28 เม.ย. เวลา 15:59 • ข่าว

"หน้าร้อนไม่ได้มีแต่ฮีทสโตรก" เช็คอาการโรคจากหน้าร้อนพร้อมวิธีรับมือ

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เป็นคำที่ได้ยินบ่อยในช่วงนี้ ในขณะที่หน้าร้อนปีนี้ยังไม่จบลง ก็มีคนที่ต้องสังเวยชีวิตจากภาวะลมแดดไปแล้วกว่า 30 คน มากกว่าปีที่แล้วถึง 2 เท่า ดังนั้นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากความร้อน จึงเป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจและเตรียมรับมือ
6
นอกจากโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก แล้ว ก็ยังมีอีกหลายภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด ตัวอย่างเช่น ผื่นร้อน (Heat Rash)
ตะคริวแดด (Heat Cramps) ลมแดด (Heat stroke) กล้ามเนื้อสลายตัวจากความร้อน (Rhabdomyolysis) และโรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงภาวะเหล่านี้กันครับ
6
1. ผื่นร้อน (Heat Rash) เกิดจากการที่ต่อมเหงื่ออุดตันจากการผลิตเหงื่อมากเกินไปเพื่อระบายอุณหภูมิที่ร้อนและทำให้ร่างกายเย็นลง อาการโดยทั่วไปมีการบวมแดงของผิว อาการคันหรืออาการแสบใกล้เคียงกับการถูกแสงแดดแผดเผาขั้นต้น ซึ่งเกิดจากการอักเสบของชั้นผิวหนัง
8
กลุ่มที่เสี่ยงจะพบกับผดร้อนบ่อยๆคือ เด็กทารก คนชรา และคนร่างใหญ่ที่มีพื้นที่ผิวหนังทับกัน เช่นบริเวณจุดที่อับชื้นต่างๆ กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะถ้าอยู่กับที่เฉย ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยที่ผิวหนังไม่ได้รับการระบายอากาศ การออกกำลังกายอย่างหนักที่ทำให้เหงื่อออกเยอะ ถ้ายิ่งสวมเสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดีด้วยแล้วก็เสี่ยงต่อผิดร้อนมากยิ่งขึ้น
6
หากเกิดผดร้อน หรือผื่นร้อนขึ้น ส่วนใหญ่มักหายได้เองเมื่อร่างกายอยู่ในบริเวณที่ร่างกายเย็นลง หรืออาจใช้เจลเย็น หรือเจลลดสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังก็ช่วยได้เช่นกัน
4
2. ตะคริวแดด (Heat Cramps)
4
ตะคริวแดด นะครับ(ห้ามเปลี่ยนเป็น ก ไก่) มักเกิดจากการออกกำลังกายติดต่อกันเป็นเวลานานในที่มีอากาศร้อนจัด ทำให้มีเหงื่อออกมากและร่างกายสูญเสียเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ปวดและกล้ามเนื้อหดเกร็ง การเกิดตะคริวอาจมีผลมาจากการที่ดื่มน้ำเย็นจัดอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ภายหลังจากการออกกำลังกายในที่อากาศร้อนจัด
5
อาการเบื้องต้นคือ ปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ หน้ามือ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีรุนแรงอาจหมดสติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีภาวะไม่สบาย ติดเชื้อ อ้วน
สูงอายุ อาจเสี่ยงต่อตะคริวแดดมากกว่าคนปกติ
7
ตะคริวแดดแก้ไขได้โดย เคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้อยู่ในที่อากาศเย็น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแกงประมาณ 1 ช้อนชา ในน้ำ 1 ลิตร (ไม่ควรเป็นน้ำที่เย็นจัด) ทุก ๆ 15 นาที ถ้ามีอาเจียน ให้หยุดดื่ม ค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อ และนวดบริเวณที่เป็นตะคริว
และควรนำตัวส่งแพทย์หากมีอาการรุนแรง
