12 ก.พ. 2019 เวลา 07:18 • ประวัติศาสตร์
การจัดการมลพิษทางอากาศในอังกฤษ (ตอนจบ)
- เริ่มต้นหาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจปัญหา (Fact Finding)
สืบเนื่องจากผลกระทบมลพิษทางอากาศ ในเดือนเมษายน 2014 ทางการอังกฤษพบว่า ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ลอยจากทะเลทรายซาฮาร่ามามีผลกระทบต่ออังกฤษ โดยคิดเป็นระยะทางกว่า 2,374 ไมล์
และผลกระทบมลพิษทางอากาศในปีนั้น มีผลจากไนโตรเจนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมในยุโรป ที่เข้ามามีผลร่วมในอังกฤษ ทำให้ประมาณ ผู้เสียชีวิตจากผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ มากกว่า 29,000 คน
นอกจากนี้ ปัญหามลพิษทางอากาศนั้นมีผลต่อเนื่องไปสู่การปนเปื้อนในอาหารปศุสัตว์ มลพิษทางน้ำ จนถึงการใช้ชีวิต ที่อยู่อาศัยและสุขภาพ
ดังนั้น ทางการอังกฤษ จึงระดมมุ่งค้นหาข้อเท็จจริง (Fact Finding) ไม่เพียงแต่มลพิษทางอากาศ แต่รวมไปถึงการตรวจสอบ วัดผล เพื่อให้เข้าใจปัญหาให้รอบด้าน ครอบคลุมทุกมิติสัมพันธ์ ในการรวบรวม Fact Finding แบบ real time ก็ได้มีการนำระบบ AI มาใช้คู่กับระบบปฏิบัติการเพื่อสร้างการคาดการณ์และการพยากรณ์ของรูปแบบต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อกำหนดเป้าหมายและแผนรองรับในแบบต่างๆเพื่อนำสรุปเสนอให้หน่วยงานหลักต่างๆ ต่อไป ในรูปแบบ Corrective Action เพื่อช่วยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน,วางแผนแก้ไขในแต่ละกรอบเวลา และกำหนดกรอบความรับผิดชอบ การตรวจสอบ ในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนสื่อสารในวงกว้างกับประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือครบถ้วนในทุกระดับ
ตัวอย่าง ความเข้าใจพื้นฐานใน PM 2.5 (Particalate Matter) คือ อนุภาคเล็กๆ เชื้อโรคหรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประมาณ 2.5 ไมโครมิเตอร์ ที่ลอยอยู่ในอากาศ และสามารถเดินทางไปได้ไกลมาก ตัวอย่างเช่นในปี 2014 PM2.5 ลอยจากโมรอคโค มาอังกฤษเป็นระยะทางกว่า 2,374 ไมล์, PM2.5 นั้นนับรวมทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่าเป็นละอองเกสร เชื้อโรค การเผาไหม้ จนถึงเกิดจากมนุษย์ตั้งแต่การเผา ย่าง ทำอาหาร เบรค ยาง ควัน สเปรย์ที่ฉีดออกมา และอีกมากมาย
ดังนั้นในอังกฤษ ปัญหา PM2.5ในอังกฤษ-33% เกิดขึ้นจากนอกอังกฤษ, 15% เกิดจากธรรมชาติ และที่เหลืออีก 52% เกิดจากในอังกฤษ, ดังนั้น หลายครั้งจึงพบว่า PM2.5 ในไทย ก็เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านเช่นกัน เพราะเรามีแนวลมมรสุมที่พัดผ่านเพื่อนบ้านแล้วมาลงที่เราอยู่ในหลายฤดูกาล
- เป้าหมายชัดเจนเข้าใจง่าย ก็กำหนดแผนการแก้ไขได้รวดเร็ว (Corrective Action)
เป้าหมายแผนสิ่งแวดล้อม 25 ปี ของประเทศอังกฤษ ประกาศใช้ในปี 2018,
ในการลงมติใช้แผนนี้ จะนำมาซึ่ง
1) อากาศสะอาด
2) น้ำสะอาด และเพียงพอ
3)สัตว์และพันธ์ไม้ในสหราชอาณาจักรเจริญดี
4)ลดความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันได้แก่ น้ำท่วม และความแห้งแล้ง
5) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
6) รังสรรค์ รักษาและปรับปรุง ทัศนียภาพในมรดกแผ่นดินและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันงดงาม
7) ช่วยบรรเทาและร่วมรับมือในปัญหาภาวะโลกร้อน, ลดปริมาณขยะและของเสีย
9) การจัดการควบคุมการปล่อยสารเคมี
10) ปรับปรุงความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) - การป้องกันและควบคุมโรค
อยากรู้เพิ่มเติม?
- แผนสิ่งแวดล้อม 25 ปี
- แผนสิ่งแวดล้อม 25 ปี https://www.gov.uk/government/publications/25-year-environment-plan
- บทสรุป กลยุทธ์อากาศสะอาด ปี 2019 https://www.gov.uk/government/publications/clean-air-strategy-2019
- การคาดการณ์มลพิษทางอากาศและรายงานแบบ realtime https://uk-air.defra.gov.uk/
- วิสัยทัศน์ด้านการบิน ปี 2050 เพื่อรองรับผู้โดยสาร การบิน การขนส่ง และควบคุมมลพิษ https://www.gov.uk/government/consultations/aviation-2050-the-future-of-uk-aviation
ถ้าหากเพื่อนๆมีข้อสงสัย อยากทราบข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม รบกวน inbox และผมขออนุญาติทยอยตอบ ตามแต่ละคำถามให้นะครับ
สุดท้ายนี้ ผมขอจบโพสต์ ประวัติศาสตร์กรณีศึกษาการจัดการมลพิษทางอากาศของประเทศอังกฤษ (1952-2018) ทั้ง 3 ตอนโดยสรุป ไว้ ณ ที่นี้ครับ
ขอบคุณที่ติดตามครับ
1/2/2019 Tonmon
โฆษณา