4 พ.ค. เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

”ประกัน“ สำคัญมั้ย ❓

เชื่อว่าคำถามนี้น่าจะมีหลายคนคิดและอยากรู้คำตอบ ยิ่งสำหรับใครที่กำลังคิดจะทำประกันเป็นเล่มแรก ยิ่งน่าจะคิดหนักว่าสำคัญมั้ย จะทำดีมั้ย เพราะทำประกันเล่มนึงใช้เงินไม่ใช่น้อยๆ ต่ำๆ ก็มีหลักหมื่นที่ต้องจ่ายแน่นอน 💸
.
ถ้าอย่างนั้น มาดูกันดีกว่าว่า “การวางแผนประกัน” มีประโยชน์ยังไงบ้าง 🤗
🧯 ช่วยทำให้เราสบายใจกับผลลัพธ์ของเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ สิ่งที่แน่นอนที่สุดบนโลกใบนี้ คือ ความไม่แน่นอนครับ ยิ่งเป็นเรื่องของอนาคตที่ยังไม่เกิด ยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าจะเกิดเรื่องอะไรข้างหน้าบ้าง ถ้าชีวิตนี้มีแต่เรื่องดีๆ ในชีวิต เหมือนเดินอยู่บนกลีบกุหลาบหรือทุ่งลาเวนเดอร์ สินค้าประกันคงเป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือยที่สุดในชีวิต เพราะทำไปมีแต่เสียตังค์ทิ้งฟรีๆ ทุกปี
แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าปี 54 จะมีน้ำท่วม กทม ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ หรือ 3-4 ปีก่อนหน้าจะมีโรคโควิดระบาดทั่วโลก หรือแม้แต่ตัวเราเองจะป่วย จะตกงาน จะเกิดอุบัติเหตุเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้หรือคาดเดาได้เลย สินค้าประกันนี่แหละครับจึงเข้ามาช่วยบรรเทาความสูญเสียทางการเงินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
🧰 รักษาความมั่งคั่งให้กับตัวเราและครอบครัว สำหรับใครที่มีรถ คงจะเข้าใจข้อนี้ดี เพราะน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นภาพชัดทีเดียวว่า เวลาขับรถแล้วประกันขาด รู้สึกยังไง มันร้อนใจและระแวงหน้าระแวงหลังไปหมดเลย ถูกไหมครับ เพราะหากขับๆ ไปแล้วเกิดชน หรือ ถูกชนขึ้นมา ค่าซ่อมเอย ค่าเสียหายคู่กรณีเอย บางทีเอาเงินที่จ่ายไปมาซื้อรถคันใหม่ได้เลยก็เป็นได้ ซึ่งนั่นก็คือ ความมั่งคั่งที่เสียไป แต่ถ้าเรามีประกันรถทำเอาไว้ เกิดชนขึ้นมา ประกันเคลียร์ให้ เราจ่ายแค่ค่าเบี้ยฯ ประหยัดกว่ากันเยอะ ถูกมั้ยครับ
ทีนี้ พอพูดถึงประกันสุขภาพตัวเราเองบ้างล่ะ เจ็บป่วยทีค่อยมาทำไม่น่าจะทัน จริงมั้ยครับ ฉะนั้น เราควรทำก่อนป่วยจะได้ใช้สิทธิได้ คำถามคือ แล้วก่อนป่วยที่ว่า คือ เมื่อไหร่ ? คำถามตามมา ป่วยเข้า รพ รักษาครั้งนึงต้องเสียเท่าไหร่ มากหรือน้อยกว่าค่าเบี้ยฯ ที่จ่าย อันนี้ผู้อ่านคงต้องช่างน้ำหนักกันดูนะครับ
🔺 หลักการวางแผนด้วยสามเหลี่ยมการเงิน สิ่งที่ปูฐานชั้นล่างของพิรามิด มีด้วยกัน 2 อย่างครับ อย่างแรก คือ เงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อยมีเตรียมไว้เผื่อรายจ่ายจำเป็นประมาณ 6 เดือน จะช่วยให้เราหมดกังวลว่าเมื่อถึงเวลาตกงานหรือมีอะไรมากระทบชีวิตทำให้รายได้หยุดชะงัก จะมีเงินสำรองก้อนนี้ใช้ประทังชีวิตต่อได้ระหว่างปรับตัว อย่างที่สอง คือ ประกันหรือการโอนย้ายความเสี่ยงครับ สิ่งนี้จะช่วยให้เราลดปัญหาความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นและกระทบเงินออมหรือความมั่งคั่งของเราได้
🛟 ทีนี้ถามว่า แล้วถ้าอยากลดหรือโอนย้ายความเสี่ยงทางการเงิน เราจำเป็นต้องทำประกันเสมอไปไหม ❓ คำตอบ คือ ไม่จำเป็นเสมอไปครับ ในความเป็นจริง วิธีการจัดการกับความเสี่ยงมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ประกันหรือการถ่ายโอนความเสี่ยงเป็นแค่ 1 ในเครื่องมือเท่านั้น ทั้งนี้ จะเลือกวิธีไหนมาใช้จัดการความเสี่ยงอยู่ภายใต้กฎ 3️⃣ ข้อต่อไปนี้ครับ
☝️ ไม่ควรรับความเสี่ยง โดยยังไม่ได้บริหารจัดการมัน
✌️ คำนึงถึงโอกาสเกิดความเสี่ยง เพราะโอกาส หมายถึง ต้นทุนการบริหารความเสี่ยง หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ยิ่งโอกาสสูง = ค่าเบี้ยประกันก็ยิ่งสูงตาม
🤟 เปรียบเทียบต้นทุนที่ต้องจ่าย กับ มูลค่าความคุ้มครองที่ได้รับ
เมื่อวิเคราะห์ทั้งสามข้อแล้วจะพบว่า สิ่งที่สร้างความเสียหายสูงที่สุด ควรได้รับการพิจารณาหามาตรการบริหารความเสี่ยงรองรับเป็นลำดับแรก เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจทำให้สถานะเศรษฐกิจติดลบได้เลยทันที 💥
นอกจากการทำประกันเพื่อโอนย้ายความเสี่ยงให้บริษัทประกันเป็นผู้รับความเสี่ยงภัยแทนเรา ก็ยังมีวิธีอื่นที่ใช้จัดการความเสี่ยงได้อีก เช่น การควบคุมความเสี่ยงโดยการหลีกเลี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้น , การควบคุมความสูญเสียหรือลดความเสี่ยงภัย , การรับความเสี่ยงไว้เองในกรณีที่ผลลัพธ์ความเสียหายไม่มากนักเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ต้องจ่าย เช่น การเตรียมเงินทุนเพื่อประกันภัยตนเอง ทั้งนี้ อย่างที่ได้คุยไว้ข้างต้น จะเลือกวิธีไหนอยู่ที่การวิเคราะห์ความคุ้มค่าตามกฎสามข้อข้างต้นครับ
คราวหน้ามาต่อกันครับว่า ประกันชีวิต (Life Insurance) กับ ประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) แตกต่างกันยังไง แล้วควรเลือกแบบไหนที่เหมาะกับเรา 💋
บอส พัทธนันท์ 🦌
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
นักวางแผนการลงทุน (IP)
สนใจอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม มาเป็นเพื่อนบ้านกับ THEEPLANS 🫎 กันครับ https://thee.pw/LinkTree
#PRAKUN101
#ประกันมือใหม่
#วางแผนการเงิน
#วางแผนประกัน
#InsurancePlanning
#THEEPLANS
#FinancialSolutions
#STANDbyYOU
โฆษณา