12 ก.พ. 2019 เวลา 03:49 • ประวัติศาสตร์
การจัดการมลพิษทางอากาศในอังกฤษ (ตอนที่ 2)
กษัตริย์แห่งวากันดา ทรงตรัสไว้ใน มหากาพย์ Marvel ว่า
“คนฉลาดสร้างสะพาน ในขณะที่คนเขลานั้นสร้างแต่กำแพง”
แต่พระราชดำรัส ของกษัตริย์แห่งสยามทรงตรัสว่า
“ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทำเฉพาะหน้าที่นั้น...
เพราะว่า...ถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัวโดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้
เพราะเหตุว่า...งานทุกงานจะต้องพาดพิงกัน จะต้องเกี่ยวโยงกัน
ฉะนั้น...แต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ” (พระดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2533)
งานแก้ไข ปัญหามลพิษในประเทศเวลานี้ก็เช่นกัน ทั้งคนฉลาดและคนเขลาต้องสามัคคีร่วมใจกันแก้ไข ตามกำลังความสามารถ ความถนัดของตน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศและส่วนรวม
ภายหลังเหตการณ์มลพิษทางอากาศในปี 1952, รัฐบาลอังกฤษก็ได้ออกบทกำกับดูแล และมาตรการแก้ไขป้องกัน (The Clean Air Act) ในปี 1956 ออกมา โดยมีการควบคุมกำหนดความสูงของปล่องควันในอุตสาหกรรม ,ลดการใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน และใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานทางเลือกอื่นๆ, การกำหนดควบคุมพื้นที่เขตปลอดควัน และเขตที่อนุญาติให้เผาไหม้ภายใต้การควบคุม, การตรวจและควบคุมปริมาณแก๊ส ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากการเผาไหม้ และออกมาตรการกำกับอีกหลายรายการนับตั้งแต่ปี 1968 ซึ่งเห็นผลที่ดีขึ้นชัดเจนอย่างต่อเนื่อง นับแต่นั้น
อย่างไรก็ตามสหราชอาณาจักร ก็ประสบเคราะห์กรรม ในปัญหามลพิษทางอากาศอีกครั้ง ในเดือน เมษายน ปี 2014, ในครั้งนี้ไม่ใช่มลพิษจากแก๊สและหมอกพิษ เหมือนในปี 1952 แต่ในครั้งนี้ มลพิษส่วนใหญ่เกิดจากฝุ่นที่ถูกหอบพัดมาจากทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งโดยปกติ จะถูกพัดมาตกอยู่แค่สเปน (Spain), มัลตา (Malta) และกรีซ (Greece)
นอกจากนี้ยังมี ควันพิษ ที่มาจาก ไนโตรเจนไดออกไซด์อุตสาหกรรมในยุโรป ที่ถูกพัดมา และจากในประเทศอังกฤษเอง
ดังนั้นอังกฤษจึงแก้ไข ปรับปรุงกฎระเบียบขึ้นใหม่อีกครั้ง และกำหนดมาตรฐานค่าตรวจวัดของมลพิษทางอากาศที่ครอบคลุมขึ้น
โดยผู้รับผิดชอบจะเกิดจากการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่รับผิดชอบเฉพาะทาง (เหมือนกับในพระราชดำรัสของกษัตริย์แห่งสยามทรงตรัสไว้)
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่อง การแก้ไขมลพิษ ได้แก่ 1) กระทรวงการคลังของสมเด็จฯ, กรมธนารักษ์ของสมเด็จฯ (HM’s Treasury )2)กรมจัดการสิ่งแวดล้อม 3)กรมจัดการธุรกิจพลังงานและอุตสาหกรรม 4)กรมการขนส่ง 5) กระทรวงการที่อยู่อาศัย ชุมชนและการปกครองท้องถิ่น
กำหนดค่ามาตรฐานของอากาศครอบคลุม
1) โอโซน
2) ไนโตรเจนไดออกไซด์
3) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
4) PM10
5) PM2.5
ซึ่งผมขอเล่าถึงแนวทาง ความสำเร็จของกรณีศึกษาการจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่ประเทศอังกฤษ ในครั้งต่อไปครับ
1/2/2019 Tonmon
โฆษณา