1 พ.ค. เวลา 16:01 • ข่าวรอบโลก

AstraZeneca รับวัคซีนโควิดอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้

สำนักข่าว telegraph รายงานอ้างเอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์ของข้อมูลการติดตามหลังการใช้ในวงกว้างของวัคซีนโควิด 19 บริษัท AstraZeneca ในชื่อ Covishield โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าวัคซีนสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่พบได้ยาก รวมถึงภาวะลิ่มเลือด และเกล็ดเลือดต่ำ
โดยก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า Covishield อาจมีผลข้างเคียงที่คุกคามถึงชีวิตได้ โดยภาวะลิ่มเลือดจากวัคซีน หรือ Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติและรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ได้รับรายงานหลังการฉีดวัคซีนด้วยวัคซีนนี้
เนื่องจากวัคซีนทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้จึงนำไปสู่การฟ้องร้องแบบกลุ่มในสหราชอาณาจักรว่าวัคซีนดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ทำให้มีการเรียกร้องค่าเสียหายสูงถึง 100 ล้านปอนด์แก่เหยื่อประมาณ 50 ราย ผู้เสียหายรายหนึ่งบอกว่าวัคซีนทำให้เกิดความเสียหายกับสมองของเขาอย่างถาวรเนื่องจากลิ่มเลือดเข้าไปอุดกั้นบริเวณดังกล่าว
แล้วภาวะลิ่มเลือกจากวัคซีนดังกล่าว เกิดจากอะไร?
ภาวะ Vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) หรือ Thrombosis with thrombocytopenia syndrome (TTS) เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดตันและมีเกล็ดเลือดต่ำภายหลังการได้รับวัคซีน โดยมีรายงานการเกิดในผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 แม้จะยังไม่แน่ชัดในเรื่องของกลไก แต่คาดการณ์ว่าเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่มีการต่อต้านวัคซีนและสารแต่งต่างๆ ทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น
1
ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการแสดงของการอุดตันของหลอดเลือด เช่น ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง ปวดท้อง ปวดหลัง เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ขาบวมเจ็บ หรือพบมีจุดเลือดออก อาการมักเกิดประมาณ 4-30 วันภายหลังการได้รับวัคซีน ภาวะนี้ต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั่วไปที่ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำ โดยพบน้อยมาก องค์การอนามัยโลกรายงานอุบัติการณ์ของภาวะ VITT จากประเทศทางตะวันตก พบประมาณ 0.5-6.8 ต่อ 100,000 โดยมีรายงานการเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 60 ปี
ในไทยเอง การเก็บข้อมูลการใช้วัคซีนในช่วงที่มีการระบาดสูงสุด ปี 2564 มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่ามีภาวะ VITT ภายหลังการได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าทั้งสิ้น 2 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 0.3 ต่อล้านโดส หรือประมาณ 1 รายใน 3 ล้านโดส ทั้งสองรายมาด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงร่วมกับมีจุดเลือดออก โดยได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและรักษาจนอาการหายดีเป็นปกติ
ข้อมูลจากสภาองค์การวิทยาศาสตร์การแพทย์ระหว่างประเทศระบุว่าผลข้างเคียงนั้นพบได้น้อยมาก โอกาสเกิดขึ้นอยู่ที่ 1 ใน 10,000 คนเท่านั้น โดย 3 ปีก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าวัคซีน AstraZeneca อาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะลิ่มเลือด แต่ยังไม่ใช่การยอมรับตรง ๆ
อ้างอิง
โฆษณา