27 เม.ย. เวลา 06:22 • ความคิดเห็น
เอาเป็นว่า
ผมชอบคำกล่าวที่ว่า
People change
because of either
inspirations
or
desperations.
• ชีวิตผมไม่เคยคิดจะทำอาหารหรือสนใจเรื่องการทำอาหารเลย
แต่ผมชอบดูรายการสอนทำอาหารตอนที่ยังเป็นเด็กๆ
เนื่องจากผมเป็นคนชอบศึกษาเรื่องรถ ผมจึงเรียนในสายเทคโนโลยีมาตลอด
1
จนกระทั่งผมรู้ว่ามีงานแสดงรถที่ญี่ปุ่น ที่ชื่อว่า
Tokyo Motor Show
ผมตัดสินใจเรียนภาษาญี่ปุ่นทันทีเพราะอยากไปงานนี้ในวันข้างหน้า หากมีโอกาส
จนถึงทุกวันนี้ผมสอบผ่านการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นได้ใบประกาศนียบัตรมาสามใบ แต่ผมก็ยังไม่มีโอกาสได้ไปงานนี้
จนเดี๋ยวนี้ เขาเปลี่ยนชื่อจาก
TMS ไปเป็น JMS หรือ
Japan Mobility Show แล้ว!
• ในที่สุด ช่วงที่ผมหางาน part time ทำ
ผมเลยสมัครงานเป็นเด็กเสริฟในร้านอาหารญี่ปุ่นเล็กๆแห่งหนึ่งที่ กว่า 90% ของคนในร้านเป็นชาวญี่ปุ่น รวมถึง sushi master chef
สิ่งที่ผมชื่นชอบเกี่ยวกับการเป็น sushi/sashimi chef คือ
แกจะมีชุดมีดชุดใหญ่ตั้งเป็นลักษณะขั้นบันไดตรง work station ของแก
ชุดมีดหลากหลายรูปแบบนั้นดูอลังการมาก!
แต่ผมก็ไม่มีโอกาสศึกษาเรื่องการทำอาหารเลย
• จนกระทั้งช่วงปี 2018
ผมกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อดูแลพระในบ้านของผม
และผมต้องการทำอาหารเองให้ท่าน
ผมจำได้ดีว่าวันที่ 14 เมษา 2018 ผมตัดสินใจเดินไปตลาดแถวบ้าน เพื่อเลือกซื้อปลาทรายแดงตัวขนาดฝ่ามือมา 4-5 ตัว เพื่อมาฝึกแล่
เพราะผมอยากทำข้าวต้มปลาถวายพระในบ้านของผม
• แล้วผมเคยแล่ปลาหรือ?
เปล่าเลยครับ ผมเริ่มจากการที่ไม่เคยแล่ปลา แต่ผมศึกษาเทคนิคการแล่ปลาจากทั้ง เชฟชาวตะวันตก และเชฟชาวญี่ปุ่นบน Youtube
และผมบอกได้เลยว่า เชฟฝรั่งกับเชฟญี่ปุ่นจะใช้มีดแล่คนละแบบกันเลย!
แต่เชฟฝรั่งจำนวนไม่น้อยกลับหลงใหลการใช้มีดแบบเชฟญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า
" Deba "
• ตอนนั้นผมไม่มี Deba
ผมจึงใช้ Chef knive ขนาด 12 นิ้ว ตามมาตรฐานครัวฝรั่งซึ่งไม่ใช่มีดที่ฝรั่งใช้แล่ปลาเสียทีเดียว
เวลาผ่านไป
จากปลาทรายแดงตัวขนาดฝ่ามือ
ผมเริ่มแล่ปลาเก๋าและปลากะพง น้ำหนักรวมๆกันคงเกินร้อยกิโลแล้ว และปลาเก๋าตัวใหญ่สุดที่ผมแล่ มันหนักถึง 7 กิโลเลยทีเดียว!
• นับแต่วันที่ inspiration ที่อยากทำอาหารถวายพระในบ้านด้วยตัวผมเอง
มันได้เปิดโลกใบใหม่ให้ผม! โลกแห่งการทำอาหาร!
ผมขอแชร์เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมผ่านหูผ่านตามาจากเชฟทั่วโลกที่ผมเคยดูบน Youtube ให้คร่าวๆดังนี้
▪เทคนิคการทำ Pasta ที่ถูกต้องตามแบบอิตาเลี่ยน คือ
เราต้ม Pasta ให้สุกแค่ 70-80% จึงนำมาพักให้สะเด็ดน้ำแล้วจึงนำลงกะทะเพื่อผัดกับซอส
ที่ต้องให้สะเด็ดน้ำก็เพราะว่า ถ้ามีน้ำติดเส้นไป น้ำนั้นจะไปเจือจางรสชาติของซอส ทำให้ซอสจืด!
มันเหมือนกับที่เชฟราเมน ลวกเส้นเสร็จ แล้วเขาจะออกแรงสะบัดเส้นแรงๆแบบหน้าดำคร่ำเครียด เพื่อเอาน้ำออกจากเส้นให้ได้มากที่สุด ก่อนนำเส้นลงซุปราเมนด้วยเหตุผลเดียวกัน!
แล้วทำไมเส้น Pasta ต้องต้มให้สุกเพียง 70-80% ?
ก็เพราะว่า
หลังต้มเส้นแล้ว เราต้องนำ Pasta ลงไปผัดกับซอสอีก!
ความร้อนจากการผัดจะทำให้รสชาติของซอสซึมเข้าเส้น Pasta ได้ดีโดยที่เส้นจะสุก 100% แต่เส้นไม่เละ!
▪อาหารที่เรารู้จักกันทั่วไป มีวิธีการปรุงพื้นฐานคือ
ต้ม, ผัด, แกง, ทอด, ปิ้ง, นึ่ง, ย่าง, อบ
และสิ่งที่ทำให้อาหารฝรั่งเศสมีความน่าสนใจคือ
Cooking techniques ของบ้านเขา จะมีมากกว่าแปดวิธีข้างต้น!
▪กะทะมีหลากหลายเช่นกัน!
- Wok
คือ กะทะก้นโค้งของครัวจีน ทำจากเหล็ก Carbon steel นำความร้อนดี แต่ต้องดูแลรักษามากกว่า เพราะมันขึ้นสนิมง่าย
ต้องใช้น้ำมันพืชชโลมเคลือบผิวไว้ก่อนเก็บ
- Pan
คือกะทะท้องแบนที่เรารู้จักกันดี
ใช้ทำอาหารได้หลากหลาย แต่ใช้ผัดสู้ Wok ไม่ได้
แต่ใช้ทำ gyoza ได้ดีนัก!
- Skillet
เป็นกะทะท้องแบนอย่างหนา ทำจาก Cast iron
ใช้ทำ steaks ได้ เข้าเตาอบก็ไม่น่ามีปัญหา!
▪rosemary และ thyme คือพืชสองชนิดที่เชฟตะวันตกเลือกใส่ในอาหารหลากหลายประเภท
• สุดท้ายผมขอจบด้วยคำกล่าวจากบุคคลในวงการลงทุนท่านหนึ่ง
ใจความประมาณว่า
In life,
people won't get what they want.
They get what they deserve!
นั่นคือ
ถ้าคุณทำ steaks แบบไม่ใส่ใจ
คุณก็จะได้ เนื้อไหม้ๆ สุกบ้างไม่สุกบ้างไว้กิน!
แต่ถ้าคุณตั้งใจ คุณจะได้เนื้อที่ juicy and succulent !
โฆษณา