน ในวันที่ 11 กรกฏาคม เซอร์ริชาร์ด แบรนด์สัน เจ้าของบริษัทท่องเที่ยวอวกาศ Virgin Galactic ก็ได้ขึ้นยานที่ชื่อว่า Space plane เพื่อไปสัมผัสกับภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลาไม่กี่นาทีมาแล้วเช่นกัน
การท่องอวกาศด้วยยานพาหนะแบบใหม่และเป็นของเอกชนทั้งสองเที่ยวบินนี้ได้กระตุ้นให้ผู้คนทั่วทั้งโลกถึงการเดินทางท่องอวกาศของพวกเขาเองบ้าง นี่เป็นการเปิดศักราชใหม่ของยุคการท่องเที่ยวอวกาศ
ทางด้าน SpaceX เองก็มีความก้าวหน้าไปอีกขั้น ในวันที่ 15 กันยายน ปีเดียวกัน ทาง SpaceX ได้ปล่อยยาน Inspiration 4 เพื่อทำภารกิจนำมนุษย์ขึ้นไปยังวงโคจร โดยภารกิจดังกล่าวได้นำมนุษย์ขึ้นไปที่ความสูง 590 กิโลเมตรจากพื้นโลก ซึ่งสูงกว่าการท่องอวกาศในทั้งสองเที่ยวบินก่อนหน้านั้นที่ยังอยู่เพียงในระดับ suborbital และสูงกว่าสถานีอวกาศนานาชาติด้วยซ้ำ (408 กิโลเมตรจากพื้นโลก) ใช้เวลาโคจรรอบโลกเป็นเวลา 3 วัน
เที่ยวบินส่วนตัวไปอวกาศนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ไปถึงระดับวงโคจร (วงโคจรต่ำ < 2,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก) โดยไม่มีนักบินอวกาศร่วมเดินทางไปด้วย นี่คือการเริ่มต้นของการแข่งขันที่ตื่นเต้นกับธุรกิจการท่องอวกาศ
.....................
ในด้านอวกาศแล้ว ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีบริษัทเอกชนที่สนใจในด้านอวกาศเกิดขึ้นมากมายกำลังสร้างเทคโนโลยีที่ผลักดันการดำรงอยู่ของมนุษยชาติให้ขยายออกไปสู่นอกโลกเร็วกว่าที่เคย ซึ่งการปฏิวัติทั้งหมดนี้จะทำให้เราขยายขอบเขตของโลกสีน้ำเงินอันสวยงามของเราออกไปและกลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถดำรงชีพข้ามดาวได้อย่างแท้จริง
ในด้านอวกาศแล้ว ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีบริษัทเอกชนที่สนใจในด้านอวกาศเกิดขึ้นมากมายกำลังสร้างเทคโนโลยีที่ผลักดันการดำรงอยู่ของมนุษยชาติให้ขยายออกไปสู่นอกโลกเร็วกว่าที่เคย ซึ่งการปฏิวัติทั้งหมดนี้จะทำให้เราขยายขอบเขตของโลกสีน้ำเงินอันสวยงามของเราออกไปและกลายเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถดำรงชีพข้ามดาวได้อย่างแท้จริง
ดังคำกล่าวของนักฟิสิกส์ นวัตกรและวิศวกรการบินชาวรัสเซีย คอนสตันติน ซีออลคอฟสกี Konstantin E. Tsiolkovsky ."Earth is the cradle of humanity, but one cannot remain in the cradle forever." โลกเป็นเหมือนกับเปลเด็กสำหรับมนุษยชาติ แน่นอนว่าเราคงไม่อาจอยู่ในเปลนั้นได้ตลอดไป
นับตั้งแต่การส่งยานสปุตนิกส์  (Sputnik 1957) มาจนถึงการส่งยานอพอลโล่ไปลงดวงจันทร์ เรามีความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีในการสำรวจอวกาศอย่างมหาศาล นำโดยฝั่งของรัฐบาล สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต ต่างก็แข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศเพื่อหาทางส่งคนไปลงดวงจันทร์ จากการแข่งขันกันทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่รุดหน้าและทำสำเร็จหลายอย่าง