4
3. โรคเพลียแดด หรือ โรคลมร้อน(Heat Exhaustion)
มีสาเหตุมาจากการอยู่ในที่มีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอากาศที่ร้อนและความชื้นสูงด้วย จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูง ซึ่งจะทำให้มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณผิวหนังมากขึ้น เพื่อขับเหงื่อออกจากร่างกาย ถ้ากำลังสูบฉีดเลือดของหัวใจไม่เพียงพอสำหรับเพิ่มกระแสเลือดที่จะไปเลี้ยงผิวหนัง นอกเหนือจากที่ต้องไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและสมองแล้ว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ถ้าสภาวะนี้เป็นไปเรื่อย ๆ จะทำให้เป็นลมเพราะสมองขาดออกซิเจน
6
จะพบได้เสมอในคนที่เหนื่อยง่าย เสพสุราเรื้อรัง เป็นโรคเกี่ยวกับความดัน มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ และไม่เคยชินกับการทำงานหรือออกกำลังกายในที่มีอากาศร้อนอบอ้าวและมีความชื้น นอกจากนี้ร่างกายยังมีการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ทางเหงื่อเป็นจำนวนมาก (dehydration) โดยที่ไม่ได้รับสารน้ำเข้าไปทดแทนอย่างเพียงพอ
6
อาการที่พบได้คือ หน้าซีด ผิวหนังเย็น และชื้น ช่องม่านตาขยาย ตัวเย็น หายใจเร็วและตื้น คลื่นไส้ อาเจียน และอาจทำให้หมดสติได้
5
4. ลมแดด (Heat stroke)
เป็นภาวะจากความร้อนสูงที่ทำให้เสียชีวิตได้มากที่สุด ผู้ที่เป็นลมแดดจะทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ ทำให้ปริมาณความร้อนที่สูงมากทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งควบคุมการขยายตัวของหลอดเลือด รวมทั้งการกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อสร้างเหงื่อ มักพบภาวะไตวายเฉียบพลัน ระบบหายใจล้มเหลว ตับถูกทำลาย กลไกการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง เกร็ดเลือดถูกทำลายและส่วนใหญ่ก็จะเสียชีวิตในที่สุด
4
อาการคือ อุณหภูมิในร่างกายสูงมากกว่า 41° C ผิวหนังร้อนและแห้ง หน้าแดง ในระยะแรกจะหายใจเร็วและลึก ต่อมาหายใจตื้น ชีพจรเบาและไม่สม่ำเสมอ กล้ามเนื้อเกร็งตัว และชัก ช่องม่านตาขยาย และตามตัวจะมีกลิ่นฉุน ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีเทาคล้ายขี้เถ้า ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยใกล้ถึงภาวะที่หัวใจหยุดทำงาน
4
หากพบผู้ที่สงสัยว่าอาจเป็นลมแดด ควรปฐมพยาบาลด้วยการย้ายผู้ป่วยมาอยู่ในห้องที่มีอากาศเย็นทันที หากมีอาการไม่รุนแรง รู้สติพอสมควร ให้ผู้ป่วยได้รับการลดไข้ด้วยวิธีพ่นละอองน้ำ (ใช้เครื่องฉีดละอองน้ำแบบเดียวกับที่ใช้รีดผ้า) หรือพรมน้ำให้ทั่วตัว แล้วใช้พัดลมพัดหรือมีผู้ช่วยเหลือใช้เสื้อผ้าแทนพัด กระพือให้มีลมพัดผ่านตัวผู้ป่วยเพื่อให้ละอองน้ำหรือหยดน้ำที่ผิวของผู้ป่วยระเหย
5
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว โดยจัดท่านอนให้เป็นตะแคงกึ่งคว่ำ หันหน้าออกด้านข้าง จะทำให้ผู้ป่วยหายใจได้โดยลิ้นไม่อุดหลอดลม หากหยุดหายใจ ต้องเริ่มการช่วยหายใจโดยวิธี เป่าลมเข้าปอดทางปาก (mouth to mouth)
หากพบว่าผู้ป่วยไม่มีชีพจรก็ต้องเริ่มขบวนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทันที และแจ้งแพทย์โดยเร็วที่สุด
8
อ้างอิง
โฆษณา