22 เม.ย. เวลา 12:34 • ข่าว

เช็คญี่ปุ่นจะหยุดยาว 10 วัน “โกลเด้นวีค” หมายถึงอะไร? ตรงกับวันหยุดอะไรบ้าง?

อีกไม่กี่วัน ญี่ปุ่นก็จะย่างเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว
สัปดาห์ทอง หรือที่เรียกว่า “โกลเด้นวีค”
(Golden Week) ที่ชาวญี่ปุ่นรอคอยกันแล้ว
[เช็ควันหยุดยาวโกลเด้นวีค 10 วันของญี่ปุ่น
ตรงกับวันหยุดอะไรบ้าง?]
ปีนี้ หากรวมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ด้วยแล้ว
คนทำงานก็จะจัดวันหยุดสูงสุดได้ถึง 10 วัน ดังนี้
ครึ่งแรก วันหยุดยาวต่อเนื่อง 3 วัน:
27 เมษายน (เสาร์) วันหยุดประจำสัปดาห์
28 เมษายน (อาทิตย์) วันหยุดประจำสัปดาห์
29 เมษายน (จันทร์) วันโชวะ (Showa Day)
เดิมที เป็นวันเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพ
ของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งยุคโชวะ
(2468 – 2532)
ปัจจุบันยังคงไว้ เพื่อให้ประชาชนได้รำลึกถึง
ในยุคสมัยโชวะ ที่บ้านเมืองได้ผ่านร้อนผ่านหนาว
กับเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วง 63 ปี
แล้วสามารถกอบกู้ฟื้นฟูบ้านเมืองเพื่ออนาคต
ของชาติจนประสบความสำเร็จ
เศรษฐกิจพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนปัจจุบัน
 
 
คั่นด้วยคนทำงานใช้สิทธิ์ลาพักร้อน (3 วัน):
30 เมษายน (อังคาร) - 2 พฤษภาคม (พฤหัสบดี)
ครึ่งหลัง ต่อด้วยวันหยุดยาวต่อเนื่อง 4 วัน:
3 พฤษภาคม (ศุกร์) วันรำลึกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
(Constitution Memorial Day)
ฉบับแรกที่บัญญัติขึ้นมาใหม่
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2490
เพื่อมุ่งสร้างความเจริญเติบโต
ให้กับประเทศชาติ
4 พฤษภาคม (เสาร์) วันสีเขียว (Greenery Day)
หรือ เทศกาลพฤษชาติ
ประกาศเมื่อปี 2549
เพื่อถวายพระเกียรติแด่
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ
แห่งยุคโชวะที่พระองค์ทรงโปรด
พืชพันธุ์และธรรมชาติ
เป็นอย่างมาก
เพื่อให้ปลูกฝังให้ประชาชน
รู้สึกใกล้ชิด ชื่นชม
และขอบคุณคุณประโยชน์ของ
ธรรมชาติ
Image Credist: https://www.crossroadfukuoka.jp/event/14097, 5 พฤษภาคม วันเด็ก บ้านไหนมีเด็กผู้ชายนิยมประดับธงปลาคาร์ฟ ขอพรให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนปลาคาร์ฟ
5 พฤษภาคม (อาทิตย์) เปลี่ยนชื่อเป็น
“วันเด็กแห่งชาติ”
(Children’ s Day) ตั้งแต่ปี 2491
เพื่อให้มีความหมายที่รวม
ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายด้วย
เดิมทีเรียก “วันของเด็กผู้ชาย” ”
เป็นวันฉลองเด็กผู้ชาย
บ้านใดที่มีเด็กผู้ชาย
ก็จะมีการประดับชุดเกราะจำลอง
หรือหมวกซามุไรจำลอง
และธงปลาคาร์ฟหลากหลายสีสัน
ที่เรียก “โคอิโนโบริ”
เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง
เพื่อขอให้เด็กผู้ชายมีความสุข
สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เหมือน
ปลาคาร์ฟที่แข็งแรงว่ายทวนน้ำได้
ในวันนี้ โรงเรียนและสำนักงานปิด
ตามสถานที่ต่างๆ
อาจมีลดราคา
หรือคิดค่าใช้จ่ายต่ำสุด
หรือมีโปรโมชั่น แคมเปญแก่เด็ก
 