แต่พอหมดยุคสงครามเย็นก็ไม่มีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันเหมือนเดิม การพัฒนาในส่วนนี้จึงดูถดถอยลงไปรวมทั้งต้นทุนในโครงการสำรวจอวกาศนับตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปี 2010 นั้นไม่ได้ลดลงเลยซึ่งมันไม่น่าเป็นไปได้หากเราลองเทียบกับความก้าวหน้าในสาขาอื่น ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ ในขณะที่ราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลงนับจากปี 1970 ถึงปี 2010 ความสามารถของคอมพิวเตอร์กลับเพิ่มขึ้นหลายพันเท่า แต่ไม่เป็นเช่นเดียวกันนี้กับเทคโนโลยีด้านอวกาศที่ดูเหมือนจะหยุดนิ่ง
หลังจากนั้นราว ๆ ปี 2010 ด้วยปฏิบัติการ Falcon 9 และการทำให้จรวดขนส่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งช่วยลดต้นทุนการปล่อยจรวด โดยช่วยลดต้นทุนจาก 10,000 เหรียญฯ ต่อกิโลกรัมเหลือเพียง 2,000 เหรียญฯ ต่อกิโลกรัม
บริษัทอย่าง SpaceX และ Blue Origin ซึ่งนอกจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ว่ามาแล้วนี้ที่ได้คิดค้นพัฒนาสร้างจรวดที่มีขนาดใหญ่ มีแรงยกสูงและสามารถนำมากลับมาใช้ได้นั้น ก็ยังมีบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่งที่มุ่งจับกลุ่มเป้าหมายตลาดเกิดใหม่โดยการสร้างจรวดที่มีขนาดเล็กลงพร้อมทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ปล่อยดาวเทียมหรือวัตถุที่มีน้ำหนักไม่มากเข้าสู่วงโครจรของโลก
โดยหลักการทำให้ต้นทุนต่ำนั้นจะอาศัยการใช้จรวดสองท่อน หลังจากการแยกตัวของจรวดทั้งสองท่อนนั้น จรวดท่อนแรกจะตกลงสู่ทะเล โดยมีร่มชูชีพคอยประคองการตกเพื่อจะได้นำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนจรวดท่อนที่สองจะจุดระเบิดแล้วพุ่งขึ้นไปต่อจนเข้าสู่วงโคจรของโลก จากนั้นก็จะปล่อยวัตถุซึ่งหลัก ๆ ก็คือดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร จากนั้นจรวดท่อนที่สองก็จะตกลงมาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศถูกเผาไหม้จนหมด
.... ...... ....
การนำกลับมาใช้ใหม่เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมทางด้านอวกาศ ทำให้เราสามารถขึ้นไปถึงวงโคจรของโลกได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลงกว่าหลายปีก่อนหน้านี้ ดังนั้นแล้วอวกาศจึงเปิดกว้างให้พวกเราเข้าถึงมากขึ้นและเม็ดเงินที่หลั่งไหลเข้ามาในอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
......... .......
บริษัทอย่าง Astra ผู้ผลิตจรวดที่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย คริส เคมป์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและซีอีโอบอกว่า บริษัทเราไม่ได้ใช้วัสดุที่หายากหรือว่าแปลก แต่กำลังสร้างจรวดจากอลูมิเนียมซึ่งมันสามารถดัดโค้ง เชื่อม ได้อย่างรวดเร็ว โดยแนวคิดก็คือ หากเราสามารถผลิตจรวดได้เหมือนเราผลิตรถยนต์หรือว่าเครื่องบินซึ่งใช้เวลาไม่นานและลดต้นทุนได้มาก ก็จะทำให้ตลาดตรงนี้เติบโตขึ้นอย่างมากเช่นกัน
โดยบริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มอัตราการผลิตจรวดจากรายเดือนในปีนี้ ให้เป็นการผลิตได้รายสัปดาห์ในปี 2023 และสองอาทิตย์ต่อลำในปี 2024 รวมถึงสามารถผลิตจรวดได้รายวันในปี 2025 ซึ่งนอกจากผลิตจรวดแล้วก็จะมีบริการปล่อยจรวด โดยตั้งเป้าปล่อยจรวดให้ได้อย่างน้อย 1 ลำต่อวันซึ่งต้องหาทางลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างแรงจูงใจ
ทำไมถึงคิดว่าจะสร้างและปล่อยจรวดได้ถี่ขนาดนั้น ?
อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ https://herothailand.com/hha9
โฆษณา