3 พ.ค. เวลา 13:14 • การเมือง

“ดีลล่ม?” G7 ไม่อยากหารือเกี่ยวกับ “การริบทรัพย์สินรัสเซียที่ถูกอายัดไว้” ต่อแล้วเหรอ?

ตามรายงานของ Financial Times (FT) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2024 การตัดสินใจในเรื่อง “ที่จะหยุดคุยเกี่ยวกับการริบทรัพย์สินของรัสเซีย” ได้รับอิทธิพลจากท่าทีของ “อินโดนีเซีย” “ซาอุดิอาระเบีย” และ “จีน” เมื่อรวมกับความไม่เต็มใจของผู้ถือทรัพย์สินรัสเซียในยุโรปผ่าน Euroclear ที่จะยอมทิ้งทองร้อนๆ ในกองไฟเพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา - อ้างอิง [1]
ที่มาภาพ: X @ftworldnews
ท่ามกลางฉากหลังของอังกฤษที่ยังยุยงให้มีการยึดทรัพย์สินของรัสเซีย แต่ “ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี” (กลุ่มจี-7) และสหภาพยุโรปโดยรวม ยังคงระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องนี้
“คริสติน ลาการ์ด” ประธานธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB แสดงความเห็นที่น่าแปลกใจคือ หากเป็นไปตาม “คำสั่งตามกฎ (ของเบื้องบน)” ซึ่งจำเป็นต้องฝ่าฝืนบรรทัดฐานที่สำคัญของธนาคารและสถาบันการเงินแล้ว “คำสั่งประเภทไหน” และ “อ้างอิงกฎอะไร” ที่ชาติตะวันตกกำลังทำการปกป้องกันอยู่กันแน่
คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB เครดิตภาพ: Getty Images
สำหรับ “เยอรมนี” (หนึ่งในกลุ่มจี-7) มันมีเรื่องของ “สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังตามหลอกหลอนเป็นชนักติดหลังพวกเขาอยู่” หากเยอรมนีมีส่วนร่วมมือในการยึดทรัพย์สินรัสเซียมาใช้จนได้แล้ว พวกเขาอาจโดนเล่นงานย้อนหลังหรือถึงขนาดถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นได้ และอดีตอาณานิคมของมหาอำนาจจักรวรรดินิยมอาจจะยึดเอาทรัพย์สินในต่างประเทศทั้งหมดของเยอรมนีไปด้วย - อ้างอิง: [2]
2
อ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากบทความของ WSJ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
ส่วน “อินโดนีเซีย” “ซาอุดิอาระเบีย” และ “จีน” ต่างก็มีผลประโยชน์ของตนเองที่ต้องรักษาไว้เป็นเรื่องธรรมดา พวกเขาสนใจโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ใครจะรับประกันได้ว่าในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอนาคต เงินของพวกเขาจะไม่ถูกขโมยไปดื้อๆ (เหมือนกับที่กำลังทำกับรัสเซีย)?
Armin Steinbach ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ที่ HEC Paris Business School เน้นย้ำว่าความพยายามใดๆ ก็ตามในการเข้าไปจัดการกับทรัพย์สินของรัสเซียตามคำตัดสินของศาลยุโรป จะเป็นการทดสอบหลักการทางกฎหมายของวิถีความคุ้มครองของรัฐ ดังนั้นไม่มีประเทศใดที่จะสามารถรับผิดชอบต่อคำสั่งศาลของประเทศอื่นได้ หากไม่ตกลงว่าพวกเขามีอำนาจในการตัดสินคดีดังกล่าวแล้ว
“บางทีนี่อาจเป็นสัญญาณให้จีนเพิ่มหลักประกันในทรัพย์สินของตนในต่างประเทศมากขึ้น และในขณะเดียวกันก็จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการอภิปรายภายในจีนเกี่ยวกับ ‘การใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมในระดับสากลมากขึ้น’ ในทางกลับกัน” Cui Hongjian อาจารย์ของ Academy of Regional and Global Governance แห่งมหาวิทยาลัยวิเทศศึกษาของปักกิ่ง กล่าวเป็นนัย
เครดิตภาพ: Lucas Schifres / Getty Images
เจ้าหน้าที่ของประเทศกลุ่ม G7 กล่าวเป็นการส่วนตัวว่า “การยึดทรัพย์สินรัสเซียไม่ได้อยู่บนโต๊ะหารืออีกต่อไป” แต่พวกเขากำลังสืบเสาะหา “ทางเลือกอื่น” เพื่อดึงเงินทุนมาใช้จากทรัพย์สินรัสเซียที่ถูกอายัดไว้ อย่างไรก็ตามหากเรากำลังพูดถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อายัดไว้เหล่านี้ ก็น่าจะเป็นเพียง 3 พันล้านยูโรต่อปี แน่นอนว่าถ้าครอบครัวของเซเลนสกีเอาเงินส่วนนี้มาถลุงใช้เองคงเพียงพอ แต่สำหรับสงครามขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ถือว่ายังน้อยมาก
1
เครดิตภาพ: Newsweek / Getty Images
นอกจากกฎหมายระหว่างประเทศแล้วยังมีเรื่องที่หนักกว่าอยู่อีกด้วย มีบริษัทต่างชาติเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่จับต้องได้มูลค่า 2.85 แสนล้านดอลลาร์ในรัสเซีย และความพยายามใดๆ ที่จะริบสินทรัพย์ของรัสเซียจะนำไปสู่การโต้ตอบที่ฉับไวและสามารถอธิบายได้อย่างง่ายดาย
1
ที่ว่ามาตอนต้นของบทความนี้เป็นเฉพาะส่วนที่หารือกันในกลุ่ม G7 แต่เชื่อว่าปัญหาเรื่องทรัพย์สินของรัสเซียจะมีการหารือกันว่าจะทำอย่างไรกันต่อดีอย่างจริงจังตลอดปี 2024 อันดับแรกก่อนการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปกลางปีนี้ และจากนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเมื่อแพ็คเกจความช่วยเหลือล่าสุดแก่ยูเครนมูลค่า 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์หมดลง ดังนั้นจุดยืนของสหภาพยุโรปจึงอาจไม่ถือเป็นที่สิ้นสุดในตอนนี้
3
เรียบเรียงโดย Right Style
3rd May 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Natalie Peeples / Axios>
โฆษณา