ส่วนวันเด็กผู้หญิงญี่ปุ่นจะตรงกับ
วันที่ 3 มีนาคม ที่เรียกเทศกาล
วันเด็กผู้หญิงว่า “ฮินามาสึริ”
(วันเด็กผู้หญิงไม่ใช่
วันหยุดราชการ)
6 พฤษภาคม(วันจันทร์) วันหยุดชดเชย
เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของญี่ปุ่น
ตามกฎหมาย มาตราที่ 3 ข้อ 2
รวมวันหยุดในช่วงโกลเด้นวีคทั้งหมด 10 วัน
ประกอบด้วย
- ครึ่งแรก วันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ 4 วัน
- วันที่ต้องใช้สิทธิ์ลาพักร้อนในวันปกติ 3 วัน
- ครึ่งวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ วันหยุดราชการ 3 วัน
Image Credits: Gov-online, ปฏิทินญี่ปุ่นมีหยุดประจำชาติทั้งปีตามกฎหมายมีทั้งหมด 16 วัน ช่วงที่มีวันหยุดมากที่สุดของปีนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน ถึง 6 เมษายน มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่เป็นวันหยุดราชการถึง 1 ใน 4 ของทั้งปีในช่วงนี้ จึงเรียกว่า "วันนักขัตฤกษ์"
[ความหมายของ “โกลเด้นวีค” ของญี่ปุ่น]
“โกลเด้นวีค” จึงหมายถึง สัปดาห์ที่มีวันหยุดราชการ
ที่สำคัญต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น อยู่ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันถึงประมาณ 4 วันใน 1 สัปดาห์ จากจำนวนวันหยุดประจำปีทั้งปีตามกฎหมายที่มีทั้งหมด 16 วัน
เรียกว่า เป็นช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่เป็นวันหยุดราชการด้วยถึง 1 ใน 4 ของทั้งปี
จึงกลายเป็นสัปดาห์ทองของชาวญี่ปุ่นที่จะได้หยุดยาวๆ
เพื่อเพิ่มพูนชีวิตให้มีความสุขสมบูรณ์มากขึ้น
จัดเป็น “วันหยุดนักขัตฤกษ์ของประชาชน”
ซึ่งเดิมทีจะหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม ถึง 5 พฤษภาคม เป็นเวลา 3 วัน
แต่โดยทั่วไป จะหมายถึงวันหยุดช่วงปลายเดือน
ถึงต้นเดือนพฤษภาคม เช่นปีนี้ หมายถึงช่วงวันหยุด
ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2567 ถึง 6 พฤษภาคม 2567
จำนวน 10 วัน คือ ช่วงโกลเด้นวีคของญี่ปุ่น
[ที่มาของคำว่า “โกลเด้นวีค” (Golden Week)]
คำว่า “โกลเด้นวีค” (Golden Week) จริงๆ แล้ว
เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนญี่ปุ่นบัญญัติขึ้น
จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทฤษฎีที่มา
ของชื่อเรียกนี้หลายทฤษฎี
ส่วนหนึ่งว่ากันว่า มาจากการบังคับใช้กฎหมายวันหยุดนักขัตฤกษ์ของประชาชนขึ้นเมื่อปี 2491
แล้วในช่วงหยุดยาวประมาณหนึ่งสัปดาห์นี้
ผู้คนนิยมไปชมภาพยนตร์กันเป็นจำนวนมาก
ในช่วงวันหยุดต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน
จนถึงต้นเดือนพฤษภาคม
แล้วบริษัทผลิตภาพยนตร์ไดนิฮง
หรือที่นิยมเรียกชื่อย่อว่า “ไดเอ”
จึงได้เอาคำว่า “โกลเด้นไทม์” (Golden Time)
ที่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในวงการวิทยุกระจายเสียงใน
ช่วง 2485 – 2545 ในสมัยนั้น มาประยุกต์ใช้ตั้งชื่อ
“ช่วงสัปดาห์วันหยุดยาวเวลาทองที่ดีเลิศที่สุด” ว่า “สัปดาห์ทอง” แล้วแผลงเป็น “โกลเด้นท์วีค”
( Golden Week) เพื่อให้ฟังแล้วมีความโดดเด่นขึ้น
ส่วนอีกทฤษฏีหนึ่งก็สันนิษฐานว่า
ชื่อเรียก “โกลเด้นท์วีค” (สัปดาห์ทอง) นี้
เป็นชื่อเรียกที่เอามาจากนายมาร์โคโปโล
ผู้เคยมาประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาสู่ประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแห่งทองคำ (Golden Country) จึงน่าจะแผลงมาจากคำนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า
ทฤษฏีแรกจะเป็นที่ยอมรับกันมากกว่า
วันหยุดราชการ วันนักขัตฤกษ์ทั้งหลายนี้
จึงมีทั้งกิจกรรมที่ต้องการสร้างความตระหนัก
และที่ต้องการให้ย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กรือชนรุ่นก่อน หรือให้เห็นถึงความสำคัญของวันนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง
ที่มีทั้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกันและสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดีๆ
และเป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้ใช้เวลาพักผ่อน
กลับต่างจังหวัด ท่องเที่ยวในหรือต่างประเทศ
สังสรรค์ ทำกิจกรรม พบปะสังสรรค์ รวมญาติ
หรืออยู่กับบ้าน ตามที่ตนชอบ เพื่อเติมเต็มคุณค่า
และความหมายไลฟ์บาลานซ์ของชีวิตของผู้คนด้วย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
useful/article/202112/3.html
กด “ไลค์ (like)”
กด “แชร์ (share)”
กด “คอมเมนท์ (comment)”
เพื่อการติดตามสาระดีๆ ในตอนต่อไป
โฆษณา